อร่อยอันตราย! พบไส้กรอก 3 ใน15 ยี่ห้อในท้องตลาดใส่สารกันบูดเกินมาตรฐาน!!





ss_cover

ภาพประกอบจาก aconsciousappetite.wordpress.com
ข่าวจาก matichononline

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) น.ส.มลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เปิดเผยว่าศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ได้เก็บตัวอย่างไส้กรอก 15 ยี่ห้อที่วางขายตามท้องตลาด มาตรวจหาสารไนเตรท และสารไนไตรท์ หรือสารกันบูดในอาหาร ซึ่งตามมาตรฐานโคเด็กซ์ กำหนดให้นำมาผสมในอาหารได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัม (มก.) ต่อกิโลกรัม (กก.) ทั้งนี้ ผลการทำสอบพบว่ามี 11 ตัวอย่างที่มีการผสมสารทั้ง 2 ชนิดอยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานกำหนด มี 3 ตัวอย่างที่เกินมาตรฐาน โดยมีการผสมสารทั้ง 2 ชนิดในระดับ 148.61 มก./กก.,132.33 มก./กก. และ 91.27 มก./กก.และมีเพียง 1 ยี่ห้อที่ไม่ได้มีการผสมสารทั้ง 2 ชนิดแต่อย่างใด โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของ มพบ. ได้ที่ www.chaladsue.com (หรือภาพและลิ้งค์ข้อมูลท้ายข่าวนี้) อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบเพิ่มเติมไม่พบว่ามีการผสมสีลงไปแต่อย่างใด

“เราพบว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมีการแสดงข้อมูลการใช้สารกันบูดทั้ง 2ชนิดไว้ในฉลากโภชนาการเพียง 6 ชนิดเท่านั้น แต่ปัญหาคือ พบว่าฉลากข้อมูลโภชนาการระบุรายงานส่วนผสมสารไนเตรท และไนไตรท์เป็นรหัสตัวเลขทำให้ประชาชนไม่สามารถทราบได้ว่าแท้จริงแล้วเป็นอะไร ดังนั้นจึงอยากให้มีการประปรุงแก้ไขเพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อไส้กรอกมารับประทาน ซึ่งจากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่าไส้กรอกหลายยี่ห้อมีเจ้าของหรือผู้ผลิตเดียวกัน” น.ส.มลฤดี กล่าว

ด้าน น.ส.สารี อ๋อง สมหวัง เลขาธิการ มพบ. กล่าวว่า การรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ท้องเสียรุนแรง ยิ่งผู้ที่มีอาการแพ้อาจส่งผลต่อระบบหายใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หมดสติหรือเสียชีวิตได้ และที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนว่าการรับประทานอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์เช่น เบคอน ไส้กรอก แฮม ในปริมาณมากเกินไปอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ ดังนั้น ขอให้ประชาชนเลือกรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ และตรวจสอบข้อมูลโภชนาการทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการรับประทานกลุ่มที่มีการผสมสารกันบูดในอัตราที่เกินกำหนด หรือไม่ควรมีการผสมสารดังกล่าวเลย อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ มพบ.จะมีการส่งหนังสือไปยังบริษัทที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เพื่อแจ้งผลการทดสอบและขอให้มีการปรับปรุงการใช้สารผสมในอาหารให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงส่งหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้มีการติดตามตรวจสอบ และควบคุมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ได้มาตรฐานด้วย

ภาพข้างล่างต่อไปนี้เป็นตัวอย่างไส้กรอกที่นำมาทดสอบสาร ซึ่งสรุปผลการทดสอบได้ดังนี้ ((คลิกที่นี่เพื่ออ่านข้อมูลฉบับเต็มเกี่ยวกับการทดสอบสารกันบูดในไส้กรอกโดยเว็บไซต์www.chaladsue.com ))
– จากทั้งหมด 15 ตัวอย่าง มีเพียง 1 ตัวอย่างที่ไม่พบการเจือปนของ ไนเตรทและไนไตรท์ คือ ไทยซอสเซส ค๊อกเทลซอสเซส ของ บ.ไทย-เยอรมัน มีท โปรดักท์ จำกัด

– พบ 3 ตัวอย่าง ที่มีการใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกันเกินกว่าค่าที่อนุญาตให้ตามข้อกำหนดของโคเด็กซ์ ที่ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ
1.ตราเอโร่
ไส้กรอกฮอทดอก พบไนเตรท 50.45 มก./กก. พบไนไตรท์ 40.82 มก./มก. รวมแล้วเท่ากับ 91.27 มก./กก.,
2.NP ไบร์ทหมู พบไนเตรท 54.86 มก./กก. พบไนไตรท์ 77.47 มก./กก. รวมแล้วเท่ากับ 132.33 มก./กก. และ
3.บางกอกแฮม ไส้กรอกหมูคอกเทล พบไนเตรท 77.13 มก./กก. พบไนไตรท์ 71.48 มก./กก. รวมแล้วเท่ากับ 148.61 มก./กก.

– ข้อสังเกตสำคัญที่ได้จากการทดสอบครั้งนี้ก็คือ เรื่องการแสดงข้อมูลบนฉลาก ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ ที่กำหนดไว้ว่าถ้าหากมีการใส่วัตถุเจือปนลงในอาหาร บนฉลากต้องมีการแสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะ หรือแสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับตัวเลขจำแนกชนิดวัตถุเจือปนอาหาร International Numbering System : INS for Food Additives ถ้ามีการใช้หรือมีวัตถุเจือปนอาหารติดมากับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหาร เป็นส่วนประกอบของอาหารในปริมาณที่เกิดผลตามวัตถุประสงค์ของการใช้วัตถุเจือปนอาหาร

จากตัวอย่างไส้กรอกที่สำรวจพบว่ามีแค่ 6 จาก 15 ตัวอย่าง ที่แสดงข้อมูลการใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ คือ
1.ไทยซอสเซส
2. S&P
3.เซเว่น เฟรช
4.มิสเตอร์ ซอสเซส
5.TGM  
6.บุชเชอร์

แต่ทั้ง 6 ตัวอย่างแสดงข้อมูลว่า ใช้เพื่อ “เป็นสารคงสภาพของสี” และทุกตัวอย่างไม่ได้บอกว่าเป็น ไนเตรทและไนไตรท์ แต่ใช้รหัส INS for Food Additives หมายเลข 250 ซึ่งเป็นรหัสของโซเดียมไนไตรท์แทน

การแสดงข้อมูลแบบนี้ดูจะไม่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคสักเท่าไหร่ เพราะคงมีผู้บริโภคน้อยรายที่รู้เรื่องรหัสจำแนกชนิดวัตถุเจือปนอาหาร INS for Food Additives เท่ากับว่าผู้บริโภคที่รับประทานไส้กรอกก็ได้รับไนเตรทและไนไตรท์ไปโดยไม่รู้ตัว แถมผลิตภัณฑ์ที่แสดงข้อมูลว่ามีการใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ มีเพียงแค่ 6 จาก 15 ตัวอย่าง ไม่ถึง 50% ซะด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องแสดง

หมายเลข INS for Food Additives
ของ โฟเทสเซียไนไตรท์ คือ 249
ของ โซเดียมไนไตรท์ คือ 250
ของ โซเดียมไนเตรท คือ 251
ของ โฟเทสเซียมไนเตรท คือ 252

ที่มา:
https://en.wikipedia.org/wiki/International_Numbering_System_for_Food_Additives#Numbering_system

มีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างจากตัวอย่างไส้กรอกทั้งหมดที่นำมาทดสอบที่แจ้งว่ามีการใช้สารกันบูด คือ ยี่ห้อ My Choice ไส้กรอกจูเนียร์ ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีการแจ้งเรื่องการใช้สารกันบูด แม้จะมีการใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ เพราะอย่างที่บอกไว้ว่าผลิตภัณฑ์ไส้กรอกส่วนใหญ่ แจ้งว่าใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ เพื่อทำหน้าที่เป็นสารคงสภาพสี

– อย่างที่ฉลาดซื้อเราเคยนำเสนอไปแล้วเรื่องการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์ไส้กรอกว่า ไส้กรอกในปัจจุบันหลายยี่ห้อทำจากเนื้อหมูผสมกับเนื้อไก่ ซึ่งจากการสำรวจก็พบว่ามี 6 ตัวอย่างจาก 15 ตัวอย่าง ที่แจ้งไว้บนฉลากว่าใช้ทั้งเนื้อหมูและเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบ และมี 5 ตัวอย่าง ที่บอกว่าใช้เนื้อหมูเพียงอย่างเดียว

ที่น่าสังเกตคือมี 2 ตัวอย่าง ที่แจ้งเพียงว่าใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าเป็นเนื้อสัตว์ชนิดใด คือ
1.ตราเอโร่
2.เบทาโกร (บอกว่าใช้เนื้อสัตว์อนามัย)

ส่วนบางกอกแฮมมีการแจ้งรายละเอียดส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วน ตรงด้านหน้าแจ้งว่าใช้เนื้อหมู แต่ที่ด้านหลังซองแจ้งแค่ว่าใช้ เนื้อสัตว์

นอกจากนี้มีอยู่ 1 ตัวอย่าง คือ NP ไบท์หมู แม้ชื่อจะบอกว่าเป็นไบท์หมู แต่บนบรรจุภัณฑ์ไม่มีจากแจ้งข้อมูลรายละเอียดส่วนประกอบใดๆ เลย

– ในการวิเคราะห์ตัวอย่างไส้กรอกครั้งนี้เราได้ดูเรื่องการปนเปื้อนของสีผสมอาหารด้วย ซึ่งผลออกมาว่า ไม่พบการปนเปื้อนของสีในทุกตัวอย่าง

ss1

ss5

ss6

ss7

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: