ครม.เห็นชอบ “เอาผิดข้าราชการย้อนหลังได้” แม้จะพ้นราชการ/ลาออก/เกษียณไปแล้ว





เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 23 สิงหาคม เมื่อเวลา 14.30 วันที่ 23 ส.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ประชุมเห็นชอบการกำหนดมาตรฐานวินัยข้าราชการกับผู้ที่พ้นข้าราชการ

25838380053_91305b38eb_b
ภาพประกอบจาก prachatai.com

ซึ่งหมายถึงการเอาผิดในสมัยที่ยังรับราชการอยู่ แต่พ้นราชการ ลาออก หรือเกษียณอายุราชการ แล้วไม่สามารถเอาผิดได้ โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเด็นนี้ คือ พ.ร.บ.การป้องกันปราบปรามการทุจริต พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2551 และกฎหมายตามที่ข้าราชการสังกัดอยู่ แต่ว่ากฎหมายเหล่านี้มีความลักลั่นกันเอง ดังนั้นจึงกำหนดให้ใช้มาตรฐานเดียวกัน 2 หลักเกณฑ์ คือ 1.ถ้ามีการดำเนินการกระทำผิดสมัยรับราชการ แล้วคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น (ป.ป.ช.) หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) ชี้มูลความผิดทางวินัยและลงโทษตามที่ชี้มูล โดยจะไม่นำกฎหมายที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดอยู่มาบังคับใช้

พล.ต.สรรเสริญ กล่าวต่อไปว่า 2.เป็นเรื่องที่หน่วยงานต้นสังกัดตรวจพบว่าข้าราชการในสังกัดทำความผิดในสมัยที่ยังรับราชการ เลยได้กำหนดวิธีการปฏิบัติ ดังนี้ประการแรกให้ สอบสวนภายใน 1 ปีนับตั้งแต่พ้นราชการ ประการต่อมา การสั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษภายใน 3 ปีนับตั้งแต่พ้นราชการ ทั้งนี้มีข้อยกเว้นว่าหากมีการไปร้องศาลปกครองแล้วพบว่ามีความผิดกรณีอื่นๆเกิดขึ้น แม้ว่าจะถูกลงโทษครบ 3 ปีก็สามารถลงโทษได้อีกภายใน 3 ปีนับตั้งแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

"นี่ถือเป็นนโยบายที่รัฐบาลชุดนี้ตั้งใจที่จะให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ว่าจะอยู่ หรือพ้นจากราชการไปแล้วก็ตาม คุณต้องเป็นข้าราชการที่ดี ทำเพื่อชาติ และประชาชน ถ้าประพฤติมิชอบ เราจะตามล้างตามเช็ดท่านไม่ว่าจะอยู่ หรือพ้นราชการไปแล้ว" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว


ข่าวจาก : nationtv.tv

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: