หากลูกๆของคุณสามารถที่จะดูการ์ตูนหรือเล่นเกมส์บนสมาร์ทโฟนด้วยสายตาจับจ้องอยู่กับหน้าจอมือถือหรือแท็บเล็ตได้เป็นวัน ๆ โดยที่ไม่คิดจะทำกิจกรรมอย่างอื่นเลย นั่นแสดงว่า ลูกของคุณกำลังเสพติดการเล่นแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนแล้วหละครับ จะมีวิธีแยกลูกรักของคุณกับมือถือสมาร์ทโฟนได้อย่างไร วันนี้เรามารู้วิธีการกัน แต่ก่อนอื่นลองมาดูสัญญาณเตือนที่บอกว่าลูกของคุณกำลังติดสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต
1. เวลาที่จะให้ทำกิจกรรมอย่างอื่น จะเริ่มร้องไห้งอแงไม่อยากทำ
2.รู้สึกไม่ชอบไปโรงเรียนและแสดงออกว่าต้องการเล่นแท็บเล็ตอยู่บ้านหรือถ้าไปโรงเรียนก็จะขอนำแท็บเล็ตไปด้วย
3. สมาธิสั้นไม่อยู่นิ่ง มีสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตวางอยู่ข้างหน้าตลอดเวลาโดยไม่ห่างมือ
4 วิธีแก้ปัญหาลูกๆติดสมาร์ทโฟน สามารถทำได้ดังนี้
1. เป็นแบบอย่างที่ดี เด็กจะซึมซับพฤติกรรมจากการสังเกตุ เมื่อลูกเห็นว่าพ่อแม่หยิบหนังสือที่เป็นประโยชน์มาอ่านมากกว่ากการเล่นสมาร์ทโฟนตลอดทั้งวัน ลูกก็ทำตาม ดังนั้นในช่วงเวลาที่เป็นเวลาของครอบครัว ควรนำเครื่องมือสื่อสารออกไปและใช้เวลาพูดคุยทำกิจกรรมร่วมกับลูก
2. ทำกิจกรรมร่วมกับลูก ส่งเสริมให้ลูกได้เล่นกีฬา เล่นดนตรี การเข้าร่วมชมรมศิลปะ โดยที่พ่อแม่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนั้นๆด้วย เช่น เล่นฟุตบอลกับลูก วาดรูปด้วยกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แล้วก็ยังมีคุณค่ากว่าการปล่อยให้ลูกใช้เวลากับเล่นแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนทั้งวันโดยไม่ได้อะไรเลย
3. ออกกฎของบ้านและกำหนดเวลาชัดเจน สร้างกฎระเบียบต่าง ๆ ภายในบ้านขึ้น โดยควรมีกฎชัดเจนว่าจะไม่เล่นแท็บเล็ตสมาร์ทโฟนในเวลาที่รับประทานข้าวร่วมกัน หรือฝึกให้เขาได้ว่างแผนล่วงหน้า เช่น ก่อนเวลาทานอาหารเย็นเราต้องเตือนลูกล่วงหน้าว่าจะถึงเวลาทานอาหารเย็นแล้วอีก 10 นาที ให้วางแท็บเล็ตลง การเตือนล่วงหน้าจะทำให้ลูกรู้จักการวางแผนและเรียนรู้การเคารพสิทธิส่วนบุคคลด้วย
4. ทำรหัสผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และ สมาร์ทโฟน ตั้งรหัสไว้เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ลูกเข้าไปเล่นหรือดาวน์โหลดโปรแกรมต่าง ๆ ได้ตามใจและควรตั้งคอมไว้ที่ที่พ่อแม่สามารถมองเห็นและสังเกตุลูกได้ตลอดเวลา
เพียงเท่านี้ก็จะสามารถช่วยพ่อและแม่เข้าไปแทรกตรงกลางระหว่างลูกและสมาร์ทโฟนเพื่อให้มีเวลาและใช้เวลาร่วมกันในครอบครัวมากขึ้นครับ
เรียบเรียงโดย Thaijobsgov
ข้อมูลจาก manager.co.th
รูปภาพจาก google.com
[ads=center]
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ