ต้องระวัง ! "ปวดท้องเมนส์” อันตรายกว่าที่คิด
เรื่องของประจำเดือนจึงเป็นสิ่งที่ผู้หญิงหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งอาการปวดประจำเดือนที่จะมากหรือน้อยก็ต้องหมั่นสังเกตดีๆ ว่าเป็นภาวะทั่วไป หรือผิดปกติหรือไม่
ซึ่ง พญ.จูลี หวัง สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลเวชธานีได้อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า การปวดท้องประจำเดือนมีอยู่ 2 กลุ่มคือ "เป็นโรค" กับ "ไม่เป็นโรค"
[ads]
1. การปวดท้องประจำเดือนแบบไม่เป็นโรค จะปวดท้องรอบเดือนใน1-2วันแรกของรอบเดือนเท่านั้นปวดแบบทนได้ไม่ต้องทานยาแก้ปวด สาเหตุเกิดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกเพื่อไม่ให้รอบเดือนมามากจนทำให้เกิดภาวะตกเลือด
2. การปวดท้องประจำเดือนแบบเป็นโรค จะปวดท้องประจำเดือนมากจนต้องทานยาแก้ปวด สังเกตได้จากการเพิ่มปริมาณของยา เช่น พาราเซตามอล 2 เม็ด เป็น 4 เม็ด หรือเปลี่ยนเป็นยา Ponstanอาการปวดจาก 2-3 วันกลายเป็นตลอดของช่วงรอบเดือน หรือ คนที่มีอาการหนักจะพบว่าปวดตลอดเวลาโดยไม่สัมพันธ์กับรอบเดือน คนไข้กลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากสภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ นอกจากนี้ถ้าพบในอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน รังไข่ ปีกมดลูก จนกลายเป็นผังผืดในท้องก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิด Chocolate Cyst,เนื้องอกในมดลูก และมดลูกโตมีผังผืดในมดลูก
การรักษา
เริ่มต้นจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจภายใน และ Ultrasound ถ้ายังเป็นไม่มาก ไม่มีซิสต์ไม่มีเนื้องอก ผังผืดยังเป็นไม่เยอะ ส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการใช้ยา Hormone เช่น ยาคุมกำเนิด มีตั้งแต่ใช้กิน ฉีด ฝังใส่ห่วง เป็นต้น แต่ถ้าตรวจพบเนื้องอกซิสต์ หรือผังผืดที่เป็นเยอะจนทำให้อวัยวะข้างเคียงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นมีบุตรยาก ลำไส้อุดตัด หรือ ท่อไตอุดตัน จากผังผืด กลุ่มนี้ต้องทำการรักษาแบบการผ่าตัดส่องกล้อง
การดูแลสุขภาพอนามัย
การทำความสะอาดในช่วงมีประจำเดือนต้องดูแลเป็นพิเศษ เช่น
1. การเปลี่ยนผ้าอนามัย สามารถเปลี่ยนได้บ่อยเท่าที่ต้องการ เพราะยิ่งเปลี่ยนบ่อยเท่าไหร่ก็จะยิ่งสบายตัวมากขึ้น
2. การใช้น้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น ก็สามารถทำได้ แต่ควรทำเพียงภายนอกก็พอไม่ต้องสวนล้างเข้าไปจนถึงภายในเพราะไม่อย่างนั้นจะยิ่งเกิดอันตรายได้จากการติดเชื้อหรืออักเสบได้
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ