สิทธิ “การลา” ตามกฎหมายแรงงานประเทศไทย

Advertisement เปิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จากกระทรวงแรงงาน สิทธิที่ลูกจ้างควรรู้ ลาป่วย ลากิจ ลาหยุด พักร้อน Advertisement ลาป่วย ลูกจ้าง ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์หรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ วันที่ลูกจ้างไม่อาจทำงานได้เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งเกิดจาก การทำงาน ส่วนวันลาเพื่อคลอดบุตรไม่ถือเป็นวันลาป่วย การลาป่วยลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี ซึ่งการลาป่วยตั้งแต่วันที่ 31 เป็นต้นไปลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ลาคลอด พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 41 ประกอบมาตรา 59 กำหนดให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์สามารถลาคลอดบุตรได้ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วันโดยให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลา สิทธิการลาคลอดนี้พนักงานสามารถที่จะลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร การคลอดบุตรและพักฟื้นหลังคลอดบุตร โดยพนักงานจะได้รับค่าจ้างจากองค์กรไม่เกิน 45 วัน ลาเพื่อทำหมัน ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิ์ลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกใบรับรองให้โดยลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันลานั้นด้วย ลากิจ ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 34 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็น […]

สิทธิของพนักงานเมื่อถูกเลิกจ้าง จะได้รับค่าชดเชยอะไรบ้าง

สิทธิของพนักงานเมื่อถูกเลิกจ้าง เช็กสิทธิต่างๆ ที่ต้องได้รับ ทั้งจากบริษัทตามกฏหมายแรงงาน สิทธิประกันสังคม รวมไปถึงเงินตนเองที่สะสมอยู่ในกองทุนต่างๆ ประกัน และสินทรัพย์อื่นๆ หากผิดเงื่อนไขผลกระทบที่จะได้รับ และทางเลือก 1. ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เมื่อบริษัทเลิกจ้างพนักงานที่ไม่ได้กระทำความผิดร้ายแรง บริษัทต้องจ่ายเงินก้อน เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างของพนักงาน 1 – 13.3 เดือนก่อนถูกเลิกจ้าง ขึ้นอยู่กับอายุงานที่ได้ทำงานมากับบริษัท หรือที่เรียกว่า “ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน” ดังนี้ อายุงาน 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน อายุงาน 1 ปี แต่ยังไม่ครบ 3 ปี  รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน อายุงาน 3 ปี แต่ยังไม่ครบ 6 ปี  รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน อายุงาน 6 ปี แต่ยังไม่ครบ 10 ปี […]

บอร์ดประกันสังคมเพิ่มสิทธิผู้ประกันตนป่วย “มะเร็ง” รักษาที่ รพ.ไหนก็ได้ในเครือข่าย

พล.ต.ท.นพ.ธนา ธุระเจน ประธานคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคม ได้กล่าวภายหลังประชุมบอร์ดแพทย์กองทุนประกันสังคม เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ว่า ได้พิจารณาและมติเห็นชอบให้ปรับประกาศคณะกรรมการการแพทย์ เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้ประกันตนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งสามารถเข้ารับบริการยังสถานพยาบาลที่ไหนก็ได้ ทั้งสถานพยาบาลรัฐและเอกชนที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม ที่มีศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด   โรคมะเร็งทุกชนิดเป็นโรคที่อยู่ในความคุ้มครองของสิทธิประกันสังคม สถานพยาบาลตามสิทธิที่ผู้ประกันตนเลือกจะต้องให้การดูแลผู้ประกันตนตั้งแต่ตรวจวินิจฉัยจนสิ้นสุดการรักษา กรณีเกินศักยภาพสถานพยาบาลตามสิทธิจะต้องส่งตัวผู้ประกันตนไปรักษายังสถานพยาบาลระดับสูง สำหรับการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในวันนี้นั้ จะเป็นการช่วยให้ผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้เข้าถึงการรักษาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ประกันตนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งสามารถเข้ารับบริการตามสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนมีความประสงค์จะไปรักษา โดยสำนักงานประกันสังคมจะทำการคัดเลือกสถานพยาบาลที่มีศักยภาพทั้งด้านการให้เคมีบำบัด หรือรังสีรักษา เป็นต้น เพื่อรองรับการดูแลผู้ประกันตนให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง   สำนักงานประกันสังคมได้เตรียมระบบ application ซึ่งให้บริการครบวงจรในการติดตามการรักษาและส่งต่อข้อมูล ผู้ประกันตนสามารถเข้าไปดูรายชื่อสถานพยาบาลและมีช่องทางในการสื่อสาร ส่งต่อข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลตามสิทธิกับสถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนประสงค์จะไปรักษา เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์ พร้อมกันนี้จะมีการกำกับติดตาม ประเมินผลการเข้าถึงบริการ และรายงานผลต่อคณะกรรมการการแพทย์   ตามมติคณะกรรมการการแพทย์ ที่เห็นชอบเพิ่มช่องทางให้ผู้ประกันตนเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากนี้ จะเร่งดำเนินการเตรียมเสนอวาระต่อคณะกรรมการประกันสังคมในเดือนถัดไป เพื่อให้คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบ และเตรียมออกประกาศมอบสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตน ทั้งนี้ หากดำเนินการออกประกาศแล้วเสร็จ สำนักงานประกันสังคมจะทำการประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งแนวทางการเข้ารับบริการและรายชื่อสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการให้ผู้ประกันตนทราบผ่านทาง www.sso.go.th พล.ต.ท.นพ.ธนา กล่าว ข่าวจาก ch3plus

กฎหมาย วันแรงงาน ทำงานได้ค่าแรงเท่าไหร่ โอทีได้กี่เท่า เลื่อนหยุดวันอื่นได้หรือไม่

ลูกจ้างต้องได้หยุดทุกคนไม่มีข้อยกเว้น ทั้งรายวัน รายเดือน ถ้านายจ้างให้ทำงานต้องได้ค่าแรงเพิ่ม 1 เท่า จะเลื่อนไปหยุดวันอื่นก็ไม่ได้ วันแรงงาน หากไม่มาทำงานนายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้าง โดยอ้างว่าเป็นวันหยุดได้หรือไม่ หากไม่มาทำงานนายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นรายวัน หรือรายเดือน แรงงานไทย แรงงานต่างด้าว จะอ้างว่าเป็นวันแรงงานซึ่งเป็นวันหยุดไม่ได้ เพราะกฎหมายมาตรา 29 กำหนดว่า “ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด” ซึ่งรัฐมนตรีประกาศให้วันแรงงานคือวันที่ 1 พฤษภาคม นั่นหมายความว่ากฎหมายบังคับให้ต้องจัดให้วันแรงงานเป็นวันหยุดตามประเพณี ไม่จัดไม่ได้ หากไม่จัดให้หยุดมาตรา 146 กำหนดให้นายจ้างผู้ซึ่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 ต้องระวางโทษทางอาญา ซึ่งลูกจ้างสามารถร้องต่อแรงงานโดยไม่เปิดเผยชื่อนามสกุลของผู้ร้องได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ มีปัญหาว่าหากนายจ้างจัดให้หยุดแล้ว นายจ้างจะอ้างว่าเมื่อไม่มาทำงานก็ไม่จ่ายค่าจ้างหรือ no work no pay ได้หรือไม่ คำตอบ คือไม่ได้ ต้องจ่ายค่าจ้างเพราะมาตรา 56 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างทั้งรายวันและรายเดือนใน “วันแรงงาน” ซึ่งเป็นวันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี (ลาพักร้อน) หากนายจ้างให้มาทำงานใน วันแรงงาน ต้องได้ค่าแรงเท่าไหร่ […]

โรงเรียนนายร้อยตำรวจหญิง อยากเข้าต้องทำยังไงบ้าง

อาชีพตำรวจถือเป็นอาชีพในฝันของทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทำให้ในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจหญิง เพื่อให้สาวไทยได้ทำตามความฝันและมุ่งหน้าสู่เส้นทางชีวิตข้าราชการอย่างเต็มรูปแบบ วันนี้ไทยเกอร์เลยอยากถือโอกาส พาทุกท่านไปทำความความรู้จัก โรงเรียนนายร้อยตำรวจหญิง ว่าถ้าอยากเข้าต้องมีคุณสมบัติและเตรียมความพร้อมยังไงบ้าง ใครอยากสวมยูนิฟอร์มตำรวจเท่ ๆ ไปดูพร้อมกันได้เลย คุณสมบัติ ผู้สอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจหญิง 1. ข้าราชการเดิม ต้องเป็นตำรวจหญิง อายุไม่เกิน 25 ปี (รับราชการมาแล้ว 1 ปี) 2. บุคคลนอก หญิงโสด อายุ 16-21 ปี สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลาย หรือเทียบเท่า (ม.6) สูงมากกว่า 160 ซม. สายตาสั้นไม่เกิน 50-100 มีสัญชาติไทย ทั้งตนเองและบิดามารดา การเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจหญิง สำหรับการสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจหญิง จะมีการสอบทั้งหมด 2 รอบ ดังต่อไปนี้ 1. การสอบรอบแรก : ข้อเขียน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 2. การสอบรอบสอง : ด้านร่างกาย […]

พนักงานลากิจ-ลากะทันหัน ต้องแจ้งสาเหตุไหม ฟังมุมมองจาก HR

มนุษย์เงินเดือนยื่นลากิจ ลากะทันหัน จำเป็นต้องแจ้งเหตุผลไหม แบบไหนถึงไม่ถูกอนุมัติ? ลองมาดูกันว่า HR ระดับสากลมีระเบียบและแนวทางที่ใช้ในการลาภายในองค์กรอย่างไร เคสพนักงานขอลากิจ หรือลากะทันหัน โดยแจ้งเหตุจำเป็นต่าง ๆ เป็นเคสคลาสสิกและกลายเป็นข้อถกเถียงสำหรับแวดวง HR ในไทยบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อเกิดข่าวใหญ่ในปี 2566 การลากิจ ลากะทันหัน จากพนักงาน กับแนวทางปฏิบัติจากทั้งหัวหน้างาน และ HR ควรออกมาในรูปแบบการหาทางออกร่วมกัน โดยคำนึงถึงเรื่องการสื่อสาร ความเห็นอกเห็นใจกัน และเข้าใจกัน เชื่อว่ามนุษย์ทำงานทุกคนเคยมีประสบการณ์เรื่องการลางาน อาจจะเคยขอลาแล้วไม่ได้รับอนุมัติ หลายคนเคยลากิจแล้วโดนซักถามเหตุผลการลาจนรู้สึกอึดอัด ในขณะที่บางคนเคยเจอเพื่อนร่วมงานลากิจแบบฉุกเฉินเร่งด่วนจนเราอดสงสัยไม่ได้ว่า แบบนี้ก็ได้ด้วยหรือ? ไม่ว่าคุณจะมีประสบการณ์การลางานแบบไหน จะเป็นหัวหน้าหรือลูกน้อง เป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง The People at Work คอลัมน์ว่าด้วยเรื่องราวของมนุษย์ในที่ทำงานรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน มนุษย์ออฟฟิศ หรือจะเป็นฟรีแลนซ์ ในครั้งนี้เราได้รับเกียรติจากคุณลิขิต สมบูรณ์ HR Director ชาวไทยที่มีโอกาสร่วมงานกับบริษัทข้ามชาติในต่างแดนยาวนานกว่า 10 ปี มานั่งจับเข่าคุยประสบการณ์งาน HR ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ว่าด้วยเรื่องการลางานของพนักงาน การลากิจตามหลักสากลต้องเป็นอย่างไร […]

ผู้ประกันตน ม.33 39 40 ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กรมสรรพกรเปิดให้ผู้มีรายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทางเอกสาร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 มีนาคม 2567 และทางออนไลน์ สามารถยื่นได้ถึง 9 เมษายน 2567 นั้น ซึ่งผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน สามารถนำเงินสมทบมาคำนวณลดหย่อนภาษีได้ รายละเอียดมีดังนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 5,184 บาท ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 3,600 บาท โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ […]

การไฟฟ้านครหลวง MEA เผย 8 วิธีช่วยประหยัดไฟในช่วง “หน้าร้อน”

การไฟฟ้านครหลวง MEA แนะนำ การประหยัดไฟในช่วงหน้าร้อน มี 8 วิธีดังนี้ 1. เลือกสวมเสื้อผ้าที่ใช้เนื้อผ้าเป็นมิตรกับหน้าร้อน เช่น ผ้าลินิน ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ เบาบางระบายอากาศง่าย 2. เน้นใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน เพราะเสื้อผ้าสีดำ หรือสีเข้ม มักจะดูดซับแสง ดูดซับความร้อน ยิ่งใส่ยิ่งร้อน 3. ใส่เสื้อผ้าทรงสบาย ๆ ให้อากาศถ่ายเทได้ 4. เปิดพัดลมส่ายไปมา ช่วยระบายความร้อน และ เสริมความเย็นจากเครื่องปรับอากาศ 5. เปิดประตูหน้าต่างระบายความร้อนก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักมากเกินไป. 6. ปิดม่านบังแดดในจุดที่แสงแดดส่องถึงภายในห้อง ช่วยลดอุณหภูมิห้องได้ 7. เลี่ยงอาหารรสจัด อาหารทอด ป้องกันอาการร้อนใน และท้องร่วง 8. ลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อม ๆ กัน เพราะนอกจากจะกินไฟแล้ว ยังเพิ่มความร้อนภายในห้องอีกด้วย สำหรับฤดูร้อนของประเทศไทยปี 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า จะเริ่มประมาณต้นสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งจะช้ากว่าปกติประมาณ1 […]

สินสมรส คืออะไร เงินเดือนเป็นสินสมรสหรือไม่ ต้องแบ่งครึ่งจริงหรือ

การแต่งงานและจดทะเบียนสมรสถือเป็นการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันอย่างเป็นทางการ ซึ่งต่อจากนี้สามีและภรรยาจะเป็นเสมือนหุ้นส่วนของชีวิตกันและกันในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ การกิน การตัดสินใจต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ของทั้งคู่ อย่างที่รู้กันว่าการจดทะเบียนสมรส ทำให้ทรัพย์สินหลายอย่างที่ได้มาระหว่างการสมรสนั้นถือเป็น “สินสมรส” ซึ่งอีกฝ่ายจะมีสิทธิ์ด้วยครึ่งหนึ่ง แล้วอย่างนี้ เงินเดือนที่ได้มาจากการทำงานของแต่ละคน ถือเป็นสินสมรสไหม ต้องแบ่งให้คู่สมรสด้วยหรือเปล่า วันนี้กระปุกดอทคอมจะชวนมาหาคำตอบกันว่า สินสมรส คืออะไร ? สินสมรส คืออะไร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 (1) วางหลักไว้ว่า หลังจากคู่รักแต่งงานจดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินจะแบ่งออกเป็น 1. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรส นอกจากที่เป็นสินส่วนตัวแล้ว ถ้าคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายใดได้ทรัพย์สินมาก็ถือว่าเป็นสินสมรสทั้งสิ้น เช่น เงินเดือน โบนัส เงินรางวัลจากลอตเตอรี่ เป็นต้น โดยสามีภรรยาเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน มีส่วนแบ่งกันคนละครึ่ง 2. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินของใครของมัน เช่น บ้าน ที่ดิน เงิน ทอง ถ้ามีอยู่ก่อนสมรส […]

“ทนายแก้ว” กางหลักกฎหมาย “การครอบครองปรปักษ์” ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ

จากกรณีข่าวดัง บ้านที่อากู๋จะยกให้เป็นของขวัญแต่งงานกับคู่รักรายหนึ่ง ถูกบ้านข้างกันบุกรุก ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงาน มีการต่อเติมจนสภาพผิดไปจากเดิม โดยทางผู้บุกรุกอ้างว่าอยากจะซื้อบ้านหลังนี้มานานมากแล้ว แต่ไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของบ้าน และเคสดังกล่าวเคยไปออกรายการโหนกระแสมาแล้ว ล่าสุดดูเหมือนว่าเรื่องราวดังกล่าวจะไม่จบ เมื่อพบว่ามีการบุกรุกและเข้ายึดบ้านอีกรอบ พร้อมเปิดเป็นร้านขายอาหารอีกด้วย เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวทางด้านทนายความชื่อดังอย่าง “ทนายแก้ว ดร.มนต์ชัย จงไกรรัตนกุล” ก็ได้ออกมาโพสต์ กางหลักกฎหมาย “การครอบครองปรปักษ์” ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ โดยระบุว่า จากที่เป็นข่าว การจะอ้างว่าครอบครองปรปักษ์นั้น? บอกเลยว่าไม่ใช่จะได้มาง่ายๆนะจ๊ะ ตามที่เป็นข่าวว่า.. . ข้างบ้านอ้างการครอบครองปรปักษ์ แล้วเข้ายึดเปิดเป็นร้านอาหาร ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ ทนายแก้วขอ ให้หลักของการครอบครองปรปักษ์ ม.1382 ปพพ. วางหลักว่า 1.มีการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เน้นว่าต้องมีการใช้ ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เช่นเข้าไปสร้างบ้าน,ปลูกต้นไม้ เป็นต้น หากจะนับจุดเริ่มต้นของการครอบครองโดยถือเพียงว่า การเอาของต่างๆไปวางในที่ดินหรือบ้านดังกล่าว ก็เริ่มครอบครองเลยแบบนี้ไม่ได้ เพราะไม่ได้มีการเข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ยึดถือเพื่อตน จร้า 2.สงบเปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อมาเกิน 10 ปี เน้นว่าการครอบครองต้องต่อเนื่อง และไม่หลบๆซ่อนๆ ตามฎีกา1919/2564 แต่ปีที่แล้วเจ้าของตัวจริงเขามา แล้วมีการล็อคกุญแจบ้านไว้นะ แล้วการที่ใครก็ตามมางัดหรือแอบเข้าไป ถือเป็นความผิดอาญา […]

1 2 3 4 704
error: