“ง่ายๆ”ขจัดคราบหินปูน ได้ไม่ง้อหมอฟัน





         คราบหินปูน  ที่เรามองเห็นได้ จะมีลักษณะเป็นคราบขาวออกเหลืองหรือสีครีม พบได้ที่ซอกฟันโคนฟัน ฟันหน้าล่างด้านใน บริเวณเหนือเหงือกหรือใต้เหงือก หรือแม้กระทั่งฟันปลอมก็ได้ ซึ่งคราบนั้นจะเกาะแข็งติดแน่นอยู่ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นปัญหาใดๆต่อร่างกาย แต่หากทิ้งไว้นาน  มักเป็นอันตรายและก่อเกิดเป็นโรคทางช่องปากได้ เช่น ทำให้เลือดออกขณะแปรงฟัน เนื่องจากออกแรงกดเหงือกและฟันมากเกินไป ต่อมาอาจมีอาการเหงือกบวมและอักเสบร่วมด้วย อีกทั้งยังทำให้ฟันผุและมีกลิ่นปาก เพราะคราบหินปูนเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย ตลอดจนทำลายเคลือบผิวฟันให้เหลือง ทำให้เสียบุคลิกอีกด้วย

images (1)

  สาเหตุของการเกิดคราบหินปูนมีมากมาย เช่น การสูบบุหรี่, การนอนกัดฟันหรือสบฟันไม่ดี,การทานอาหารที่มีน้ำตาล, การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่างกาย หรือการมีโรคประจำตัวและการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น

 

 ระยะเวลาภายใน 24 ชั่วโมง หินปูนจะเกิดคราบเป็นฟิล์มใสเกาะตัวกันในช่องปากก่อน จากนั้น เมื่อครบ 48 ชั่วโมง จะค่อยๆสะสมเกิดเป็นคราบเหลืองหรือสีน้ำตาล แล้วแบคทีเรียจะทยอยปล่อยสารหรือกรดมาทำลายเนื้อฟันและเนื้อเยื่อเหงือก ดังนั้นหากในช่วงเวลาแรกของการก่อตัว เราสามารถกำจัดคราบหินปูนออกไปได้ก่อนในเบื้องต้น น่าจะเป็นผลดีกว่า ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดคือ การแปรงฟันอย่างถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยแปรงบริเวณซอกฟันและโคนฟันอย่างละเอียด และเลือกใช้ยาสีฟันที่ลดการสะสมของหินปูนร่วมด้วย เพื่อกำจัดคราบเศษอาหารหรือคราบแบคทีเรียที่ติดอยู่บนตัวฟันออกให้หมด

article-2120960-005E94F200000258-633_468x341

               วิธีนี้จะช่วยรักษาความสะอาดของฟันและลดคราบหินปูนที่อาจสะสมได้ แต่หากมีคราบหินปูนเกาะติดที่ฟันเป็นเวลานานและไม่สามารถใช้แปรงสีฟันขจัดให้ออกได้ ควรพบทันตแพทย์ เพื่อทำการขัดหินปูน โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือเฉพาะที่จะขูดหินปูนออกจากฟันและร่องเหงือก อาจจะรู้สึกเสียวเล็กน้อยในระหว่างขุดหินปูน เนื่องจากการดูแลฟันของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การขูดหินปูนจึงมีระยะเวลาความถี่ที่แตกต่างกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วควรพบทันตแพทย์อย่างน้อย 6 เดือนต่อ 1 ครั้ง เพื่อทำการขูดหินปูน แต่สำหรับบางคนที่ดูแลฟันอย่างถูกวิธี ทันตแพทย์ก็จะแนะนำเวลาที่จะต้องขูดหินปูนในนัดครั้งต่อไป


3
 

 

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: