ต้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาหลายคนอาจจะทำงานวันสุดท้าย เพราะเกษียณอายุ ซึ่งสิ่งที่จะตามมาคือ สวัสดิการที่จะได้รับหลังเกษียณ โดยเฉพาะจากกองทุนประกันสังคมที่ได้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตลอดอายุการทำงาน ซึ่งในจำนวนนั้นจะมีเงินก้อนหนึ่ง นั่นคือ เงินสะสมชราภาพที่จะจ่ายให้เมื่อเกษียณอายุการทำงาน
โดยในแต่ละเดือน เราจะโดนหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอัตรา 5% ของเงินเดือน โดยเงินเดือนขั้นสูงสุดที่หักได้ก็จะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 15,000บาท เท่ากับจะเป็นที่ถูกหักจำนวนเงิน 750 บาทต่อเดือน
ภาพประกอบจาก www.youtube.com
ในจำนวนเงินที่หัก 5% เรารู้ไหมว่าถูกหักไปไหน วันนี้เรามีคำตอบ 1.5% แรก หรือ 225 บาท จะนำไปประกันเจ็บป่วย ตาย ส่วน 0.5% คือ 75 บาท จะนำไปประกันการว่างงาน และที่เหลือ 3% หรือเท่ากับ 450 บาท จะเป็นเงินสะสมชราภาพ ซึ่งจะเป็นเงินสะสมชราภาพทุกเดือน ๆ ละ 450 บาท ปีละ 5,400บาท และจะได้เงินสบทบอีก 100% จากนายจ้าง หรือ อีก 5,400 บาท และยังได้ดอกเบี้ยจากประกันสังคมในแต่ละปีอีกด้วย ดังนั้นเมื่อเกษียณ และขอคืนเงินออมประกันสังคม เงินที่จะได้รับ ประกอบด้วยเงินที่เราจ่าย ( 5,400 บาท) จากนายจ้าง (5,400 บาท) และดอกเบี้ย
ถ้าส่งทั้งหมด 10 ปี ก็จะได้เงินออม 54,000 บาท รวมกับที่นายจ้างสมทบให้ 54,000 บาท รวมเป็น 108,000 บาท ยังไม่รวมดอกเบี้ยที่ได้ในแต่ละปีอีก
อีกประเด็นที่ยังมีความสับสน คือ สามารถเลือกรับบำเหน็จ หรือ บำนาญได้หรือไม่ คำตอบ คือไม่ได้ เนื่องจากประกันสังคมกำหนดให้ คนที่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ ถ้าไม่ถึง 15 ปี จะต้องรับบำเหน็จ หรือ เงินสะสมชราภาพไปทั้งหมด
แต่ถ้าส่งเงินเข้ากองทุนเกิน 15 ปี สำนักงานประกันสังคมจะให้เป็นบำนาญ หรือ ให้ค่าใช้จ่าย 20 % ของเงินเดือนเฉลี่ย 5 ปี ก่อนเกษียน แต่กำหนดเพดานไว้ที่ไม่เกิน 15,000 บาท นั่นหมายความว่า 20% จะได้บำนาญ 3,000 บาทต่อเดือน และถ้าเกิน 15 ปี จะบวกเพิ่มให้ปีละ 1.5% เช่น ถ้าทำ 16 ปี ก็จะได้ 21.5% และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบไม่มีเพดาน
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : ครอบครัวข่าว 3 (29 ก.ย.59)
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ