[รู้หรือยัง?] 2 วิธีป้องกัน…หูอื้อตอนนั่งเครื่องบิน





  images (1)

   อาการปวดหู หรือหูอื้อในระหว่างขึ้น ลง…เครืองบินนั้น มีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติของท่อยูสเตเซียนที่อยู่ภายในหูชั้นกลาง ซึ่งมีหน้าที่ช่วยปรับความดันภายในหูให้เท่ากับบรรยากาศภายนอกหากมีการเปลี่ยนเเปลงระดับความกดดันบรรยากาศอย่างรวดเร็ว หรือในระยะเวลาอันสั้น เช่น การขึ้นลงลิฟท์เร็วๆ, การนั่งบนเครื่องบินที่กำลังขึ้นหรือลงเร็ว,การดำน้ำโดยลดระดับเร็วเกินไป เป็นต้น จะก่อให้เกิดอาการหูอื้อ ปวดหู เวียนศรีษะหรือบ้านหมุนได้

images (2)

                                                  ภาพ เเสดงท่อยูสเตเชียนชื่อมระหว่างหูชั้นกลางกับช่วงคอส่วนบน

                                                             มีหน้าที่ปรับความดันอากาศในแก้วหูทั้งสองข้าง

 

    หลายคนที่ขึ้นลงเครื่องบินเเละมีอาการปวดหูมาก ในขณะเครื่องบินขึ้นนั้นอาการจะไม่รุนเเรงมากนัก ในทางตรงกันข้าม อาการปวดหูเมื่อเครื่องบินลงนั้นจะปวดหูได้มาก หากเป็นหนักๆก็อาจหูดับ ไม่ได้ยินไปชั่วขณะหนึ่งได้เลยทีเดียว เเละพบได้บ่อย เนื่องจากเครื่องบินลดระดับลงเรื่อยๆนั่นเอง  วิธีง่ายๆที่จะป้องกันอาการปวดหูเเละหูอื้อ ทำได้ดังนี้

1.การบีบจมูกทั้ง 2 ข้างเเละกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง จากนั้นเอามือที่บีบจมูกออกเเละกลืนน้ำลายอีก 1 ครั้ง วิธีนี้เรียกว่า Toynbee manever หรืออีกวิธีหนึ่งคือการบีบจมูก หุบปากให้สนิทเเล้วเป่าลมให้เเก้มป่อง ทำเป็นระยะจนกว่าเครื่องบินจะหยุดขึ้นหรือลง

33615961_6

 

2.การเคี้ยวหมากฝรั่ง ให้มีการกลืนน้ำลายบ่อยๆ หรืออมลูกอมเพื่อกระตุ้นให้หลั่งน้ำลายมากขึ้นทำให้กลืนน้ำลายได้เพิ่มขึ้น

chewing_gum_good_or_bad_for_teeth-700x450

 

  อย่าลืม...หลีกเลี่ยงการนอนหลับในขณะเครื่องบินขึ้นหรือลง เเละผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหู ควรพกยาหดหลอดเลือดไว้ เเล้วพ่นในจมูกทุก 10-15 นาทีด้วย เพื่อบรรเทาอาการปวดหูหรือหูอื้อให้ทุเลาลง ตลอดจนการเตรียมตัวก่อนเดินทาง ควรป้องกันตนเองไม่ให้เป็นหวัด ซึ่งทำให้มีน้ำมูกมาอุดตัน อาจทำให้การทำงานของท่อยูสเตเชียนผิดปกติได้

เเหล่งอ้างอิง 

http://www.oralanswers.com

http://www.junipercivic.com

[ads=center]

 

 

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: