มนุษย์เงินเดือนต้องอ่าน ! จริงหรือที่ว่า “กลับบ้านตรงเวลา=ไม่ทุ่มเทให้กับงาน ?”
พนักงานที่ทำงานแล้วกลับบ้านดึก ๆ เป็นคนทุ่มเทให้กับงานจริงหรือครับ ? หัวหน้างานหลายคนมักจะนำเรื่องนี้มาเป็นเรื่องสำคัญในการพิจารณาช่วงขึ้นเงินเดือนประจำปี หรือจ่ายโบนัสเสียด้วยสิ หลักคิดก็ไม่ซับซ้อนอะไรมาก ใครกลับดึกคนนั้นอุทิศตัวให้กับงาน ใครกลับเร็ว (หมายถึงพอถึงเวลาเลิกงานแล้วสักพักก็กลับบ้าน ไม่ได้หมายถึงกลับก่อนเวลาเลิกงานนะครับ) ก็แสดงว่าคนคนนั้นไม่สู้งาน ไม่ขยัน ไม่ทุ่มเทให้กับงาน ฯลฯ แล้วแต่สารพัดข้อหาจะยัดเยียดให้ หัวหน้าหลายคนที่มีความคิดทำนองนี้มักจะเรียกลูกน้องประชุมช่วงใกล้ ๆ จะเลิกงานอยู่เป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อง (บางคน) กลับบ้านเร็วเกินไป และการประชุมก็มักจะลากยาวไปจนค่ำ ๆ เสียด้วย Advertisement
|
ท่านเคยเจอหัวหน้างานทำนองนี้บ้างไหมครับ ? ผมว่าปัญหาทำนองนี้เป็นปัญหาในเรื่องของวิธีคิดแบบเชื่อมโยงตรรกะที่อาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้ ซึ่งความคิดทำนองนี้ก็เลยทำให้เกิดค่านิยมบางอย่างในตัวคนขึ้นมา ยิ่งถ้าคนคนนั้นได้เป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้บริหารแล้วยังมีวิธีคิดแบบรวบยอดที่อาจจะไม่ถูกต้องทำนองนี้ ย่อมจะทำให้คนที่เป็นลูกน้องอึดอัดหาวเรอ เผลอ ๆ นั่งเซ็งกันได้เป็นธรรมดา ส่วนลูกน้องที่ “ทำงานเป็น” รู้ว่าหัวหน้าชอบคนกลับดึก ๆ ก็มักจะดึงเชิงในช่วงเวลางาน คือในชั่วโมงทำงานก็ทำแบบเนียน ๆ เรื่อย ๆ จะได้มีอะไรเอาไว้ทำตอนหลังเลิกงาน บางคนอาจจะคิดว่ากลับค่ำ ๆ ดึก ๆ หน่อยก็ดี รถจะได้ไม่ติดมาก ก็นั่งเล่น Facebook ไปตอนที่หัวหน้าไม่ได้เดินมาตรวจงาน พอหัวหน้าเดินมาก็ทำเป็นเอางานขึ้นมาทำ ฯลฯ ก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน
เรามาลองดูอีกมุมหนึ่งไหมครับว่า การมีค่านิยมให้ลูกน้องกลับบ้านดึก ๆ ทั้ง ๆ ที่ลูกน้องก็เคลียร์งานหมดแล้ว บริษัทจะเกิดความเสียหายอะไรบ้าง 2.ค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า, ค่าโทรศัพท์ ที่บริษัทต้องจ่าย เพราะการที่พนักงานอยู่หลังเวลางาน หน่วยงานนั้น ๆ ยังต้องเปิดไฟแสงสว่าง, เปิดแอร์, พนักงานยังต้องไปเข้าห้องน้ำใช้น้ำใช้กระดาษทิสชู, ใช้เครื่องถ่ายเอกสาร, เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ (แต่อาจเล่น Facebook ส่วนตัว), โทรศัพท์คุยกับคนที่บ้าน ฯลฯ ลองให้ฝ่ายบัญชีเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายของแต่ละฝ่ายหลังเวลางานดูสิครับว่า วัน ๆ หนึ่งหรือเดือน ๆ หนึ่งคิดเป็นเงินกี่บาท ปีละกี่บาท 3.พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง “Work Life Balance” ที่ต้องเสียไป กว่าจะกลับถึงบ้านกี่โมง หลายคนต้องมีครอบครัวต้องดูแล การพักผ่อนน้อย ไม่ได้ออกกำลังกายทำให้เสียสุขภาพในระยะยาว บริษัทอาจจะมีคนขี้โรคเพิ่มมากขึ้นจากการไม่สมดุลชีวิตกับการทำงาน คนนะครับไม่ใช่เครื่องจักร (ขนาดเครื่องจักรยังต้องมีการพักซ่อมบำรุงเลย) ต้องมีการพักผ่อนให้เหมาะสมด้วย ไม่ใช่โหมงานดึกทุกวันทุกเดือนตลอดทั้งปี Advertisement
4.จากผลกระทบข้อ 3 พนักงานบางคนมีปัญหาครอบครัว เช่น ภรรยา (บางคนที่ทำตัวเป็นฝ่ายสืบสวน) จะคอยซักถามว่าทำไมสามีกลับบ้านดึก มีกิ๊กหรือเปล่า แล้วก็ทะเลาะกัน หรือลูกไม่มีใครดูแลทำให้เป็นเด็กติดเกม ฯลฯ ซึ่งปัญหาครอบครัวเหล่านี้หลายครั้งจะกลับมาเป็นปัญหาในเรื่องงาน เพราะเมื่อพนักงานเครียดเรื่องครอบครัวก็เลยทำให้เซ็ง เบื่อ ไม่อยากทำงานไปเลยก็มี อย่าลืมว่าแต่ละคนล้วนมีครอบครัว มีญาติพี่น้อง ไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวในโลก หรือมีแต่เรื่องงานเพียงอย่างเดียว จึงจำเป็นต้องมีชีวิตส่วนตัวและครอบครัวด้วยนะครับ 5.พนักงานที่รับแนวคิดทำนองนี้ไม่ได้ (โดยเฉพาะพนักงานรุ่นใหม่ไฟแรงพวก Gen Y) จะมองว่าหัวหน้าเป็นพวกบริหารเวลาไม่ดี ครอบครัวมีปัญหา โลกแคบเพราะมีแต่ที่ทำงานไม่รู้จักไปสังคมสังสรรค์ซะบ้างเลย ฯลฯ ก็เลยลาออกไปอยู่ที่อื่นดีกว่า บริษัทก็จะต้องเสียเวลามาสัมภาษณ์หาคนมาแทนกันอีก ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการหาคนมาทดแทน แถมเมื่อได้คนมาแทนแล้วอีกไม่นานก็มีแนวโน้มจะทำให้พนักงานใหม่ลาออกอีกเช่นเคย เพราะรับค่านิยมแบบนี้ไม่ได้ ยิ่งบางแห่งทำงานสัปดาห์ละ 6 วันแล้วต้องกลับดึก ๆ ทุกวันจะพบว่าอัตราการลาออกสูงเพราะสาเหตุนี้แหละครับ ที่ผมพูดมาข้างต้นนี้ไม่ได้หมายความว่าผมสนับสนุนให้ท่านทำงานกันไปวัน ๆ โดยคอยจ้องนาฬิกาว่าพอถึงเวลาเลิกงานก็รีบกระโจนไปรูดบัตรออกจากบริษัททันทีนะครับ ! เพียงแต่อยากจะให้ข้อคิดว่า ในการทำงานนั้นเขาให้เวลาทำงานกัน 8 ชั่วโมงต่อวัน เราก็ควรจะทำให้เต็มประสิทธิภาพหรือเต็มที่กับมัน บริหารเวลาให้ดี ทำงานให้เสร็จสิ้นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือควบคุมดูแลงานของเราให้ดีในแต่ละวัน และมีเวลาหลังเลิกงานในการสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานบ้าง, ออกกำลังกายบ้าง, พักผ่อนบ้าง ฯลฯ เพื่อสมดุลชีวิตไม่ให้บ้างาน (Workaholic มากจนเกินไป) แต่ถ้าช่วงไหนที่มีงานด่วน งานเร่ง งานฉุกเฉินที่ต้องรับผิดชอบ อาจจะต้องอยู่ดึกดื่นเพื่อเคลียร์งานด่วนเหล่านั้น ถ้ามีแนวคิดอย่างนี้ละก็ ผมว่าคงไม่สมเหตุสมผลแล้วละครับ ! คงมาสรุปกันตรงที่หลักพระพุทธองค์ท่านเคยสอนไว้ก็คือ การเดินสายกลาง ไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งน่ะ น่าจะเป็นทางที่ดีที่สุด คอลัมน์ เอชอาร์ คอร์เนอร์ ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์
|
[ads=center]
ขอบคุณเนื้อหาและที่มาจาก http://variety.teenee.com/foodforbrain/63154.html
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ