สนง.ตำรรวจ ลั่นกำหนดวันขีดเส้นตาย รปภ.ต้องขึ้นทะเบียนทุกคน
เชื่อว่าประชาชนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าประเทศเรามีกฎหมายเกี่ยวกับการ รักษาความปลอดภัย ซึ่งจริงๆแล้วเป็นพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 มีเนื้อหาทั้งสิ้น 76 มาตรา แต่โดยส่วนใหญ่คนที่ติดตามเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายหรืออ่านข่าวการเมืองต่างๆจะคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับการเปิดกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยเป็นหลัก แต่ล่าสุดคำสั่ง คสช.ที่ 67/2559 ลงวันที่ 10 พ.ย. 2559 มีการระบุออกมาว่าอาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย และเจ้าของธุรกิจรักษาความปลอดภัยต้องมีการต่อทะเบียนใบอนุญาต โดยกำหนดให้ต่ออายุภายใน 26 ก.พ.นี้ หากมีการผ่าฝืนจะมีโทษทั้งจำคุกและทั้งปรับ ซึ่งในการต่ออายุหรือขอขึ้นทะเบียนนั้นจะมีค่าใช้จ่ายดังนี้
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยฉบับละ 50,000 บาท
ใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตฉบับละ 1,000 บาท
ใบแทนในอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยฉบับละ 3,000 บาท
ใบแทนใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตฉบับละ 100 บาท
การต่อใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียม สำหรับในอนุญาตแต่ละฉบับ
แน่นอนว่าเมื่อข่าวออกมาก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหมาะสมหรือไม่ขูดรีดเกินไปหรือเปล่าเพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ประกอบอาชีพ รปภ.นั้นรายได้ไม่สูงและมีจำนวนมากที่ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนเพราะไม่รู้ข้อกฎหมายนี้ หรือ บริษัทไม่ได้ทำตามกฎหมายนี้ มีไม่กี่แห่งที่มีการขึ้นทะเบียนทั้งบริษัทและพนักงานอย่างถูกต้อง แม้ว่าสาระสำคัญของกฎหมายนี้จะมีออกเมื่อเพื่อป้องกันการแฝงตัวของมิจฉาชีพเข้ามาหาผลประโยชน์จากอาชีพ พนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ ป้องกันกลุ่มอิทธิพลในธุรกิจนี้บังหน้าก็ตาม เพราะใจความหลักๆของ เน้นไปที่การประกอบการที่ต้องผ่านการตรวจสอบ การขอจัดตั้งอย่างถูกต้อง และมีข้อกำหนดต่างๆเช่น
- ผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต้องเป็นบริษัท และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยจากนายทะเบียน
- การให้บริการรักษาความปลอดภัยต้องทําสัญญาเป็นหนังสือระหว่างบริษัทรักษาความปลอดภัยและผู้ว่าจ้าง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ 8 ข้อ
- ให้บริษัทรักษาความปลอดภัยจัดทําบัญชีรายชื่อพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย
- ผู้ใดประสงค์จะทําหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตต้องได้รับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตจากนายทะเบียน
- ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตต้องมีคุณสมบัติ มีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ สําเร็จการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ ได้รับหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย จากสถานฝึกอบรมที่นายทะเบียนกลางรับรองตามวรรคสอง
นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดเกี่ยวลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะมาทำงานในตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัยคือ
เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษหรือเป็นโรคติดต่อที่คณะกรรมการ กําหนด เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นผู้เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกสําหรับความผิดเกี่ยวกับชีวิต และร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หรือความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน หรือความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิด ที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต และมิใช่ความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตมาแล้ว ยังไม่ถึงสองปีนับถึงวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต
ซึ่งทั้งหมดมีระบุไว้ในพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 ซึ่งในความเป็นจริงบ้านเรามี รปภ.ที่ไม่ขึ้นทะเบียนเป็นจำนวนมากและมักมีกรณีเหตุร้ายต่างๆเกิดจาก รปภ.อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นกฎหมายนี้น่าจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเราได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันก็น่าเห็นใจ รปภ.ที่มีรายได้น้อยแต่ต้องมาเสียค่าธรรมเนียมในการประกอบอาชีพเพราะบริษัทรักษาความปลอดภัยเล็กๆที่มีอยูจำนวนมากอาจจะไม่จ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้แม้จะเป็นราคาต่อปีก็ตาม หรืออีกแง่มุมหนึ่งคือทางบริษัทอาจจะมีการจ่ายค่าขึ้นทะเบียนให้แล้วหักภายหลังซึ่งอาจจะมากกว่าตามที่กฎหมายกำหนดและบางแห่งอาจจะมาคิดเพิ่มค่าขึ้นทะเบียนต่างกับลูกค้าโดยบวกเพิ่มในส่วนของค่าบริการต่างๆ สรุปแล้วเหมือนจะมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการรักษาความปลอดภัยอยู่ดีไม่ว่าจะมีกฎหมายมาคัดกรองอาชีพนี้หรือไม่มีก็ตาม
ที่มา sanook
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ