ด่วน! “แม่ประนอม” ร้องไห้ขอร้องลูก พร้อมให้อภัยทั้งหมดแล้ว แต่ลูกไม่กล้าพูดให้ทนายตอบกลับแบบนี้….!???





"แม่ ประนอม"เปิดใจ ร่ำไห้โฮ ยันถูกฮุบกิจการที่สร้างมากว่า 60 ปี ร่วมกับสามีและครอบครัว เผยหลังจากสามีเสียชีวิต ลูกสาวก็โอนที่ดินมรดกไปเป็นของตัวเอง เมื่อขอให้คืนกลับมาก็ไม่ยินยอม แถมยังเปลี่ยน รายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทน้ำพริกเผาทั้งหมดไปเป็นชื่อของลูกสาวและสามี วอนขอให้คืนทรัพย์สินและกิจการคืนมา เพราะยังต้อง ดูแลคนในครอบครัวอีกมาก พร้อมให้อภัยทั้งหมด หากคืนทรัพย์สินก็พร้อมจะถอนคดี ขณะที่ทนายความลูกสาว ขอให้รอผลพิจารณาของศาลที่ฟ้องร้องกันอยู่ โดยไม่ขอแสดงความคิดเห็น

จาก กรณี นางประนอม แดงสุภา หรือ แม่ประนอม ผู้ก่อตั้งธุรกิจน้ำพริกเผาแม่ประนอมชื่อดัง เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกับศูนย์บริการประชาชนของรัฐบาล เพื่อขอความเป็นธรรมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.โดยระบุว่าถูกฮุบกิจการ 

ความ คืบหน้า เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 26 มี.ค. นางประนอม เดินทางมาที่ร้าน พีเอส เรสเตอรองต์ ถนนพุทธมณฑล สาย 3 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. เพื่อแถลงข่าว ในเรื่องที่ถูกลูกสาวคนโต ฮุบกิจการ โดยแม่ประนอมเริ่มเล่าตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกิจการมาใช้เวลากว่า 60 ปีตั้งแต่อายุ 24 ปี จนปัจจุบัน 87 ปี โดยเริ่มจากการที่ นายศิริชัย แดงสุภา สามีกับตนเช่าห้องแถวเพียงสองห้อง แถวหมู่บ้านเศรษฐกิจ เขตหนองแขม ตั้งเป็นโรงงานชื่อแม่ประนอม เดินขายตามร้าน มีลูกทั้ง 4 คน นางศิริพร ภาษาประเทศ นายสิริพงษ์ แดงสุภา (เสียชีวิตแล้ว) น.ส.ศิริวัลย์ แดงสุภา น.ส. ศิริลักษณ์ แดงสุภา คอยช่วยเหลือ โดย เมื่อปี 2524 ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท ในนามบริษัทพิบูลย์ชัยน้ำพริกเผาไทยแม่ประนอม 

 

27032016_IMG_1459044566_418

 

[ads]

ต่อ มาเมื่อปี 2537 ตนกับสามี ตั้งโรงงานขึ้นมาใหม่ เลขที่68/10 หมู่12 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา เพื่อขยายกิจการ มอบหมายให้นางศิริพร ลูกสาวคนโต เป็นกรรมการบริหารงาน ต่อมาเมื่อปี 2544 ทางบริษัทได้เพิ่มทุนเป็น 59,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นจำนวน 59,000 หุ้น หลังจากที่เพิ่มทุนแล้วสัดส่วนผู้ถือหุ้นหลักๆ คือ ตนและสามี ได้ให้นางศิริพร มีหุ้นจำนวน 20,000 หุ้น ส่วนสามี 20,000 หุ้น ของตน 18,200 หุ้น และน.ส.ศิริวัลย์ 350 หุ้น

แม่ ประนอมกล่าวต่อว่า ที่มอบหมาย ให้นางศิริพร เป็นคนดูแลและบริหารงานทั้งหมดเนื่องจากไว้วางใจว่าเป็นลูกสาว คนโต และตนก็เป็นเพียงคนแก่ที่ไม่ค่อยรู้หนังสือ 

ต่อ มาเมื่อวันที่ 11 ก.ย.2556 นายศิริชัย แดงสุภา เสียชีวิต โดยตนเป็นผู้จัดการมรดก ต่อมาเมื่อปี 2558 ตนทราบว่านางศิริพร นำหนังสือมอบอำนาจจากตน ไปโอนที่ดินกองมรดกเป็นของตัวเอง ตนจึงขอร้องให้บุตรสาวโอนที่ดินคืนให้ แต่ก็ไม่ยอมคืน จนมาทราบอีกทีว่าลูกสาวกับลูกเขย เปลี่ยน แปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมดรวมทั้งของตน ไปเป็นของลูกสาวกับลูกเขยทั้งหมด โดยตอนนี้ได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีอยู่ในขั้นศาล แต่ไม่ขอพูดเพราะจะมีผลต่อรูปคดี

หลัง จากนั้นลูกสาวก็มีท่าทีเปลี่ยนไป ไม่ยอมพูดคุยกับตน บางครั้งก็ใช้คำพูดที่ ไม่สุภาพ ไม่ให้ความเคารพแม่เหมือนแต่ก่อน ตนจึงเกิดความอึดอัดใจ เลยออกจากบ้านมาเปิดร้านอาหาร พีเอส เรสเตอรองต์ กับ น.ส.ศริวัลย์ แดงสุภา ลูกสาวคนรอง ที่ต้องออกมาร้องเรียน เนื่องจากเกรงว่า จะไม่ได้รับความเป็นธรรม

ผู้ สื่อข่าวถามว่าอยากฝากอะไรไปถึงลูกสาวหรือไม่ นางประนอมกล่าวว่า อยากจะบอกกับลูกว่าแม่ให้อภัยลูกเสมอ อยากให้คืนกิจการและทรัพย์สิน เพราะว่าแม่ยังมีชีวิตอยู่และมีภาระที่ต้องดูแลคนในครอบครัว ฝากเตือนลูกๆ ทั้งหลายอย่าได้ทำอย่างลูกของแม่ทำกับแม่เลย ขอยืนยันว่าถ้าคืนทรัพย์สินในส่วนของแม่ให้ แม่ก็จะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการแถลง แม่ประนอม พูดด้วยน้ำเสียงสะอื้นและมีน้ำตาตลอดเวลา จนทำให้ทนายความต้อง ขอยุติการแถลงลงแต่เพียงเท่านี้ 

ต่อ มาผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยัง บริษัท พิบูลย์ชัยน้ำพริกเผาไทยแม่ประนอม จำกัด ตั้งอยู่เลขที่68/10 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. เนื้อที่หลาย 10 ไร่ เป็นโรงงานผลิต โกดังและคฤหาสน์หรูขนาดใหญ่หลายหลัง โดยบรรยากาศบริเวณด้านหน้าบริษัทปิดประตูรั้วเหล็กไว้พบเพียงเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัยที่ออกมาชี้แจงและให้เบอร์โทรศัพท์ทนายความเพื่อติดต่อสอบ ถาม รายละเอียดด้วยตนเอง

ด้าน นายทวิชา หวังโภคา ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของนางศิริพร แดงสุภา และนายสุชาติ ภาษาประเทศ บุตรสาวและบุตรเขยของนางประนอม ผู้ก่อตั้งธุรกิจน้ำพริกเผา แม่ประนอม ในนามบริษัท พิบูลย์ชัยน้ำพริกเผาไทยแม่ประนอม จำกัด เปิดเผยว่า นางประนอม เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนางศิริพร แดงสุภา พร้อมสามี และ ทนายความอีกหนึ่งคน เป็นจำเลย ต่อศาลจังหวัดนครปฐม ฐาน ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารเกี่ยวกับที่ดิน ซึ่งในชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลจังหวัดนครปฐม ยกฟ้องเฉพาะสามีของนางศิริพร และรับฟ้องเฉพาะในส่วนของนางศิริพร และทนายความ ซึ่งคดีอยู่ในขั้นตอนการนัดสืบพยานโจทก์

นอก จากนี้นางประนอมยังได้ยื่นฟ้อง นางศิริพร เป็นจำเลยต่อศาลจังหวัดตลิ่งชัน เรื่อง เรียกคืนทรัพย์มรดก ศาลไกล่เกลี่ย ทั้งสองฝ่ายแล้ว แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จากนั้นนางประนอมได้ให้ผู้ใหญ่ที่นับถือร่วมพูดคุยเจรจากับนางศิริพรจนได้ ข้อยุติ นางประนอมจึงให้ทนายความผู้รับมอบอำนาจ ถอนฟ้องทั้ง 2 คดี ต่อทั้ง 2 ศาลไปแล้ว ตั้งแต่เมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา คดีถือเป็นที่ยุติ

อย่าง ไรก็ตามต่อมานางประนอมกลับ ยื่นคำร้องใหม่ต่อทั้ง 2 ศาล ระบุว่าสาเหตุ ที่ถอนฟ้องไม่ได้เกิดจากเจตนาที่แท้จริง เช่นนั้น ศาลจังหวัดนครปฐมจึงนัดไต่สวนนางประนอม กรณียื่นคำร้องใหม่ วันที่ 4 เม.ย.นี้ ส่วนศาลจังหวัดตลิ่งชัน นัดไต่สวนนางประนอมวันที่ 11 เม.ย. โดยนางประนอมต้องเดินทางไปศาลเพื่อไต่สวนด้วย ขณะที่นางศิริพรบุตรสาวนางประนอมนั้นเบื้องต้นไม่ขอโต้ตอบ หรือให้ข้อมูลใดๆ

นาย ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีนางประนอมร้องเรียนขอความเป็นธรรม ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ที่ผ่านมา ว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคม ซึ่งที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์ อีกทั้งกระทรวงยุติธรรมก็ได้รับเรื่องร้องเรียนลักษณะเช่นนี้จำนวนมาก ซึ่งติดอันดับต้นของปัญหา เช่นเรื่องที่ดินจากมรดก เป็นคดีแพ่ง ควบคู่กับคดีอาญา เป็นเรื่องของการปลอมแปลงเอกสาร ฉ้อโกงจะเกิดขึ้นในครอบครัวที่มีทรัพย์สินที่ดิน หรือเรียกว่ามีฐานะปานกลางถึงร่ำรวย มีญาติ พี่น้องหลายคน เกิดปัญหาระหว่างกัน 

นาย ชาญเชาวน์กล่าวต่อว่า ปัญหาที่ เกิดขึ้นคือบุคคลในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก กับการลงนามลายมือชื่อในเอกสารต่างๆ ว่าเนื้อหาโดยรวมเป็นอย่างไร อีกทั้งสังคมไทยยังไว้วางใจคนในครอบครัวเดียวกัน ไม่คิดว่าญาติหรือพี่น้องจะมีปัญหาฟ้องร้องต่อกัน แต่ด้วยสภาพสถานะทางสังคม มูลค่าของทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จึงทำให้ความต้องการอยากได้มาครอบครองก็เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นเหตุให้กลายเป็นเรื่องฟ้องและเกิดข้อพิพาทมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่กระทรวงยุติธรรมทำได้ ก็คือให้คำปรึกษาและแนะนำความรู้ ความเข้าใจ การจัดการมรดก การทำพินัยกรรมของครอบครัวให้ชัดเจนตามข้อกฎหมาย ที่ใช้เป็นหลักสากล และควรบอกให้ชัดว่า ให้ใคร อย่างไรบ้าง นอกจากนี้ ควรมี ข้อตกลงร่วมกันของทายาทว่ามอบให้ใครเป็นผู้ร้องศาลเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งในทางปฏิบัติ สถาบันการเงิน หรือหน่วยงานใน การทำธุรกรรม ต้องการคำสั่งศาลที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้จัดการมรดก แม้จะมีระบุในพินัยกรรมก็ตาม 

นาย ชาญเชาวน์กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีของนางประนอมนั้น คงยังไม่สามารถให้ความเห็นในเรื่องนี้ได้ เพราะไม่ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด อีกทั้งเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดนครปฐม เบื้องต้นเท่าที่ตนติดตามข่าวสารนั้น ยังทราบข้อมูลไม่ละเอียด จึงยังไม่ชัดเจน แต่เป็นกรณีเรื่องการจัดการมรดก อีกทั้ง นางประนอมกล่าวอ้างว่าถูกหลอกให้เซ็นเอกสารการโอนที่ดิน มรดก และหุ้น ให้กับลูกสาวคนโต รวมถึงมีการปลอมลายเซ็น หรือความจริง อาจจะมีการเซ็นจริงแต่เป็นการเข้าใจผิด อย่างไรก็ตาม ทางกฎหมายสามารถพิสูจน์ทราบได้ ทั้งนี้ คงต้องรอฟังข้อมูลของลูกสาวคนโตที่นางประนอมกล่าวหาว่าโกงกิจการว่าจะมี ข้อมูลอย่างไรบ้าง

ปลัด กระทรวงยุติธรรมกล่าวด้วยว่า ในข้อกฎหมายต้องพิสูจน์ว่าใครเป็นผู้ขอจัดการมรดกบ้าง และอำนาจหน้าที่ในการจัดการมรดกเป็นอย่างไร และหากมีพินัยกรรม ก็ต้องดูว่าเนื้อหาในพินัยกรรมเป็นอย่างไร แต่ถ้าไม่มีก็ต้องดูว่าใครเป็นผู้ร้องขอ เป็นผู้จัดการมรดก และศาลสั่งให้ใครเป็น ผู้จัดการมรดก

"เรื่อง ราวดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในครอบครัวของนางประนอม ซึ่งมีกลุ่มลูกๆ ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นต้องมาจากความขัดแย้ง และมีปัญหา ระหว่างกลุ่มคนทั้งสองกลุ่ม แต่ปัญหาลึกๆ หรือข้อเท็จจริงทั้งหมดไม่มีใครทราบว่าสิ่งที่เกิดขึ้น มาจากสาเหตุใด แต่ที่กลายเป็นประเด็นให้มี การวิพากษ์ วิจารณ์ หรือดราม่าในสังคม เพราะผลิตภัณฑ์ของนางประนอมเป็นที่รู้จักแพร่หลาย รวมทั้งเป็นประเด็นอ่อนไหว เพราะมีการระบุว่าถูกลูกไล่ออกจากบ้าน เรื่องแบบนี้สังคมไทยมองว่าเป็นประเด็นละเอียดอ่อน แต่ในทางข้อกฎหมายการไล่ออกจากบ้าน หมายถึง การฟ้องขับไล่แม่ตัวเองตามสิทธิ์ของผู้จัดการทรัพย์ แต่ประเด็นนี้ผมยังไม่แน่ใจว่า ไล่ด้วยอารมณ์ หรือไล่ด้วยกฎหมาย แต่ต้องยอมรับว่าไม่ว่าข้อเท็จจริงเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ลูกสาวคนโตของนางประนอม กำลังถูกสังคมมองในแง่ร้ายไปแล้ว" นายชาญเชาวน์กล่าว

นาย สืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่าในเอกสารร้องเรียนของนางประนอม ที่ยื่นต่อศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีการระบุว่ามีการใช้เงินและบุคคลเข้าแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมในศาลว่า กรณีที่มีการใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนนั้นทางสำนักงานศาล ยุติธรรมไม่อาจก้าว ล่วงได้ แต่กรณีที่มีการกล่าวหาว่าศาลมีพฤติการณ์ที่เป็นไปในทางมิชอบหรือ เรียกรับผลประโยชน์ต่างๆ สามารถร้องเรียนมาที่สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(กต.)ได้

เมื่อ ถามว่าการที่นำเรื่องการกล่าวหา ดังกล่าวไปร้องเรียนที่ศูนย์บริการประชาชนเกี่ยวกับพฤติการณ์การปฏิบัติ หน้าที่ของศาลจะเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ นาย สืบพงษ์ กล่าวว่า เป็นสิทธิของคู่ความที่สามารถดำเนินการได้โดยชอบไม่ได้เกี่ยวกับการละเมิด อำนาจศาลแต่อย่างใด ประชาชน มีสิทธิจะร้องเรียนได้แต่ถ้าร้องเรียนช่องทางที่ผิดก็ให้มาร้องเรียนช่องทาง ที่ถูกต้อง ในกรณีที่อ้างว่ามีการกล่าวหาในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาแต่ ต้องเป็นการกล่าวหาอย่างมีพยานหลักฐานไม่ใช่การกล่าวหา แบบลอยๆ

 

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: