ครูทั่วประเทศมีเฮ! สกสค. ทุ่ม1,000ล้านบาท แก้ไขหนี้สินครู หลังพบเป็นหนี้เพียบ ทั้งในและนอกระบบ!

Advertisement   Advertisement วันที่ 9 กรกฎาคม 2560 ที่ห้องทิวลิปโรงแรมนิภาการ์เด้น จ.สุราษฎร์ธานี นายพิษณุ ตุลสุข รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฎิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการ สกสค.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิการภาพครูและบุคลาการทางการศึกษา ได้กล่าวขณะเดินทางมาติดตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการสร้างวินัยทางการเงินให้ครูในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีว่า โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูนั้นเริ่มต้นกับธนาคารออมสินและธนาคาร ธกส. มานานแล้วความเคลื่อนไหวและการพัฒนาการมันมาเริ่มแปรเปลี่ยนในช่วงท้าย แทนที่จะสนับสนุนให้สมาชิกในกลุ่มของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตครูที่จะร่วมกันยึดมั่นในสัจจะและร่วมกันแก้ไขปัญหาหนี้สินร่วมกันและช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกลายเป็นว่ามาตอนหลัง  สกสค. ได้ดำเนินนโยบายที่ต้องเรียกว่าผิดพลาดโดยเน้นไปที่จะการปล่อยให้ครูกู้  ประกอบกับครูทุกคนที่มีหนี้สินอยู่ก็มากู้เพิ่มโดยเฉพาะยอดเงินที่กู้ได้สูงสุดถึง 3,000,000 บาท  ได้สร้างปัญหาให้กับครูเหล่านี้มาก  มีหลายคนในกลุ่มที่กู้ไปแล้วไม่มีกำลังที่จะสามารถชำระหนี้ได้ท้ายที่สุดแล้ว  ทำให้มีหนี้ที่ค้างชำระในระบบกับธนาคารออมสินนานเกิน 3 เดือนขึ้นไปมีจำนวนมาก 80,000 กว่าคน       เพราะฉะนั้นปัญหาเหล่านี้จะต้องถูกแก้ไขอย่างครบวงจร ทาง สกสค. จะต้องแก้ไขหนี้สินปัญหาครูโดยคำนึงถึงองค์ประกอบที่แท้จริงที่ครูกำลังเผชิญอยู่ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นรายได้รายเดือน รายจ่ายรายเดือน และความสามารถในการชำระเงิน  ทาง สกสค.จึงเติมเต็มด้วยการนำครูเข้าสู่โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อเป็นการแก้ไขหนี้ให้สินครูทั้งระบบโดยนำวินัยทางการเงินเข้าไปด้วย เพิ่มช่องทางที่จะมีรายได้เสริมที่ไม่รบกวนกับเวลาราชการ และ สกสค. ก็จะหาแหล่งเงินทุนเพื่อมารีไฟแนนซ์ หนี้สินครูทั้งหมดที่อยู่ในระบบและนอกระบบให้มาเป็นหนี้ที่ สกสค.เพียงแห่งเดียวโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ซึ่งในปัจจุบันต้องเสียดอกเบี้ยต่อธนาคารร้อยละ 6 หรือ 7 หรือบางคนที่ผิดนัดชำระดอกเบี้ยก็จะเสียมากกว่านี้ ทาง สกสค.จะต้องเน้นในเชิงคุณภาพของครูผู้ที่จะได้รับการแก้ไขปัญหาจะต้องเป็นครูที่ดีมีความตั้งอกตั้งใจในการทำงานเพียงแต่หนี้สินที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากอุบัติเหตุเกิด จากการเจ็บป่วย หรือ เกิดจากการดูแล บิดา-มารดา […]

เปิด10อันดับมหาวิทยาลัยที่”สอบติดครูผู้ช่วยมากที่สุด”

  "ม.ล.ปริยดา" เผยข้อมูล 10 อันดับสูงสุดของสถาบันการศึกษาที่มีผู้เรียนสอบติดครูผู้ช่วย และได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2560 ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยข้อมูล 10 อันดับสูงสุดของสถาบันการศึกษาที่ผลิตครู ที่มีจำนวนผู้สอบผ่านเกณฑ์และขึ้นบัญชีในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2560 และ 10 อันดับสูงสุดที่มีนักศึกษาได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2560 (กรณีคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 ในปีการศึกษา 2559)  ทั้งนี้ ข้อมูลจากการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2560 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า 10 อันดับสูงสุดของสถาบันการศึกษาที่ผลิตครู ที่มีนักศึกษาสอบผ่านเกณฑ์และขึ้นบัญชีในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู คือ จบจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มากที่สุด จำนวน 1,320 คน รองลงมา คือมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 1,247 คน และมหาวิทยาลัยทักษิณ 1,189 คน ตามลำดับ     นอกจากนี้ จากข้อมูลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วม โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น […]

กศจ.กรุงเทพ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย641อัตรา 20ก.ค.60

  สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร เรียกบรรจุและแต่งตั้งฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย บัญชี กศจ.กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2559 และ ปี พ.ศ.2560 กำหนดการรายงานตัว : ให้รายงานตัว ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ถนนศรีอยุธยา ซอย 5 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 เวลา 9.00 น.     คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดไฟล์เอกสารเพิ่มเติม

เรื่องนี้ รมว.ศึกษาฯต้องรู้! นักศึกษาครูโวย สอบติดครูคืนถิ่นแต่ถูกตัดสิทธิ์ไม่มีตั๋วครู เตรียมฟ้องศาลปกครองเพื่อขอความเป็นธรรม!

  นักศึกษาครูโวยสอบผ่านครูคืนถิ่น แต่ถูกตัดสิทธิ์ ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  ร้องรมว.ศธ. เลขาธิการ กกอ. คุรุสภา ขอความเป็นธรรม เล็งฟ้องศาลปกครอง ด้วย ขณะที่"หมอธี"รับเรื่องส่งให้หน่วงงานเกี่ยวข้องดูแล 3 ก.ค.60 ที่ห้องรอยัลจูบิลี่ บอลรูม ชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี  นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวปาฐกถาเรื่อง "ครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นปีการศึกษา 2560 กรณีคัดเลือกนิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่5 ปีการศึกษา 2559   ว่า โครงการผลิตครูฯ มีอัตรารองรับ 5,100 อัตรา ขณะที่มีนิสิต นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกและมารายงานตัว จำนวน 3,554 คน ซึ่งยอมรับว่า จำนวนผู้สอบผ่านค่อนข้างน้อย เนื่องจากหลักเกณฑ์การคัดเลือกมีความเข้มข้นมาก เพราะต้องการคัดคนเก่งมาเป็นครู และเท่าที่ดูผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกได้กระจายไปทุกพื้นที่ ทั้งนี้มีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวนหนึ่งได้ร้องเรียนมายังตน ว่า สอบผ่านการคัดเลือกแล้ว แต่อาจจะถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งตนรับเรื่องไว้ และจะส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาต่อไป ดร.สุภัทร จำปาทอง […]

รักษาการอธิการฯ ลั่นบัณฑิต ม.วลัยลักษณ์ต้องพูดภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า1,800ประโยค!!

  นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวในการปฐมนิเทศกับนักศึกษาใหม่ ประดู่ช่อที่ 20 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน -2 กรกฎาคม ว่า ขอต้อนรับนักศึกษาใหม่ทุกคนด้วยความรักความยินดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีนโยบายที่จะให้นักศึกษาทุกคนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ด้วยปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ว่า “เราจะผลิตบัณฑิตให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง” เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อส่วนรวม มีความกตัญญูต่อบุพการี ครูบาอาจารย์ และแผ่นดิน มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีมีทักษะด้านภาษาอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วจะต้องพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ต่ำกว่า 1,800 ประโยค ซึ่งมหาวิทยาลัยมีอาจารย์ชาวต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษให้นักศึกษาโดยตรง จะทำให้การเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องสนุกสนานไม่น่าเบื่ออีกต่อไป ทั้งยังมีนโยบายที่จะก้าวไปเป็น Smart University คือมีรูปแบบการเรียน การสอนที่ไม่ใช้กระดาษ เพื่อให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 มีศักยภาพสามารถแข่งขันได้ทั่วโลก “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ประกาศเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยสมบูรณ์แบบชั้นนำของประเทศ โดยจะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยแนวหน้าของประเทศไทยในอนาคต เพื่อให้นักศึกษาทุกท่านภูมิใจ ที่ได้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ และเพื่อให้นักศึกษามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขตลอดระยะเวลาที่ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่นี่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงมีนโยบายในการปรับปรุงอาคารเรียนให้มีความสวยงาม ทันสมัยระดับสากล มีห้องปฏิบัติการ พร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ในการเรียนรู้ที่ทันสมัย นักศึกษาจึงมั่นใจได้ว่าจะได้เรียนรู้และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของนักศึกษาและทุกชีวิตในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอย่างมาก จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัย มีระบบกล้องวงจรปิด […]

เปิดหน้าแฉ! ผอ.รร.ดังลำปางเก็บเงินรายได้ต่างๆ เข้ากระเป๋าทุกเม็ดแบบไม่ผ่านระบบ”42ล้าน”จนได้บ้านหรู3หลังในเวลาไล่ๆกัน! ยัดหนี้ให้ลูกน้องยันคนขับรถ-คนสวน!(มีคลิป)

  อดีตเลขาฯ ส่วนตัว ผอ.ร.ร.ดังลำปางเปิดหน้าแฉชัด หลังกำลังกลายเป็นแพะต้องรับหน้าเป็นหนี้แทน ผอ.ยอดกว่า 10 ล้านบาท เผยที่ผ่านมา 4 ปีเงินรายได้ต่างๆ เข้ากระเป๋า “ผู้อำนวยการ” แบบไม่ผ่านระบบกว่า 42 ล้านบาท-สร้างบ้านหรู 3 หลังรวด ล่าสุด สพฐ.รับเรื่องตั้งกรรมการสอบแล้ว นางสุรณี กัลยารัตนกุล หรือครูต้อย อดีตครูเกษียณราชการ และอดีตเลขานุการส่วนตัวของ ผอ.โรงเรียนดังในลำปาง พร้อมด้วยเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นครู-อดีตครูที่ชิงลาออกก่อน ได้หอบเอกสารที่เกี่ยวข้องมาร้องขอความช่วยเหลือต่อสื่อมวลชน เพื่อให้ติดตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโรงเรียนดังกล่าว         หลังเข้าร้องเรียนที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดลำปาง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 ไปแล้ว แต่เรื่องยังไม่คืบหน้า ประกอบกับ ผอ.คนดังกล่าวกำลังจะเกษียณอายุราชการในอีกไม่กี่เดือนที่จะถึงนี้ ขณะที่ “ครูต้อย” กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักที่ต้องรับหน้าเป็นหนี้แทน ผอ.โรงเรียน ที่ไหว้วานให้ไปกู้ยืมเงินมาใช้กว่า 10 ล้านบาท สุดท้าย ผอ.เบี้ยวหน้าตาเฉย อ้างไม่เคยเซ็นเอกสารใดๆ ในการกู้ยืมเงิน         ครูต้อยเปิดเผยว่า เดิมตนเป็นครูที่โรงเรียนดังแห่งหนึ่งในตัวเมืองลำปาง หลังเกษียณก็ออกมาอยู่บ้าน แต่เมื่อปี […]

รมว.ศึกษาฯย้ำไม่มีนโยบายรับฝากเด็ก ฝากถาม ป.ป.ช.ให้ ผอ.ร.ร.แสดงบัญชีทรัพย์สินได้หรือไม่?

  จากกรณีผู้ปกครองนักเรียนเผยแพร่คลิปกล่าวหาผู้อำนวยการโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยรับเงิน 4 แสนบาท เพื่อแลกกับการให้ลูกเข้าเรียนชั้น ม.1 นำมาสู่นักวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรียกร้องให้มีการแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สินของผู้อำนวยการโรงเรียน ขณะที่อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตรวจสอบทรัพย์สินของผู้อำนวยการโรงเรียนทั่วประเทศเพื่อแก้ปัญหาการเรียกรับเงินเพื่อแลกกับการให้เด็กเข้าเรียน ขณะที่ภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งชาติ (ภตช.) ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกร้องให้ตรวจสอบเอาผิดผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษ ปีการศึกษา 2560 และยกเลิกการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษนั้น เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตนมีนโยบายชัดเจนในเรื่องการรับเด็กเข้าเรียนและตนก็ทำเป็นตัวอย่างว่าไม่มีการฝากเด็กแน่นอน ส่วนกรณีที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัยนั้น ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เร่งดำเนินการตรวจสอบ และจะไม่ปล่อยให้คนทุจริตมาทำลายระบบ ทั้งนี้ หากต้องการปรับระบบการรับนักเรียนให้มีความยุติธรรมมากขึ้น ก็ขอให้รวบรวมความคิดเห็นต่างๆ มาเสนอต่อนายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ส่วนที่จะให้ผู้อำนวยการโรงเรียนยื่นบัญชีทรัพย์สินนั้น เป็นเรื่องใหญ่ เห็นว่าต้องใช้เกณฑ์ของประเทศ คงต้องไปถามคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร ข่าวจาก : มติชนออนไลน์ 

ก กลางท้องถิ่น ลงมติแล้ว!!! “ยกเลิก” หลักเกณฑ์การบรรจุพนักงานจ้างเป็นครู โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน!!!

  วานนี้ (22 มิถุนายน 2560) ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบล (ก.อบต.) ได้มีการประชุมที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมีนายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่ประธานฯ โดยมีประเด็นการยกเลิกหลักเกณฑ์การบรรจุครูผู้ดูแลเด็กเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน ดังนี้ เรื่องการยกเลิก "มาตรฐานทั่วไปกรณีกำหนดให้คัดเลือกพนักงานจ้างตามภารกิจ (ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก) เป็นครูผู้ดูแลเด็กและครูผู้ช่วย โดยไม่ต้องสอบแข่งขัน"  เรื่องนี้สาเหตุที่ยกเลิก เพราะ คำสั่งที่ 8/2560 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 ให้แก้ไขความไม่เป็นธรรมต่อระบบการบริหารงานบุคคล ที่ผ่านมากับระบบการคัดเลือกครู ผดด. มีระบบอุปถัมภ์ เรียกรับผลประโยชน์ ร้องเรียนความไม่เป็นธรรมต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน สตง.ทักท้วง ปปช.ชี้มูลความผิด นายก ปลัดเรียกรับเงินบ้าง  ประกอบกับปัจจุบัน อปท.ได้ร้องขอให้ กสถ.ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลให้ดำรงรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และครูผู้ช่วย จำนวน 1,932 อัตรา ฉะนั้น ใครต้องการบรรจุเป็นข้าราชการครู ผดด. ต้องผ่านการสอบแข่งขันมาบรรจุเท่านั้น เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : ปลัดทรงศักดิ์ โอษะคลัง ผู้แทน ก.อบต. (เฟซบุ๊ก ทรงศักดิ์ […]

สกสค.เตรียมหารือ “ธ.ออมสิน” ทำสัญญาใหม่แก้หนี้สินครูทั้งระบบ

  ดร.พิษณุ ตุลสุข รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) เปิดเผยว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ ศธ.โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ และตน ได้หารือร่วมกับนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เพื่อร่วมกันหาทางออกในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยเบื้องต้นมีข้อตกลงว่า จะยกเลิกหลักเกณฑ์เก่าทั้งหมดแล้วทำหลักเกณฑ์ใหม่ เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครูอย่างเป็นระบบ เพราะที่ผ่านมา สกสค.ได้ทำโครงการร่วมกับธนาคารออมสิน รวมถึง 6 โครงการ หรือ 6 สัญญา ตั้งแต่โครงการสวัสดิการเงินกู้ฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา(ชพค.) 2 จนถึงโครงการ ชพค.7 จึงต้องการให้รวมโครงการทั้งหมดมาโครงการเดียว ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำนักงาน สกสค.กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้คณะทำงานกำลังอยู่ระหว่างยกร่างหนังสือสัญญาใหม่ เพื่อที่นำไปเจรจากับธนาคารออมสิน ซึ่งต้องมาดูว่าประเด็นไหนที่ธนาคารออมสินและ สกสค.รับและตกลงกันได้ ก็จะตกลง แต่หากประเด็นไหนยังตกลงไม่ได้ ก็ต้องหารือเพื่อให้ได้ข้อยุติและทางออกร่วมกัน โดยจะพยายามรักษาผลประโยชน์ของครูให้ถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม คงต้องมีคนกลางมารับฟังด้วย ซึ่งตนจะประสานให้ พล.ท.โกศล ปทุมชาติ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ มาเป็นประธาน "ที่ผ่านมาจะมีหนังสือสัญญาและหนังสือยินยอมที่ เลขาธิการ สำนักงาน สกสค.ในอดีตทำไว้ ก็ต้องมาเจรจากันใหม่ เพราะหลักการเดิมคุยกันไว้ว่า เงินส่วนต่างที่ธนาคารออมสินให้มานั้น จะเป็นเงินสนับสนุนกิจการของสำนักงาน สกสค.เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิก แต่ธนาคารออมสิน […]

รมต.ศึกษาฯ สยบข่าวลือเรื่องความแตกแยกภายในกระทรวง แย้มปี’61ปรับข้อสอบครูผู้ช่วยให้เหมือนข้อสอบ ก.พ.

  "หมอธี" กลบกระแสข่าวลือเกิดการแตกแยกในศธ. "ศธภ.-ศธจ." ไม่เกิดประโยชน์ต่อการปฏิรูปการศึกษา ย้ำทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมสร้างสิ่งใหม่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ได้ พร้อมออกแบบตัวชี้วัดคุณภาพและเกณฑ์การประเมินตนเอง เชื่อเป็นตัวช่วยที่ทำให้สถานศึกษารู้สมรรถนะจุดอ่อนจุดแข็ง วอนโรงเรียนอย่าเชื่อว่ามีการรับจ้างประเมิน ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ – สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้จัดโครงการประชุมพัฒนาผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวมอบนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในส่วนภูมิภาคตอนหนึ่ง ว่า การปฏิรูปการศึกษาในระดับภูมิภาคด้วยการให้มี ศธภ.และ ศธจ.นั้น ตนยอมรับว่าส่วนตัวมีความกังวล เนื่องจากมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าเกิดความแตกแยกกันเองใน ศธ. ระหว่างสำนักงานปลัด.ศธ. กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อีกทั้งการมี ศธภ.และ ศธจ.อาจไม่เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา แต่เมื่อเดินหน้าเรื่องดังกล่าวมาถึงจุดนี้แล้ว ตนเชื่อว่า ศธภ.และ ศธจ.จะร่วมบูรณาการการทำงานกับทุกฝ่ายได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นตนจึงมีความคาดหวังว่า ศธภ.และ ศธจ.จะต้องสร้างสิ่งใหม่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการศึกษาให้ได้ นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ศธ.จะออกแบบตัวชี้วัดคุณภาพและเกณฑ์การประเมินตนเองให้กับ ศธภ.และ ศธจ.ด้วย เพราะจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ทราบถึงสมรรถนะจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง และอีกบทบาทหน้าที่ของ […]

1 41 42 43 58
error: