ทำไม เรียก สถานีขนส่งอีสาน-เหนือ ว่า.. “หมอชิต”





ทำไม เรียก สถานีขนส่งอีสาน-เหนือ ว่า.. "หมอชิต"
 
 
 
หากจะเดินทางไปภาคเหนือ ภาคอีสาน ต้องขึ้นรถโดยสารที่ "สถานีขนส่งหมอชิต" ซึ่งย้ายมาจากสถานีขนส่งหมอชิตเดิม ที่บริเวณสวนจตุจักร หรือ ได้ยินใคร ๆ เรียกสถานีโทรทัศน์ช่อง7 ว่า วิกหมอชิต
 
หมอชิต หรือ นายชิต นามสกุล นภาศัพท์ เป็นคนบางพระ จังหวัดชลบุรี นอกจากจะเป็นเจ้าของพื้นที่ ซึ่งเป็นสถานีขนส่งหมอชิต (คือตั้งชื่อตามเจ้าของเดิม) ที่เดิมเคยเป็นตลาดนัดที่ชาวสวนเอาผลไม้ต่างๆ มาขาย จนเรียกกันว่า "ตลาดนัดหมอชิต"
 
ประวัติหมอชิตคร่าวๆ 
 
หมอชิตโด่งดังเป็นที่รู้จักทั่วไป (ต้องคนรุ่น ๕๐ ขึ้นไป) ในฐานะเป็นผู้ผลิตยานัตถุ์หมอชิต อันทำให้ได้นามนำหน้าว่า หมอ แต่นั้นมา ก่อนที่จะผลิตยานัตถุ์ได้เคยทำงานเป็นเสมียนที่ห้างเต็กเฮงหยู ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่ห้างเพ็ญภาค เมื่อแต่งงานมีบุตรธิดาแล้วก็คิดขยับขยายหาความก้าวหน้ามาเปิดร้านขายยาของตัวเอง โดยเริ่มที่หน้าวัดมหรรณพาราม ใช้เครื่องหมายการค้าตรามังกร ต่อมาย้ายไปอยู่ที่เสาชิงช้า ก่อนจะมาเปิดร้านที่ปากคลองตลาด เป็นที่รู้จักของชาวบ้านในนาม ร้านขายยาตรามังกร ช่วงนี้เองที่ได้คิดปรุงยานัตถุ์เป็นผลสำเร็จ โดยอาศัยตำราโบราณของบรรพบุรุษ จนเป็นที่นิยมไปทั่ว ได้เปิดเอเยนต์ในต่างจังหวัดขึ้นหลายแห่ง จากร้านขายยาก็กลายเป็นห้างขายยาตรามังกร กิจการก้าวหน้าจนขยายมาตั้งโรงงานปรุงยาขึ้นที่บ้านถนนเพชรบุรี และปัจจุบันได้เปลี่ยนมาดำเนินในรูปบริษัทยานัตถุ์หมอชิตแทน
 
สำหรับยานัตถุ์คนรุ่นใหม่อาจไม่รู้จัก แต่คนสมัยก่อนหากเห็นท่อเหล็กรูปตัวยู ที่คนสูงอายุสอดเข้าไปในรูจมูกด้านหนึ่ง ส่วนปลายท่ออีกด้านใช้ปากเป่า เป็นอันรู้ว่าท่านกำลังนัตถุ์ยา เพราะตัวยานั้นเป็นผงที่มีส่วนผสมหลายอย่าง เช่น ยาสูบ อบเชย เมนทอล สเปียร์มินต์ ฯลฯ การเป่าทำให้ตัวยาที่บรรจุลงในท่อเหล็กฟุ้งกระจายเข้าไปในโพรงจมูก ส่งผลให้ผู้สูบรู้สึกปลอดโปร่ง เคลิบเคลิ้มเหมือนได้สูบบุหรี่
 
หมอชิตเป็นผู้ขยันขันแข็ง มีความคิดทางการตลาดก้าวหน้า จากเสมียนก็กลายเป็นนายห้างจนเป็นพ่อค้าที่ร่ำรวย ทำสาธารณประโยชน์ให้กับที่ต่าง ๆ ไว้มาก ทั้งเป็นกรรมการสมาคมพ่อค้าไทย และเมื่อทางราชการพระราชทานตั้งยศพ่อค้าไทย หมอชิตได้รับแต่งตั้งเป็นชั้นเอกทางพานิชกรรมท่านถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เมื่อมีอายุได้ ๕๘ ปี
 
ขอบคุณข้อมูลจาก : talk.mthai.com

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: