"จะเก็บไว้ทำไมกับกระดาษใบเล็กๆ ที่ขยำทิ้งได้?" หลายคนอาจสงสัยแบบนี้ แต่สำหรับคนที่ต้องการจัดระเบียบการเงิน เช่น คนตัวเล็กๆ ที่ต้องการจัดการรายรับรายจ่ายส่วนตัว, บริษัทที่ต้องทำบันทึกรายรับรายจ่าย ใบเล็กๆ นี่แหละถือว่ามีความสำคัญมากๆ ในการเป็นหลักฐานการเงิน เช่น เอาไปยื่นหักภาษี เอาไปคำนวณความคุ้มค่าของราคาสินค้า จึงจำเป็นต้องมีการเก็บหลักฐานชิ้นสำคัญนี้ในรูปแบบต่างๆ
ถ้าอย่างง่ายเลยก็คือ นำสลิปใบจริงไปแปะเทปใสกับกระดาษA4 แล้วสแกนหรือถ่ายเอกสารเป็นฉบับสำเนาอีกที (พบได้มากในกรณีที่เป็นบริษัทหรือองค์กรที่ต้องการเอกสารไว้ยื่นภาษี) แต่สำหรับคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีเครื่องสแกนเป็นของตัวเอง และขี้คร้านจะถ่อไปร้านเอกสารให้ยุ่งยาก แค่มีสมาร์ทโฟนก็จัดการทุกอย่างให้เป็นระเบียบได้
1. ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันที่มีชื่อว่า Google Drive มาก่อน แล้วติดตั้งลงในมือถือของเรา
2. จากนั้นเราเลือกที่เครื่องหมาย + ที่อยู่ด้านล่างขวามือ (ที่วงกลมสีแดงไว้) เพื่อทำการเพิ่ม โฟลเดอร์ใหม่
3. เลือกที่เพิ่ม โฟลเดอร์ใหม่
4. ตัวแอพพลิเคชันจะขึ้นให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อ โฟลเดอร์ใหม่ได้ตามรูป
5. เราจะได้ โฟลเดอร์ใหม่ที่เราตั้งชื่อไว้เพิ่มเก็บข้อมูล สลิปATM ของเราตามรูป ในตอนนี้หากเราต้องการเริ่มเก็บรูปภาพ สลิปATM ให้เราเลือกที่เครื่องหมาย + ที่มุมล่างขวามือ เพื่อเริ่มเก็บเลย
6. ทำการถ่ายรูปสลิปที่เราต้องการเก็บไว้ได้เลย เมื่อต้องการถ่ายภาพให้กดที่ปุ่มเครื่องหมายสีฟ้า ตามรูป (รูปนี้ถ่ายด้านหลังเพื่อลองทดสอบดูเฉยๆ)
7. เมื่อเรากดถ่ายรูปแล้วหน้าจอโทรศัพท์มือถือแสดงตามภาพ ให้เราเลือกที่มุมขวาบน จะมีเมนูให้เราเปลี่ยนชื่อ
8. เปลี่ยนชื่อสลิปของเราที่ถ่ายรูปไว้ เพื่อให้ตอนค้นหาจะได้สามารถค้นหาได้ง่าย ตรงนี้เวลาเปลี่ยนชื่อหลัง.PDF ไม่ต้องเปลี่ยน
9. เลือกเครื่องหมายถูกที่มุมขวาด้านล่าง
10. เมื่อทำเสร็จทุกขั้นตอนเราก็จะได้ไดร์ไว้สำหรับเก็บข้อมูลสลิปATM ของเรา คราวนี้เวลาจะค้นหาก็ง่ายแล้ว แต่หากคราวหลังที่สร้างโฟลเดอร์แล้วให้เราเข้ามาที่โฟลเดอร์นี้แล้วมา เลือกเครื่องหมาย + เพื่อเพิ่มข้อมูลรูปภาพสลิปในครั้งต่อไปแบบนี้เช่นกัน
เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถจัดระเบียบข้อมูลสลิปได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าตัวสลิปตัวจริงจะหมึกจางหายไปไม่เหลือข้อมูลอะไรเลย พกพาไปไหนก็ได้ เรียกดูข้อมูลเมื่อไหร่ก็ได้ ง่าย สบายมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก http://investmentbloger.blogspot.com/2015/07/atm.html
เรียบเรียงใหม่โดย Thaijobsgov
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ