ไขมันพอกตับคือโรคที่เกิดจากการสะสมของไขมันในตับที่มากเกินไปจนทำให้ตับทำงานผิดปกติ เอกสารทางการแพทย์พบว่าโดย 20% ของคนที่เป็นโรคอ้วนมักจะเป็นโรคไขมันพอกตับ รวมถึงผู้ที่มีดัชนีมวลกาย BMI 25-30 หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากนั่นเอง
แล้วปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดโรคนี้หละ!!?
1. การดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ เป็นประจำและมากเกินไปหรือดื่มจัดนั่นเอง
2. ดื่มน้ำสะอาดน้อยเกินไปหรือการดื่มน้ำหวานแทนน้ำเปล่า
3. การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
4.ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และสภาวะขาดอาหารสามารถทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับได้รวมถึงการรับประทานอาหารที่มากเกินไป
ไขมันพอกตับจะแบ่งความรุนแรงของโรคเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะแรก เริ่มมีอาการสะสมไขมันที่ตับมากกว่าปกติ แต่ยังไม่ส่งผลเสียใด
ระยะที่สอง เริ่มพบการอักเสบที่ตับ หากไม่รีบรักษาหรือดูแลตัวเองและปล่อยให้เป็นนานถึง 6 สัปดาห์จะทำให้เกิดอาการตับอักเสบเรื้อรัง
ระยะที่สาม เซลล์ตับจะค่อยๆถูกทำลาย เพราะการอักเสบมีความรุนแรงขึ้น และเกิดพังผืดขึ้นในตับ
ระยะที่สี่ ตับไม่สามรถทำงานได้อย่างปกติอีกต่อไป เพราะเซลล์ตับถูกทำลายลงไปมาก อาจทำให้เปลี่ยนเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับในที่สุด
"แม้ว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะไม่แสดงอาการให้เห็นหรือรู้ตัวมาก่อน หรือหากมีอาการก็ไม่สามารถรู้ได้ว่ากำลังเป็นโรคนี้อยู่ เช่น มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นบางเวลา รู้สึกอ่อนเพลียบ่อยๆ และรู้สึกเจ็บๆตึงๆบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา เป็นต้น"
เราจะสามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร?
1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นกากใยสูง ไขมันต่ำและให้พลังงานต่ำ
2.ควรออกกำลังเป็นประจำและสม่ำเสมอ ควรเน้นการออกกำลังกายที่มีแรงต้านต่ำหรือมีแรงกระแทกน้อย เช่น เดินเร็ว เต้นแอโรบิก เป็นต้น
3.หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ควรลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป
4.ผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงและผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ควรดูแลสุขภาพให้ดี ทานยาและปฏิบัติตัวตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
5.ควรรับเข้าการตรวจสุขภาพประจำปี สม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี
เรียบเรียงโดย Thaijobsgov
ข้อมูลจาก organicbook.com
ภาพจาก google.com
[ads=center]
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ