เรื่องจริงของอาหารทะเล ที่คุณไม่อยากอ่าน !
ผมไม่เห็นรถส่งน้ำแข็งที่สะพานปลามานานมากแล้วครับ เห็นแต่แรงงานเพื่อนบ้านหิ้วถังน้ำยาลงเรือแทน ข้างถังเขียนว่า.. “PARAFORMALDEHYDE”
โดย : สมศักดิ์ เพ็ชรศิริ
ฟอร์มาลีน หรือ ฟอร์มัลดีไฮด์ ทั้งสองตัวนี้ในทางเคมีคือสารตัวเดียวกัน เพียงแต่ว่าเมื่ออยู่ในรูปของสารละลายจะเรียกว่า “ฟอร์มาลีน” ซึ่งเป็นชื่อที่เราคุ้น ๆ กันดีก็คือน้ำยาดองศพ
ส่วน “ฟอร์มัลดีไฮด์” มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหะภูมิปกติ มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ส่วนมากที่จำหน่ายกันอยู่ทั่วไปอยู่ในรูปของสารละลายน้ำภายใต้ชื่อน้ำยาฟอร์มาลีน
โดยปกติสารละลายนี้จะไม่เสถียรเมื่อเก็บไว้นานโดยเฉพาะที่อุณหภูมิสูง จึงมีการเติมสารยับยั้งหรือที่เรียกว่าสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวสเตบิไลเซอร์ เช่นเมทานอล 5-15% หรือมีขายในรูปของ.. “พาราฟอร์มัลดีไฮด์ ”
[ads]
ลองฟังเสียงสนทนาในเรือ(ออกสำเนียงพม่าด้วยก็ได้).. “เถ้าแก่ สูตรนี้ดีครับ ไม่เหม็นแสบจมูก”
เวลาพวกเราไปซื้ออาหารทะเลในตลาด ไม่ต้องยกขึ้นมาดม ไม่ได้กลิ่นหรอกครับ อายแม่ค้าเขาด้วย หลังแช่มาอย่างชุ่มโชกเขาเรียกว่าดองน้ำยา แม่ค้าก็ใส่ถุงมือล้างน้ำเปล่าสัก 2-3 รอบ แล้วเอามาขึ้นแผงขายพวกเรา
แม่ผมมีตลาดสดอยู่ที่พัทยา..อาหารทะเล พืชผักต่างๆ แม่ค้ายังไม่กล้ากินของที่ตัวเองเอามาขาย หากอยากกินหรือนำไปฝากญาติพี่น้อง ก็เตรียมไว้เป็นกรณีพิเศษ ในเรือประมงก็แช่ แม่ค้าในตลาดก็แช่ ซื้อมาล้างทำความสะอาดที่บ้าน กรุณาใส่ถุงมือด้วย หรือลองล้างเอง มือจะเหี่ยว-คันตามง่ามนิ้วมือเหมือนแม่บ้าน
#ให้ไว้เป็นกรณีพิเศษ..ปลาหมึกสดๆ ใสๆ สวยๆ ซื้อไปแล้วก่อนปรุงควรแช่น้ำหรือล้างน้ำสัก 4-5 รอบ พวกเรือไดน์หมึกเขาซื้อผงซักฟอกไปซักผ้ากันกลางทะเลครับ
# ผู้ค้าหัวใสเกือบทุกรายนำน้ำยานี้ไปผสมน้ำแช่ อาหารทะเล เครื่องใน และพืชผักต่างๆ เพื่อให้อาหารสด ไม่เน่าเสีย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตรวจ 100 ครั้งก็เจอ 100 ครั้ง สิ่งตกค้างย่อมเป็นอันตรายได้เมื่อกินเข้าไปบ่อยๆ โดยเฉพาะฟอร์มัลดีไฮด์นี้มีข้อพิสูจน์ที่พอจะเชื่อได้ว่าเป็นสาร “ก่อมะเร็ง”
Formaldehyde เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมประมง
[ads=center]
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ