ความหมายเเละความสำคัญของโรคไม่ติดต่อ
โรคไม่ติดต่อ(non-communicable diseases) หมายถึง โรคที่เกิจากความผิดปกติหรือความเสื่อม โทรมของร่ายกายเเละจิตใจ
ไม่สามารถ ทีจะติดต่อไปยังผู้อื่นได้ โรคไม่ติดต่อมีอยู๋มากมายหลายโรคด้วยกัน เช่น มะเร็ง โรคหัวใจเเละหลอดเลือด โรคความดันเลือดสูง โรคนิ่ว โรคไตวาย โรคประสาท โรคจิต เป็นต้น
1.โรคอ้วน
ความอ้วน หมายถึง สภาวะของร่างกายที่มีการสะสสมไขมันไว้มากเกินกว่าปกติ ไขัน จะสะสมอยู่ตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะใต้ผิมหนัง บริเวณหน้าท้อง บริเวณท้อง โคนเเขน โคนขา สะโพก หรือเเทรกอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อ ทำให้มีน้ำหนักเกินกว่าน้ำหนักปกติ ตั้งเเต่ร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 20 จัดว่า น้ำหนักเกิน (over weight) เเละถ้าหนัเกินกว่าน้ำหนักปกติตั้ง
้้ต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป จะว่าเป็นโรคอ้วน
"วิธีที่ลดน้ำหนัก ต้องไม่ให้เครียด"
2.โรคหัวใจ
โรคความดันโลหิตต่ำ โรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิต เป็นเครื่องแสดงสมรรถภาพของระบบไหลเวียนโลหิต และการทำงานของหัวใจ
การวัดความดันโลหิตคือการวัดแรงดันที่เกิดจากหัวใจบีบตัว เพื่อดันโลหิตในหัวใจและหลอดเลือดแดงใหญ่ออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ค่าของความดันโลหิตจะวัดเป็นตัวเลขสองค่า เช่น 120/80
ตัวเลขหน้า คือ ค่าความดันขณะ หัวใจบีบตัว
ตัวเลขหลัง คือ ค่าความดันขณะหัวใจคลายตัว
ค่าปกติประมาณ 110/70 – 120/80 มิลลิเมตรปรอท
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต
ค่าความดันโลหิตของคนปกติขณะพัก แตกต่างกันได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ เชื้อชาติ สภาพภูมิอากาศรอบตัว อิริยาบถ และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
โรคความดันโลหิตต่ำ หมายถึง ภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/50 มิลลิเมตรปรอท
สาเหตุ
1. ไม่ทราบสาเหตุแน่นอน
2. จากโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกาย ได้แก่
– การพักผ่อนไม่เพียงพอ
– การขาดอาหาร
– โลหิตจาง และมีการสูญเสียโลหิตจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ริดสีดวงทวาร
3. ความดันต่ำจากการปรับตัวของร่างกายไม่ทัน เวลาเปลี่ยนท่า +อาการ
– อ่อนเพลีย
– เหนื่อยง่าย
– วิงเวียนศีรษะ
– หน้ามืด เป็นลมบ่อย ๆ
– หน้ามืด เวลาเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ เช่น จากท่านอนเป็นท่านั่งเร็ว ๆ
อันตรายของความดันโลหิตต่ำ
ความดันโลหิตต่ำเกินไป จะทำให้การไหลเวียนของโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญ ของร่างกายไม่ทัน ทำให้ขาดอาหาร ออกซิเจน และการถ่ายเทขอเสียไม่ทัน โดยเฉพาะเซลล์ของสมอง กล้ามเนื้อหัวใจ และไตซึ่งมีความสำคัญมาก
ต่อร่างกาย ถ้าความดันโลหิตลดลงต่ำมาก จะทำให้อวัยวะดังกล่าวขาดออกซิเจน อาจทำให้เป็นลม ช็อคและเสียชีวิตได้
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีความดันต่ำ/การักษาตัวเอง
1. รับประทานอาหารที่มีคุณค่า ให้ครบทั้ง 5 หมู่
2. พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อเพิ่ม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หัวใจและหลอดเลือด
4. การเปลี่ยนอิริยาบถ หรือการเปลี่ยนท่าควรทำช้า ๆ เพื่อให้ร่างกาย ปรับตัวได้ทันและป้องกัน มิให้เกิดอาการหน้ามืด
โรคความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140/90 มม.ปรอท
สาเหตุ
1. ไม่ทราบสาเหตุแน่นอน พบ 80-90% ความดันโลหิตสูง แบบนี้มักพบ มากใน
– คนอ้วน
– ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารเค็มจัด
– ผู้ที่ชอบสูบบุหรี่และดื่มสุรา
– คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
– ผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะและมีความเครียด
– คนสูงอายุ
2. จากโรคอื่น ๆ เช่น โรคไต และโรคของหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงที่เกิดจากโรคอื่น ๆ นี้ พบได้ 10-20 %
อาการ
ในรายที่มีอาการเด่นชัดจะมีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ นอนไม่หลับเหนื่อยหอบเวลาออกกำลังกาย และเจ็บแน่นหน้าอก
อันตรายจากความดันโลหิตสูง
1. เส้นเลือดในสมองแตก ทำให้โคม่า หมดสติ เป็นอัมพาตทั้งตัว หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
2. ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักออกแรงบีบตัวมากกว่าปกติ จนหัวใจโตและเกิดหัวใจวายหรือ หัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง
ได้ง่าย
3. ทำให้เกิดโรคไต เนื่องจากเส้นเลือดจะอุดตันได้ง่าย ทำให้ไตขาดเลือด ไปหล่อเลี้ยง
ข้อแนะนำสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง/การรักษาตัวเอง
1. ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา โดยอาจจะต้องรับประทานยาเพื่อควบ คุมความดันโลหิต การหยุดยา ควรอยู่ในการพิจารณา ของแพทย์ แม้จะไม่มีอาการแล้วก็ตาม
2. ตรวจวัดความดันโลหิตเป็นระยะ ๆ ทุกเดือน
3. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม บุหรี่ และสุรา
4. หลีกเลี่ยงน้ำชาหรือกาแฟ ถ้ามีอาการใจสั่น
5. ถ้าน้ำหนักเกินมาตรฐาน ควรลดน้ำหนัก (โดยลดอาหารมัน ของหวาน ของทอดด้วยน้ำมัน อาหารพวกแป้ง)
6. รับประทานผักผลไม้และอาหารที่มีกากเป็นประจำ เพื่อป้องกันท้องผูก
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด (ไม่ควรออกกำลังกาย ชนิดที่ต้องใช้แรงเบ่ง เช่น การยกน้ำหนัก)
8. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส และคลายความเครียด
9. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีอันตราย ในปัจจุบันพบว่า โรคหัวใจซึ่งมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ก่อให้เกิดการตายของประชากรสูงเป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้น การตรวจสุขภาพ และวัดความดันโลหิต เป็นประจำจะช่วยป้องกันและลดอันตรายเหล่านี้ลงได้
3.โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดโคโรนารี หมายถึง โรคหัวใจที่เกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดเเดง ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจหรือที่เรียกว่า หลอดเลือดโคโรนารี ทำให้เหลอดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือชะงักไป เมื่อป่วยมีภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซฺเจนมากขึ้น เช่นการออกเเรงมากๆ การมีอารมณ์โกรธ หรือจิตใจเครียดเป็นต้น
สาเหตุ
เกิดจากมีการตีบตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (หลอดเลือดโคโรนารี)
ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ มักเป็นผลจากผนังหลอดเลือดแข็งเนื่องจากมี
ไขมันเกาะ ดังที่เรียกว่าอะเทอโรสเคลอโรซิส (Atherosclerosis) ซึ่งอาจเป็นผลมาจาก
ความเสื่อมของร่างกายตามวัย
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น เช่น
ภาวะไขมันในเลือดสูง, การสูบบุหรี่จัด, โรคความดันโลหิตสูง , โรคเบาหวาน , โรคเกาต์ ,
ความอ้วน, การขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีประวัติว่ามีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
อาการ
ในรายที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ จะมีอาการปวดเค้นคล้ายมีอะไรกดทับ หรือจุกแน่นที่ตรง
กลางหน้าอก หรือยอดอก ซึ่งมักจะเจ็บร้าวมาที่ไหล่ซ้าย ด้านในของแขนซ้าย
บางคนอาจร้าวมาที่คอขากรรไกร หลัง หรือแขนขวา
บางคนอาจรู้สึกจุกแน่นที่ใต้ลิ้นปี่ คล้ายอาการอาหารไม่ย่อย หรือท้องอืดเฟ้อ ผู้ป่วยมักมีอาการเวลา
ออกแรงมาก ๆ (เช่น ยกของหนัก เดินขึ้นที่สูง ออกกำลังแรง ๆ ทำงานหนัก ๆ แบบที่ไม่เคยทำมาก่อน)
มีอารมณ์โกรธ ตื่นเต้น ตกใจ เสียใจ หรือ จิตใจเคร่งเครียด ขณะร่วมเพศ หลังกินข้าวอิ่มจัด หรือ
เวลาถูกอากาศเย็น ๆ ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง เป็นไข้ หรือหัวใจเต้นเร็ว (เช่น หลังกินกาแฟ
หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษ) ก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคนี้ได้
อาการเจ็บหน้าอก มักจะเป็นอยู่นาน 2-3 นาที (มักไม่เกิน 10-15 นาที) แล้วหายไปเมื่อได้พัก หรือหยุด
กระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุชักนำ หรือหลังจากได้อมยาขยายหลอดเลือด (เช่น ไนโตรกลีเซอรีน)
นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น เหนื่อยหอบ เหงื่อออก เวียนศรีษะ คลื่นไส้ร่วมด้วย
ผู้ป่วยที่มีความรู้สึกเจ็บหน้าอกแบบแปล๊บ ๆ หรือ รู้สึกเจ็บเวลาก้ม หรือเอี้ยวตัว หรือรู้สึกเจ็บ
อยู่ตลอดเวลา (เวลาออกกำลังกาย หรือทำอะไรเพลินหายเจ็บ) มักไม่ใช่โรคหัวใจขาดเลือด
ในรายที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะมีอาการเจ็บหน้าอกในลักษณะเดียวกับโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ
แต่จะเจ็บรุนแรงและนาน แม้จะได้นอนพักก็ไม่ทุเลา ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียน
คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นรุนแรง จะมีอาการหายใจหอบเหนื่อย เนื่องจากมีภาวะหัวใจวาย หรือเกิด
ภาวะช็อก (เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเต้นเบาและเร็ว ความดันเลือดตก) หรือชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ
ผู้ป่วยอาจเป็นลมหมดสติ หรือตายในทันทีทันใด บางคนอาจมีประวัติว่า เคยมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นพัก ๆ
นำมาก่อน เป็นเวลาหลายสัปดาห์ บางคนอาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกมาก่อนเลยก็ได้
สิ่งตรวจพบ
ในรายที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ อาจตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติอะไร ในบางรายอาจตรวจพบ
ความดันโลหิตสูง ส่วนในรายที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาจตรวจพบภาวะช็อก
การรักษา
1. หากสงสัย ควรแนะนำผู้ป่วยไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งจะตรวจคลื่นหัวใจ
(Electrocardiography/ECG/EKG), ตรวจเลือด, ตรวจปัสสาวะ, การเอกซเรย์
หลอดเลือดหัวใจ (coronary arteriography) หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ และให้การ
รักษาโดยให้ยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ได้แก่ ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerine)
หรือไอโซซอร์ไบด์ (Isosorbide) อมใต้ลิ้นทันทีเมื่อมีอาการ
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการปวดศรีษะได้นอกจากนี้ อาจให้ยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจชนิด
ออกฤทธิ์นาน เช่น ไอโซซอร์ไบด์ (lsosorbide), เพอร์แซนทิน (Persantin),
เพอริเทรต (Peritrate) กินวันละ 2-4 ครั้ง ๆ ละ 1 เม็ด เพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการ
บางครั้งอาจต้องให้ยาปิดกั้นบีตา (Beta-blockers) เช่น โพรพราโนลอล (Propranolol)
กินวันละ 4ครั้ง ๆ ละ 20-80 มก., ยาต้านแคลเซียม เช่น ไนเฟดิพีน ชนิดออกฤทธิ์นาน
30-90 มก. วันละครั้ง ให้แอสไพริน ขนาด 75-325 มก. วันละครั้ง เพื่อป้องกันมิให้เลือดจับเป็น
ลิ่มอุดตันหลอดเลือดหัวใจ
ถ้าผู้ป่วยมีโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงก็ต้องให้ยา
รักษาโรคเหล่านี้ร่วมด้วย ในรายที่มีการตีบตันของหลอดเลือดโคโรนารีหลายแห่ง และกินยาไม่ได้ผล
อาจต้องทำการผ่าตัดเปิดทางระบาย (ทางเบี่ยง) ของหลอดเลือด (Coronary artery bypass
grafting/CABG) หรือใช้บัลลูนชนิดพิเศษขยายหลอดเลือด
(Percutaneous transluminal coronary angioplasty/PTCA)
2. ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง มีภาวะหัวใจวาย ช็อก หรือหมดสติ ควรส่งผู้ป่วยไป
โรงพยาบาลด่วน ถ้าเป็นไปได้ ควรฉีดยาระงับปวดอย่างแรง เช่น มอร์ฟีน
(Morphine) ก่อนส่งโรงพยาบาลและให้ออกซิเจน (ถ้ามี) มาระหว่างทางด้วย
ผู้ป่วยมักจะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 2-4 สัปดาห์ หากไม่มีโรค
แทรกซ้อนที่รุนแรงก็มีโอกาสหายได้ แต่มักจะต้องกินยาเป็นประจำ โดยให้ยา
ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ และยาปิดกั้นบีตา ถ้ามีภาวะหัวใจวาย อาจให้ยา
ช่วยหัวใจทำงาน เช่น ลาน็อกซิน (Lanoxin) หรือ ไดจอกซิน(Digoxin) กินวันละ
1/2 – 1 เม็ดเป็นประจำ (ยานี้ถ้าใช้เกินขนาด อาจทำให้ตาพร่าตาลาย คลื่นไส้
อาเจียน หัวใจหยุดเต้น หรือเต้นผิดจังหวะได้ ควรให้ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
เท่านั้น
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง และอาจมีอันตรายร้ายแรงเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ควรติดต่อ
รักษากับแพทย์เป็นประจำ และควรพกยาไนโตรกลีเซอรีน หรือไอโซซอร์ไบด์
ชนิดอมใต้ลิ้น ติดตัวไว้ใช้เวลามีอาการ
2. สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เมื่อกลับจากโรงพยาบาลแล้ว ควร
พักฟื้นที่บ้าน อีกสักระยะหนึ่ง อย่าทำงานหนัก และงดการร่วมเพศเป็นเวลา 4-5
สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถเริ่มกลับไปทำงานได้หลังมีอาการ 8-12 สัปดาห์ แต่ห้าม
ทำงานที่ต้องใช้แรงมาก ผู้ป่วยควรป้องกันมิให้มีอาการกำเริบอีก โดยการกินยา
ตามแพทย์สั่งเป็นประจำ และปฏิบัติตัวดังในข้อ 7
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก ก็อาจมีโอกาสหายขาด และมีชีวิตยืนยาวเช่น
คนปกติได้ ส่วนในรายที่กำเริบใหม่ มักมีโรคอื่นแทรกซ้อนอยู่ก่อน หรือหลอด
เลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบตันจำนวนมาก
3. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดบางคนอาจไม่มีอาการเจ็บจุกหน้าอกชัดเจน แต่
อาจรู้สึกคล้ายมีอาการปวดเมื่อย ที่ขากรรไกร หรือหัวไหล่ ถ้าหากมีอาการ
กำเริบบ่อย และมีอายุมากหรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ (เช่น สูบบุหรี่จัด ความดัน
โลหิตสูง เป็นเบาหวาน อ้วน ฯลฯ) ก็ควรจะตรวจเช็กให้แน่ใจ
4. โรคนี้บางครั้ง อาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ เหมือนอาการอาหารไม่ย่อย โดย
เฉพาะอย่างยิ่งเป็นหลัง กินอาหารใหม่ ๆ อาจทำให้วินิจฉัยผิดได้ ดังนั้น ถ้าพบ
อาการจุกแน่นลิ้นปี่ในคนสูงอายุ หรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆก็ควรจะตรวจเช็กให้
แน่ใจ ก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเพียงอาการอาหารไม่ย่อย
5. การตรวจคลื่นหัวใจ มีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคนี้ประมาณ 50-75%
หมายความว่า ประมาณ 25-50% ของคนที่เป็นโรคนี้ อาจตรวจคลื่นหัวใจแล้ว
บอกผลว่าปกติ เรียกว่า "ผลลบลวง" (false negative) ก็ได้ ถ้ายังมีอาการเจ็บ
จุกหน้าอก เข้าลักษณะโรคหัวใจขาดเลือด ควรทำการตรวจพิเศษโดยวิธีอื่น
เช่น การตรวจคลื่นหัวใจ โดยการวิ่งบนสายสะพาน หรือปั่นจักรยาน (Stress
testing/Excercise ECG) เป็นต้น และบางครั้ง อาจจำเป็นต้องให้การรักษา
และปฏิบัติตัวแบบโรคหัวใจขาดเลือด
6. บางคน อาจมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบโดยไม่ปรากฏอาการก็ได้ ดังนั้นผู้ที่
มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ (มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดในครอบครัว, สูบบุหรี่จัด,
เป็นความดันโลหิตสูง, เบาหวาน) ควรตรวจเช็กหัวใจ และอาจต้องให้การรักษา
ตามความเหมาะสมต่อไป
7.ข้อปฏิบัติตัว จะมีส่วนช่วยรักษาให้มีชีวิตยืนยาวได้เท่าหรือเกือบเท่าคนปกติ
ควรแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัว ดังนี้
7.1 เลิกสูบบุหรี่ เด็ดขาด
7.2 ถ้าอ้วน ควรหาทางลดน้ำหนัก
7.3 อย่ากินอาหารที่มีไขมันสัตว์สูง โดยใช้น้ำมันจากพืชแทน ยกเว้นกะทิ
7.4 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หักโหม และควร
เพิ่มขึ้นทีละน้อย ทางที่ดีควรขอคำแนะนำจากแพทย์เสียก่อนที่จะออกกำลัง
กายมาก ๆ การออกกำลังกายที่แนะนำให้ทำกันได้แก่ การเดินเร็ว วิ่งเหยาะ
ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น
7.5 หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการโรคหัวใจกำเริบ เช่น
– อย่าทำงานหักโหมเกินไป
– อย่ากินข้ามอิ่มเกินไป
– ระวังอย่าให้ท้องผูก โดยการดื่มน้ำมาก ๆ กินผลไม้ให้มาก ๆ และควรกินยา
ระบายเวลาท้องผูก
– ควรงดดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่ใส่กาเฟอีน
– หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้นตกใจ หรือการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และทำ
จิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ
การป้องกัน
โรคนี้สามารถป้องกันได้ โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ, ไม่สูบบุหรี่, ผ่อนคลาย
ความเครียดด้วยวิธีต่างๆ, ระวังอย่าให้อ้วน, ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง, รักษา
ภาวะไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุม
ได้ การกินแอสไพริน วันละ 75-325 มก. ก็มีส่วนในการป้องกันโรคนี้ได้ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ในผู้ป่วยที่เป็นไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ