เมื่ออเมริกาไล่เก็บภาษีจากคน และบริษัทของอเมริกาทั่วโลก เราควรทำอย่างไร





เมื่ออเมริกาไล่เก็บภาษีจากคน
และบริษัทของอเมริกาทั่วโลก เราควรทำอย่างไร

เมื่ออเมริกาไล่เก็บภาษีจ
 

 
บทความนี้เขียน โดยเน้นเอาความอยู่รอด ปลอดภัยของสถาบันการเงินไทย และเศรษฐกิจไทยเป็นหลัก
 
เรื่องเป็นยังงี้ครับ
 
หนื่ง อเมริกาเกิดปัญหาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2008 รัฐบาลมีหนี้มาก ต้องลดงบประมาณตลอดสิบปีข้างหน้า ปีละหนื่งแสนล้านเหรียญ มีคนจนในประเทศห้าสิบห้าล้านคน ที่ต้องให้สแตมป์ช่วยค่าครองชีพ มีคนต้องคดี20 ล้านคน ติดยา 22 ล้านคน มีคนไร้บ้านราว4-5%ของประชากร ตอนนี้ต้องลดกำลังทหารจนกระทั่งแผนงานเรื่องอาวุธสะดุด อเมริกามีงบการทหารตั้ง6%ของ GDP เยอะมาก
 
งบปีนี้ที่ต้องปิดเดือนกันยายนยังไม่ลงตัว
 
สอง รัฐบาลจืงต้องเข้มงวดเก็บภาษีจากชาวอเมริกัน และนิติบุคคลอเมริกันในต่างประเทศ โดยมีหลักคิดว่า
 
– อเมริกาเป็นประเทศของผู้อพยพ เก็บเงินได้ก็แอบเอาไปลงทุนในบ้านเกิดเมืองนอน มีรายได้ มีทรัพย์สินที่ไม่แจ้งรัฐบาล เยอะ หนีภาษีเยอะ
 
เช่น เงินลงทุนในเวียดนามเกิดจากเวียดเกียวเกือบสองล้านคนเอาเงินจากอเมริกามาลงทุน ยังมีเกาหลี ใต้หวัน อินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ ที่ถือสัญชาติอเมริกัน หรือมีกรีนคาร์ด ผู้มีหลักแหล่งในอเมริกา
 
– คนในประเทศอื่นๆที่แต่งงานกับชาวอเมริกัน มีมรดก ทรัพย์สินในประเทศของตนแต่ดั้งเดิม จะโดนด้วย ได้ภาษีเยอะ เท่ากับอเมริกามีทรัพย์สิน ฐานภาษีในต่างแดนเพิ่ม เก็บมันได้ทั้งโลก
 
– คนอเมริกันที่ไปลงทุนในต่างประเทศ เปิดธุรกิจเล็ก ใหญ่
 
– คนอเมริกันที่มั่งคั่งหอบเอาเงินไปฝากในธนาคารต่างประเทศ ซื้อหุ้น ซื้อบอนด์ ซื้อที่ดิน อาคารทั่วโลก
 
– บริษัทของคนอเมริกันที่ไปสร้างสาขา บริษัทลูกในต่างประเทศ หรือเป็นหุ้นส่วน
 
นักธุรกิจต่างชาติที่มีฐานะดีอยู่แล้ว ไปขอกรีนคาร์ด หรือขอเป็นอเมริกันเพื่อความสะดวกโดนหนัก ครอบครัวที่รวยๆนิยมกันมาก รวมพวกที่เอาลูกไปเกิดในอเมริกาด้วย
 
– พวกที่หนีไปทำงานในต่างประเทศ ขาดการติดต่อ
 
– คนที่ไปทำงานเกินวีซ่าในอเมริกา
 
– คนที่มีฐานะดีมีสองสัญชาติ พวกนี้ทรัพย์สินเยอะมาก เก็บภาษีซะ
 
กฏหมาย FATCA เลือกเอา ภาษีหรือความตาย
 
ตามกฏหมายนี้ที่บริหารโดยกรมสรรพากรอเมริกา ซื่งโหดมาก
 
>ขอดูตัวเลขการเคลื่อนไหวทางบัญชีของคนอเมริกัน เรียกว่า citizen กับผู้มีหลักแหล่ง เรียกผู้ถือกรีนคาร์ด ต้องการรู้การเปลี่ยนแปลงมูลค่าทรัพย์สินที่ถือ เช่น หุ้น บอนด์ ที่ดิน สิทธิต่างๆ 
 
ถ้ารายได้ต่ำกว่าเดือนละราวแสนสองไม่ต้องจ่าย ถ้าบางเดือนเกินต้องแจ้งทันที
 
>สถาบันการเงินที่ชาวอเมริกัน บริษัทอเมริกันฝากเงิน กองทุนที่ลงทุน บริษัทประกัน ทรัสท์ บริษัทโบรคเกอร์ หรือบริษัทที่คนอเมริกันถือหุ้นเกินสิบเปอร์เซนต์
มีหน้าที่ต้องตรวจสอบ และรายงานให้กรมสรรพากรอเมริกาทราบ
 
สถาบันการเงินใดไม่ร่วมมือ จะถูกเรียกเก็บภาษีหัก ณที่จ่ายทันที 30% เจ๊งแน่นอน มันไม่มีกำไรเยอะขนาดนั้น มีสิทธิโดนฟ้องร้อง ใช้อำนาจบังคับ หวกนี้เรียกว่า FFI >foreign financial institutions
 
สถาบันการเงินเหล่านี้ต้องยอม เพราะต้องใช้เงินในระบบดอลลาร์ ไม่งั้นโดนแซงค์ชั่น ต้องจ่ายค่าเสียหายเยอะ ธนาคารพาริบัสของฝรั่งเศศโดนเข้าไปสามแสนล้านบาท
 
>แต่ทุกประเทศมีกฏหมายของตนเอง จืงเป็นข้อขัดแย้งมากมาย อเมริกาจืงบอกให้รัฐบาลประเทศต่างๆ มาทำข้อตกลงความร่วมมือเรื่องการเก็บภาษีนี้เสีย แล้วจะมีแบบฟอร์มที่ง่ายกว่าให้ ให้รายงานโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ
 
ประเทศไทยควรเอาตัวให้รอดอย่างไร
 
รัฐบาลที่ผ่านมา ได้มีมติครม รับหลักการ จะเข้าเจรจาต่อรองเมื่อปี 2013 แต่ไม่ได้ดำเนินการเพิ่มเติม กฎหมายนี้ออกมาเมื่อปี 2010 จากฝั่งอเมริกา เริ่มบังคับใช้เดือนกรกฏาที่ผ่านมา 2014
 
สถาบันการเงินร่วม90% ได้ไปทำสัญญาตรงกับกรมสรรพากรอเมริกา IRS เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้สถาบันการเงินทั่วโลกหลายแสน ธนาคาร77000 ทั่วโลกได้ไปทำข้อตกลงตรงไปเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะถูกไล่ออกจากระบบการค้า
 
ประเทศยักษ์ใหญ่ยอมอเมริกาหมด เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี มีที่ตกลงเรียบร้อย ที่กำลังเจรจา แต่ยังไม่มีจีน รัสเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ ตกลงกันไปแล้ว 48 ประเทศ
 
ถือว่าไทยรอดตัวไป
 
ผมกลัวสถาบันการเงินล้มครับ
 
หวังว่า
 
จะมีทีมมาทำการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ผลกระทบมาตรการนี้โดยละเอียด ตอนนี้เอาตัวรอดไปก่อน มีธนาคารยักษ์ใหญ่ของโลกโดนอเมริกาฟ้องอยู่ 20 แห่ง น่าจะเรียกค่าปรับได้ราวหนื่งแสนล้านเหรียญ หวังว่าไทยคงไม่โดน
 
คนที่โดนผลกระทบทั้งสถาบันการเงินไทย รัฐบาล คนที่เกี่ยวข้องกับอเมริกันต้องมองหาทางออก เล่นจะยืดทรัพย์กันทั้งโลก
 
แผนเค้าลืกมาก ยังมีเฟสต่อไป
 
คนไทยที่จะไปเปิดบัญชีต้องกรอกโน่นนี่ที่ไม่ใช่หน้าที่ก็ทำๆไปเถอะครับ ด่ามันในใจ
 
ขั้นนี้แค่นี้ก่อนนะครับ
 
เขียนโดยเน้นความปลอดภัยของสถาบันการเงินไทย เศรษฐกิจไทยเป็นหลัก 
เค้าบุกมาแรง ต้องถอยมาอุดประตูก่อน

ขอบคุณที่มา : Somkiat Osotsapa

แนะนำโดย อ.วิริยะ Eduzones

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: