โรคมะเร็ง เป็นโรคที่น่ากลัวที่สุดในเวลานี้ก็ว่าได้ เพราะจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีวิวัฒนาการใดในโลกที่สามารถทำให้โรคมะเร็งหายไปได้ ฉะนั้นโรคมะเร็งจึงเป็นโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้มากที่สุด ซึ่งโรคมะเร็งที่หลายคนกลัวคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งอื่นๆ แต่มองข้ามมะเร็งตับไป ทั้งที่จริงแล้ว ความน่ากลัวที่สุดของมะเร็งอยู่มะเร้งตับ นี่แหละ
โดยจากการสำรวจพบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับเป็นอันดับ 1 ของโรค พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และพบมากเป็นอันดับที่ 3 ของเพศหญิง เฉลี่ยแล้วมากถึงปีละ 14,000 คน สำหรับโอกาศรอดจากมะเร็งตับนั้นมีเพียง 13 % เท่านั้น
เหตุใดคนไทยถึงเสี่ยงเป็นมะเร็งตับเป็นอันดับต้นๆ ของโลก?
เพราะการใช้ชีวิต และอาหารการกินของคนไทยหลายอย่าง ทำให้คนไทยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารดิบๆ สุกๆ หรือปลาน้ำจืดดิบ ที่มีพยาธิใบไม้ในตับ หรือการบริโภคอาหารที่มีเสี่ยงว่าจะมีส่วนประกอบของดินประสิวเป็นประจำ เช่น ปลาร้า ปลาส้ม แหนม ไส้กรอก เนื้อเค็ม กุนเชียง หรือปลาเค็ม เป็นต้น นอกจากนั้น การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำยังทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับได้ด้วยเช่นกัน
ซึ่งมีคนไทยจำนวนหนึ่งที่เสี่ยงเป็นมะเร็งตับจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วไม่ยอมไปรับการรักษาและให้ตับติดเชื้อเรื้อรัง ตับอักเสบเป็นเวลานานๆ จนยากที่จะรักษาได้และทำให้เสียชีวิตไปในที่สุด
การได้รับสารพิษที่มีชื่อว่า “อะฟลาทอกซิน” (อังกฤษ: aflatoxins) เป็นสารเคมีมีพิษและก่อมะเร็งที่ผลิตจากราบางชนิด (Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus) ซึ่งเจริญในดิน พืชพรรณที่ย่อยสลาย ฟางและเมล็ดพืช มักพบในโภคภัณฑ์สำคัญที่เก็บอย่างไม่เหมาะสม เช่น มันสำปะหลัง พริกไทย ข้าวโพด เมล็ดฝ้าย ข้าวเดือย ถั่วลิสง ข้าวฟ่าง เมล็ดดอกทานตะวัน ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว ข้าวสาลี และเครื่องเทศหลายชนิด เมื่ออาหารที่ปนเปื้อนถูกแปรรูป อะฟลาทอกซินจะเข้าสู่แหล่งอาหารทั่วไปซึ่งมีการพบทั้งในอาหารคนและสัตว์ เช่นเดียวกับในอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ทางการเกษตร สัตว์ที่ได้อาหารที่ปนเปื้อนสามารถผ่านผลิตภัณฑ์การแปลงอะฟลาทอกซินสู่ไข่ ผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์ได้
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยย่อยๆ อีกหลายปัจจัยที่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับที่หลายคนอาจไม่ทราบ เช่น การได้รับสารเคมีบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น การรับฮอร์โมนเสริม ยาคุมกำเนิด สารหนู หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และคนอ้วนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ก็เข้าข่ายผู้ที่มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน
ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับได้อย่างไร?
– ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
– รักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ หากพบว่าตัวเองเป็นโรคอะไร ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที
– รับประทานที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปรุงสุก 100% ไม่ผ่านการใส่สารเคมีต่างๆ มากเกินไป
– ทานอาหารให้หลากหลายมากขึ้น ไม่ทานอย่างใดอย่างหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานจนเกินไป
– ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้สดใส ไม่เครียด
– ตรวจสุขภาพทุกปี หรือทุกๆ 6 เดือน
เคล็ดลับวิธีในการดูแลตับ แนะนำให้ปฏิบัติตามช่วงเวลา ดังนี้
– ช่วงเวลากลางคืน 3-5 ทุ่ม เป็นระยะเวลาที่ร่างกายจะกำจัดสารพิษต่างๆ โดยระบบต่อต้านเชื้อโรคในร่างกาย (ระบบหมุนเวียนของน้ำเหลืองในร่างกาย) ดังนั้นเวลานี้ต้องเข้านอน และนอนให้หลับ
– ช่วงเวลากลางคืน 5 ทุ่ม-ตี 1 เป็นเวลาที่จะเกิดกระบวนการกำจัดสารพิษในตับ ซึ่งควรจะต้องอยู่ในช่วงการนอนหลับสนิท ในช่วงเช้าระหว่างเวลาตี 1-ตี 3 นั้น กระบวนการกำจัดสารพิษในน้ำดี ก็ควรจะเป็นช่วงแห่งการนอนหลับสนิทเช่นกัน
– ช่วงเวลาตี 1-ตี 3 การกำจัดสารพิษในปอด เพราะฉะนั้นอาจจะมีอาการไออย่างรุนแรงสำหรับผู้ที่มีปัญหาการไอในช่วงเวลาดังกล่าว ตอนนี้กระบวนการกำจัดสารพิษจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจแล้ว (ไม่จำเป็นที่จะใช้ยา แก้ไอเพื่อที่จะได้ไม่ไปขัดขวางขั้นตอนการกำจัดสารพิษในร่างกาย)
– ช่วงเช้า ตี 5-7 โมงเช้า จะเป็นช่วงที่ร่างกายกำจัดสารพิษในปลายลำไส้ใหญ่ ดังนั้น เราจึงควรขับถ่ายในช่วงเวลาดังกล่าวนี้
– ช่วงเช้า 7-9 โมงเช้า เป็นเวลาที่สารอาหารจะถูกดูดซึมสู่ลำไส้เล็กได้ดี ดังนั้น เราจึงควรทานอาหารเช้าในช่วงนี้
ถึงแม้ว่าความน่ากลัวของโรคมะเร็งจะมีมากเท่าไหร่แต่ความจริงแล้ว หากเรารู้จักดูแลสุขภาพ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพประจำปี หรือเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แน่นอนว่าอัตตราเสี่ยงของโรคมะเร็งจะลดลงทันที
ข้อมูลจาก : http://kaijeaw.com
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ