ในสมัยปัจจุบันนี้พวกเราคงจะเคยได้ยินประโยคเวลาที่ผู้ต้องหาไปกระทำความผิดมาแล้วกล่าวว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นพวกตน "รู้เท่าไม่ถึงการณ์" ในหลายต่อหลายคดีและเหมือนกับว่าจะเป็นอุปทานหมู่คือกระทำมาแล้วก็แก้ตัวด้วยประโยคนี้เหมือนๆกันหรือศัพย์ในโลกโซเชียลนั้นเรียกว่า"หงายการ์ดรู้เท่าไม่ถึงการณ์"วันนี้เราจะมาขยายความให้ท่านรู้จักประโยคนี้มากขึ้นว่าจริงๆแล้วมีความหมายว่าอะไรและใช้อย่างไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า "รู้เท่าไม่ถึงการณ์" ไว้ว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (กรรม.) หมายถึง เขลา,คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น ยกตัวอย่างเหตุการณ์การใช้คำว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่ถูกต้องได้ดังต่อไป
นาย ก. ได้รับฝากของจากนาย ข. ไว้โดยที่นาย ข.แจ้งว่าจะมารับคืนในภายหลัง เมื่อตำรวจได้ทำการสืบสวนสอบสวนแล้วได้ทราบว่าของที่นาย ก.ได้รับไว้นั้นเป็นของที่ นาย ข.ได้ทำการโจรกรรมมาจึงทำให้ นาย ก.ถูกดำเนินคดีในข้อหารับของโจร โดยที่นาย ก.นั้นไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นของที่โจรกรรมมาเป็นการ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าของนั้นเป็นของโจร.
จากเหตุการณ์ข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นถึงการใช้คำว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่ถูกต้อง แตกต่างจากคำให้การของผู้ต้องหาในหลายๆคดี ยกตัวอย่างเช่นคดีวัยรุ่นชาย 6 คนทำร้ายร่างกายผู้พิการโดยได้รับสารภาพว่า"ทำไปด้วยอารมณ์ชั่ววูบและรู้เท่าไม่ถึงการณ์"ซึ่งขัดกับความหมายและการใช้คำนี้เป็นอย่างมาก
ขอบคุณภาพจาก mcot.netและyoutube.com
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า "รู้เท่าไม่ถึงการณ์"เป็นการกระทำที่ไม่ได้ตั้งใจและไม่คาดคิดว่าการกระทำที่ได้ทำนั้นจะส่งผลเสียและผลร้ายขึ้น ขอให้ทุกท่านนำคำนี้ไปใช้ให้ถูกต้องนะครับ
เรียบเรียงโดย Thaijobsgov
ข้อมูลจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ภาพจาก google.com
[ads=center]
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ