สุดเจ๋ง !! วิธีรักษา"ข้อเข่าเสื่อม" แบบไม่ต้อง..ผ่าตัด
ข้อมูลจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า ประมาณ 1 ใน 3 หรือ 34.5-45.6% ของประชากรในประเทศ ไทยป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อม
และที่น่าตกใจมากขึ้นก็คือ อายุของผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ลดลงเรื่อยๆ จากเดิมที่มักพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันกลับพบในกลุ่มอายุ 45-50 ปี
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นในกลุ่มอายุที่น้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากภาวะอ้วน ทำให้ข้อเข่าแบกรับน้ำหนักเกิน หรือการนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ รวมทั้งกรณีประสบอุบัติเหตุ หรือการเล่นกีฬาหักโหมเกินไป นอกจากนี้ อาจพบในกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงในกระดูกอ่อนจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การติดเชื้อในข้อ หรือโรคเกาต์ ที่มีส่วนทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อให้เสื่อมเร็วยิ่งขึ้นได้
โรคข้อเข่าเสื่อม (Arthritis) ชนิดที่พบบ่อยที่สุด เรียกว่า Osteoarthritis เป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการเสื่อมของข้อเข่าบริเวณกระดูกอ่อนของผิวข้อเข่าด้านบน ผิวข้อเข่าด้านล่าง และบริเวณใต้ลูกสะบ้า สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่กระตุ้นและพัฒนาให้เกิดโรคนี้มีหลายปัจจัย เช่น ความชรา กรรมพันธุ์ ความอ้วน การบาดเจ็บของข้อเข่าจากการเล่นกีฬา การทำงาน หรือจากอุบัติเหตุ
อาการเริ่มแรกของโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกไม่เด่นชัด แต่อาจรู้สึกว่าข้อเข่าขัดๆ หลังจากที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ซึ่งเมื่อปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาการจะเริ่มชัดเจนขึ้น ระยะเวลาดำเนินโรคอาจเป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
อาการสำคัญของโรคข้อเข่าเสื่อมที่พบบ่อย ได้แก่ อาการปวดเข่า ถือเป็นอาการสำคัญเริ่มแรก โดยจะเริ่มจากอาการปวดตึงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเข่า หรือบริเวณน่อง เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดบริเวณเข่า โดยเฉพาะเวลาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ลุกนั่งหรือเดินขึ้นบันได
มีเสียงในข้อ เวลาที่เคลื่อนไหวนอกจากปวดแล้ว อาจมีเสียงในข้อดังขล็อกแขล็กๆ บางรายอาจมีอาการบวม หากข้อมีการอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานๆ ข้อเข่าจะเริ่มโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน และสุดท้ายข้อเข่าจะเริ่มยึดติด ทำให้ไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิม เนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ
และข้อควรระวังสำหรับคุณผู้หญิง คือ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า!!!
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมีหลายวิธี คือ การรักษาทั่วไป เช่น การให้ยาแก้ปวด การทำกายภาพบำบัด รวมถึงการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม เช่น ยกของหนัก การนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การใช้ส้วมชนิดนั่งยองๆ การนอนกับพื้นเป็นประจำ ที่อาจ จะทำให้เกิดอันตรายกับเข่าขณะลุกขึ้นหรือลงนอน หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ ควรจะนั่งบนเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น หากมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การลดน้ำหนักเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะลดอาการปวด และช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้
การรักษาโดยการใช้ยา หากการรักษาทั่วไปไม่เป็นผล เพราะอาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรงมากขึ้น อาจจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งยาที่ใช้มีให้เลือกหลากหลาย เช่น ยาแก้ปวด เป็นยาลดอาการปวดแต่ไม่ได้แก้อาการอักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก ยาแก้อักเสบ โดยเฉพาะยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (steroid) สมัยก่อนนิยมใช้กันมากทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าข้อ แต่ปัจจุบันความนิยมลดลงเนื่องจากผลข้างเคียงมีมาก โดยเฉพาะยาที่ฉีดเข้าข้อจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้น แต่ก็มีผลในเรื่องของโรคแทรกซ้อน นอกจากยาแล้ว ยังมีการรักษาด้วยการใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อยทำให้มีการเสียดสีของข้อ การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ จะช่วยลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก
การรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้องเข้าไปเอาสิ่งสกปรกที่เกิดจากการสึกหรอของข้อออกมา การผ่าตัดแก้ความโก่งงอของเข่า วิธีนี้ต้องตัดกระดูกบางส่วนออกทำให้ใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ส่วนใหญ่แล้วแพทย์ไม่นิยมทำ การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมเป็นการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ดีขึ้น แต่มีราคาสูง และนั่นหมายถึงข้อเข่าเดิมไม่สามารถใช้การได้แล้ว
นอกจากนี้ยังมีวิธีรักษาข้อเข่าเสื่อมอีกวิธีหนึ่งที่ทันสมัยกว่า 3 วิธีที่กล่าวมาข้างต้น นั่นก็คือ การใช้สเต็มเซลล์จากไขมันของตัวผู้ป่วยเองเข้าไปช่วยให้กระดูกและข้อเข่าต่างๆแข็งแรงขึ้น บรรเทาอาการปวด ลดอาการแทรกซ้อน ชะลอการเสื่อมของข้อ และป้องกันความพิการ
วิธีการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ ศัลยแพทย์จะดูดไขมันของผู้ป่วยจากบริเวณที่มีไขมันมากที่สุดในร่างกาย เช่น หน้าท้อง ก้น ต้นขา จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการคัดแยกในห้องปฏิบัติการอย่างระมัดระวัง โดยใช้เอนไซม์ Collagenase ช่วยสกัดเอาสเต็มเซลล์ออกจากไขมันด้วยการเขย่าในเครื่องที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส แล้วผสมกับสารละลายในพลาสมาเพื่อนิวทรีไลซ์ (Neutralize) ให้เกิดความสมดุลของเซลล์ จากนั้นจึงนำสเต็มเซลล์ที่ได้ฉีดกลับเข้าไปในข้อเข่าของผู้ป่วยโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อ (Orthopedist) สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามไปได้ที่ 0-2714-4471 ในต่างประเทศพบว่าอาการเข่าเสื่อมรักษาด้วยวิธีใช้สเต็มเซลล์จากไขมันของตัวเองนี้มีความปลอดภัยสูง สามารถรักษาอาการของข้อเข่าเสื่อมได้.
[ads=center]
ขอบคุณที่มาจาก http://www.thairath.co.th/content/480996
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ