“ประวิตร” เซ็นชื่อเข้าสภาครั้งแรกของปี แล้วรีบเผ่นกลับ

Advertisement วันนี้ (16 ตุลาคม) เวลา 07.40 น. ที่อาคารรัฐสภา พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส. แบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เดินทางมายังอาคารรัฐสภาพร้อมด้วยทีมอารักขาส่วนตัว Advertisement โดยได้ขึ้นมาบริเวณชั้น 2 หน้าห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อมาเซ็นชื่อและยืนยันตัวตน ก่อนที่จะมีการเปิดประชุมในวันนี้ เวลา 09.00 น. จากนั้น พล.อ. ประวิตร ได้ขึ้นรถส่วนตัวออกจากอาคารรัฐสภาไปทันที ทั้งนี้ พล.อ. ประวิตร ไม่ได้ปรากฏตัวบริเวณอาคารรัฐสภาตั้งแต่ที่มีการเสนอชื่อ เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย เป็นบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 Advertisement อย่างไรก็ตาม การมาเซ็นชื่อในวันนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย และอดีต สส. พรรคเพื่อไทย ออกมาเปิดเผยและตรวจสอบการขาดประชุมของ พล.อ. ประวิตร โดยพบว่าตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 […]

ดันเพิ่มสงเคราะห์บุตรเป็น3,000 นาน7ปี ช่วยแรงงานส่งลูกกลับบ้านเกิด

14 ต.ค.67 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้มีแนวคิดการให้ “เงินสงเคราะห์บุตร” ของสำนักงานกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานตามมาตรา 33 ที่เป็นคนไทย หากใครที่มีบุตรเพิ่มขึ้น และไปเลี้ยงดูในชนบท หรือในต่างจังหวัด กองทุนฯ จะให้ค่าสงเคราะห์บุตร จากเดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน เพิ่มเป็นเดือนละ 3,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 7 ปี สำหรับเงินสงเคราะห์บุตร ของสำนักงานกองทุนประกันสังคม นั้น ก่อนหน้านี้กองทุนฯ ได้กำหนดอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาทต่อเดือน แต่ในปี 2568 ได้ปรับเพิ่มเป็น 1,000 บาทต่อเดือน ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนประกันสังคม (บอร์ด) เรียบร้อยแล้ว นายพิพัฒน์ กล่าวว่า แม้ว่าจะเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรให้แล้ว แต่ส่วนตัวต้องการจะเพิ่มแรงจูงใจในการให้ผู้ใช้แรงงาน ตามมาตรา 33 มีบุตรเพิ่มอีก เพราะมีแนวความคิดกับการที่จะเพิ่มประชากรให้กับประเทศไทยเฉพาะคนไทย เพราะผู้ใช้แรงงานปัจจุบันนี้มีความกังวลว่าเมื่อคลอดบุตรออกมาแล้วจะมีภาระการเลี้ยงดูบุตร เป็นภาระที่ยิ่งใหญ่มาก โดยเฉพาะในสังคมเมือง เพราะการที่จะต้องส่งลูกหรือส่งบุตรหลานไปเข้าโรงเรียนหรือเข้าสถานศึกษามีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีแนวความคิดเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร ล่าสุดได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงแรงงาน […]

คิกออฟแคมเปญ “แอ่วเหนือคนละครึ่ง” 1พ.ย.นี้

สรวงศ์​ เทียนทอง​ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา​กล่าวถึงแคมเปญ ‘แอ่วเหนือคนละครึ่ง’ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือ ว่า จากการลงพื้นที่ จ.เชียงรายและ จ.เชียงใหม่ พร้อมรับฟังปัญหาของผู้ประกอบการ ซึ่งทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงได้นำข้อมูล เพื่อมาแก้ไขปัญหา โดยบางส่วนใช้งบประมาณของกระทรวงและบางส่วนต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้รับทราบ ทั้งนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอโครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง โดยจะมีการคิกออฟ ได้ในวันที่ 1 พ.ย.นี้  ในพื้นที่ จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมที่จะฟื้นฟูและกลับเข้าสู่สภาพเดิมให้ได้ สรวงศ์  กล่าวต่อว่า โครงการนี้ยังรวมไปถึง 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยทาง ททท. จะออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง ซึ่งตั้งเกณฑ์ไว้ที่ 800 บาท และนักท่องเที่ยวออกเองอีกครึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ หากประสบผลสำเร็จก็จะของบประมาณจาก ครม.อีกครั้งหนึ่ง แต่การดำเนินการในครั้งนี้จะใช้งบประมาณของ ททท.ไปก่อน โดยจะพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ขึ้นชื่อไม่ว่าจะเป็นงานลอยกระทงที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงรายก็สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ ซึ่งทั้ง 2 จังหวัดมีความพร้อม เมื่อถามถึงการเตรียมมาตรการอื่น […]

กมธ.สาธารณสุข ศึกษาความต่าง “บัตรทอง-ประกันสังคม”

10 ต.ค. 2567 ที่อาคารรัฐสภา  นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร(สส.) พร้อมด้วย น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง ร่วมแถลงข่าว เรื่อง พิจารณาแนวทางความเหลื่อมล้ำกรณีสิทธิการรักษาพยาบาล ระหว่างกองทุนประกันสังคมและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการประกันสังคม ในส่วนผู้ใช้แรงงาน ตัวแทนสํานักงานประกันสังคม และสํานักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคร่วมให้ข้อมูล  แต่ระดับผู้บริหารของสำนักประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ไม่ได้เข้าร่วมครั้งนี้ น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง กล่าวว่า วันนี้ กมธ.การสาธารณสุขได้จัดประชุมพิจารณา วาระการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างมาตรฐานบริการสุขภาพระหว่างกองทุนประกันสังคม และ สปสช. โดยจากการพิจารณาในชั้นกมธ.มีข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้ คือ ประกันสังคมและสิทธิหลักการสุขภาพแห่งชาติหรือที่รู้จักกันในนาม “บัตรทอง” นั้นยังไม่ได้จัดบริการการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานที่มีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน ยกตัวอย่าง กรณีของผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมสมทบจ่ายค่ารักษาพยาบาลแต่กลับได้รับคุณภาพการรักษาที่ยังด้อยกว่าสิทธิบัตรทอง เปิด 3 ประเด็น บัตรทอง ดีกว่า ประกันสังคม โดยมี 3 ประเด็นสำคัญ 1. การเข้าถึงบริการคัดกรองและสร้างเสริมสุขภาพหรือที่เรียกว่า PP จุดนี้สปสช.ให้การคัดกรองที่ดีกว่า ผู้ใช้สิทธิบัตรทองสามารถใช้บริการสุขภาพปฐมภูมิ […]

กมธ.ทหารเผย เงินเดือนพลทหารถูกหักเงินกู้สหกรณ์ เหลือไม่ถึง9พัน

12 ต.ค.67 คณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร จัดงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “การบริหารธุรกิจเชิงพาณิชย์ของกองทัพ”  ที่จะเปิดเผยทุกแง่มุมของธุรกิจกองทัพ อย่างละเอียดที่สุด พร้อมข้อเสนอการปฏิรูปธุรกิจกองทัพให้โปร่งใส จากการทำงาน กมธ.ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา     โดยตอนหนึ่งของงาน “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ได้เปิดเผยว่า กมธ.ทหารเคยตรวจสอบเรื่องเงินเดือนพลทหาร จากจำนวนทหารทั้งหมดของกองทัพทุกเหล่าทัพ 250,507 นาย พบว่าคนที่ถูกหักเงินกู้สหกรณ์จนเหลือเงินเดือนน้อยกว่า 30% มีถึง 52,310 นาย หักแล้วเหลือเงินเดือนน้อยกว่า 9,000 บาท มีถึง 8,130 นาย หรือคิดประมาณร้อยละ 32 แม้จะมีมติ ครม.แล้วว่าห้ามหักเงินเดือนจนเหลือน้อยกว่า 30% แต่เหล่าทัพต่าง ๆ ก็ยังไม่ปฏิบัติ ยกเว้นกองทัพอากาศที่ออกประกาศออกมาชัดเจนแล้วว่าจะไม่หักเงินเดือนกำลังพลให้ต่ำกว่า30% และไม่ต่ำกว่า 9,000 บาท แต่สำหรับ ทบ. และ ทร. เข้าใจว่ามีการเปลี่ยนตัว ผบ.ระดับสูงจึงต้องรอ ซึ่ง กมธ.ทหารก็จะติดตามกันต่อไป   […]

ที่ประชุมตุลาการชี้ “ไม่เสื่อมเสีย” ปม “อุดม” พูดติดตลกยุบพรรคก้าวไกล

วันนี้ (11ต.ค.67) เว็บไซต์สภาผู้แทนราษฎรได้เผยแพร่เอกสารประกอบการประชุมสำหรับวาระในวันที่ 17ต.ค.67 ในหัวข้อ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม วาระที่ 2.2 รับทราบเรื่อง ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรับทราบข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎรในญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเกี่ยวกับการแสดงออกของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตุลาการบนเวทีสาธารณะ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยประชาชน จนนำไปสู่การตั้งคำถามต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระ เพื่อส่งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎรให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาดำเนินการต่อไป สำหรับเอกสารประกอบดังกล่าวเป็นหนังสือราชการ ออกโดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ลงวันที่ 4 ตุลาคม ส่งถึงเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างถึงหนังสือสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ด่วนที่สุด ที่ สผ 0014/8412 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2567 มีรายละเอียดระบุว่า ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรส่งสรุปประเด็นและข้อเสนอแนะการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในญัตติด่วนด้วยวาจาเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเกี่ยวกับการแสดงออกของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตุลาการบนเวทีสาธารณะ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยประชาชน จนนำไปสู่การตั้งคำถามต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญรับทราบ หากศาลรัฐธรรมนูญได้ปฏิบัติตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะประการได้โปรดแจ้งให้ทราบด้วยนั้น สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญขอเรียนว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรับทราบข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เห็นว่าการแสดงความคิดเห็นของ อุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับข้อกฎหมายพรรคการเมืองในการสัมมนาทางวิชาการของศาลรัฐธรรมนูญ มิได้เป็นการแสดงความคิดเห็นอันมีลักษณะเป็นการเสียดสีหรือประชดประชันพรรคการเมืองใด ที่จะส่งผลต่อความเป็นอิสระ เป็นกลาง และปราศจากอคติ ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาวินิจฉัยคดี ไม่กระทบกระเทือน หรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ     สำหรับกรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากมีการเผยแพร่เนื้อหาในคลิปวิดีโอ […]

ราชกิจจาฯ ประกาศ ตร.ล้มละลายที่ไม่ใช่ทุจริต รับราชการต่อได้

วันที่ 10 ต.ค. 67 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 ที่ลงนามโดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.ตร. ว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 (2) มาตรา 71 (5) และมาตรา 136 (3) แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 และมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 6/2567 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จึงออกกฎ ก.ตร. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กฎ ก.ตร. นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ […]

พระราชทานยศ ขรก.ในพระองค์9ราย เป็น พันโทหญิง-พันตรีหญิง-ร้อยโทหญิง

  11 ต.ค. 2567 ราชกิจจานุเบกษาประการ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารชั้นสัญญาบัตร 9 ราย ดังนี้ 1.พันโทวัฒนา อุดมสุดารักษ์ เป็น พันเอก 2.พันตรีหญิง กนกวรรณ ใจสูงเนิน เป็น พันโทหญิง 3.พันตรีหญิง นัทธนันท์ อรรถกิจไพบูลย์ เป็น พันโทหญิง 4.พันตรีหญิง สุฑามาศ แก้วใส เป็น พันโทหญิง 5.ร้อยเอกหญิง เบญจรงค์ เทพนิมิต เป็น พันตรีหญิง 6.ร้อยเอกหญิง รัตติยา สิทธิสมบูรณ์ เป็น พันตรีหญิง 7.ร้อยเอกหญิง จุฑารัตน์ เพชรโสม เป็น พันตรีหญิง 8.ร้อยตรีหญิง พรรณราย ทองทิพย์ เป็น ร้อยโทหญิง 9.จ่าสิบเอกหญิง พรอนงค์ จันทะนุย เป็น ร้อยตรีหญิง ตั้งแต่วันที่ […]

ราชกิจจาฯ เผยแพร่กฎ ให้การพนัน เล่นได้ภายในกำหนดเวลา

11 ต.ค.67 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง ฉบับที่ 46 ให้การพนันต่อไปนี้ ให้เล่นได้ภายในกำหนดเวลา จำนวน 23 ชนิด อาทิ วิ่งวัวคน เวลา 7-19 น. , ชกมวย มวยปล้ำ 12-24 น. , โยนห่วง 7-24 น. และ ไพ่นกกระจอก ไพ่ต่อแต้ม ไพ่ต่างๆ วันอาทิตย์ 12-24 น. วันอื่น 18-24 น. เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กำหนดเวลาอนุญาตให้มีการเล่น ซึ่งให้สัตว์ต่อสู้หรือแข่งขันที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนั้น ไม่สอดคล้องกับประเพณีการเล่นแข่งวัวลานที่เล่นแข่งกันในเวลากลางคืน สมควรกำหนดเวลาอนุญาตการเล่นแข่งวัวลานขึ้นเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับประเพณีการเล่นแข่งวัวลาน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

เตรียมเลย! “เที่ยวคนละครึ่ง” มาแน่ แจกอีกคนละ2,000

9ต.ค.67 PPTV รายงานว่า นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศ (สทท.) กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าจากสภาวะวิกฤตน้ำท่วมได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท โดยเฉพาะทางภาคเหนืออย่างเชียงใหม่เคยสร้างรายได้ท่องเที่ยวมากถึงเดือนละ 7,000 ล้านบาท เชียงรายสร้างรายได้เดือนละ 3,000 ล้านบาท ในระยะสั้นจึงอยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ 2 ด้าน คือเยียวยาผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เช่น ให้สถาบันการเงินพักหนี้ชั่วคราวให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้มีสภาพคล่องนำไปฟื้นฟูธุรกิจ อีกด้านหนึ่งคือกระตุ้นด้านการท่องเที่ยว โดย สทท.เตรียมเสนอบอร์ดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้อนุมัติโครงการใหม่ “เที่ยวคนละครึ่ง” เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในประเทศ ทั้งเมืองที่ได้รับผลกระทบและเมืองน่าเที่ยว เพราะมาตรการกระตุ้นที่ผ่านมาอย่างฟรีวีซ่าได้ผลเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวหลักเท่านั้น แต่เมืองรองและเมืองน่าเที่ยวยังไม่เห็นผล ช่วงนี้ควรเน้นไทยเที่ยวไทยอย่างเร่งด่วน และใช้มาตรการนานอย่างน้อย 2 ไตรมาส มั่นใจว่าหากรัฐบาลเร่งส่งเจ้าหน้าที่ลงไปฟื้นฟูพื้นที่ คนไทยจะพร้อมออกไปเที่ยวโดยใช้สิทธิ์ในมาตรการคนละครึ่งแน่นอน โดยอาจทำแคมเปญเที่ยวเมืองไทย เพื่อช่วยฟื้นฟูหลังน้ำท่วมควบคู่ไปด้วย พร้อมเร่งสร้างความเชื่อมั่นทั้งด้านความพร้อมหลังน้ำลด และความปลอดภัยหลังเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้รถบัสด้วย” นายชำนาญ กล่าว สำหรับโครงการใหม่อย่าง “เที่ยวคนละครึ่ง” วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท เบื้องต้นเป็นโครงการระยะสั้น โดยจะแจกเงินคนละ 2,000 บาท […]

1 6 7 8 1,012
error: