โดยปกติเราจะพบว่าภัยธุรกรรมออนไลน์จะมาในรูปแบบของการแฮคเฟซบุ๊กคนอื่นแล้วไปหลอกให้ญาติเจ้าทุกข์โอนเงิน, การสวมสิทธิคนใกล้ตัว เช่น ฆ่าแฟนตาย แล้วสวมสิทธิเข้าเฟซบุ๊กแฟนไปหลอกแม่ให้โอนเงินให้, การสอดไส้หลอกลวงกัน เช่น คนร้ายหลอกว่าจะขาย Iphone ถูกๆ แต่พอเจ้าทุกข์โอนตังค์ไป สิ่งที่ได้กลับมาคือก้อนหินธรรมดา เคสเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความประมาทเกินไปของเจ้าทุกข์ที่เรามักจะเจอกันบ่อยจนชินตา และในเคสต่อไปนี้ก็ต้องระวังให้มากขึ้น ไม่เพียงแต่ต้องสงวนข้อมูลส่วนตัวอย่าง "สำเนาบัตรประชาชน" เท่านั้น ต้องหมั่นเช็คการทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ ทั้งกับทางธนาคารและทางค่ายมือถืออยู่เสมอ และถ้าให้ดีที่สุด ต้องเช็คให้แน่ใจไปเลยว่าพนักงานได้ทำหน้าที่ดีที่สุด ไม่ขาดตกบกพร่องแล้วหรือยัง? มิฉะนั้น เงินอาจหายไปในพริบตา เพียงแค่ "สำเนาบัตรประชนปลอม" ของคนร้าย ที่ไปสวมสิทธิกับค่ายมือถือให้เข้ากับบัญชีธนาคารได้ง่ายดาย เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ ชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม นำผู้เสียหายเป็นพ่อค้าร้านประดับยนต์ใน จ.พระนครศรีอยุธยา เข้าแจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ถูกกลุ่มคนร้ายทำทีสั่งซื้ออุปกรณ์ประดับยนต์ ก่อนขอเลขที่บัญชี และหน้าบัตรประจำตัวประชาชน นำไปสวมสิทธิ์ทำธุรกรรมกับค่ายมือถือ แล้วถอนเงินจากบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาอยุธยา ไปจำนวน 986,700 บาท เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อวันที่ 28 ก.ค. คนร้ายทักแชท ทำทีขอสั่งซื้อสินค้าอุปกรณ์ประดับยนต์ ก็ตกลงราคาตามปกติ ก่อนที่จะได้ให้เลขบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาอยุธยา ไป เหมือนกับการซื้อขายสินค้าทางเฟซบุ๊กทั่วไป แต่คนร้ายอ้างว่ากลัวโอนเงินแล้วไม่ได้สินค้า ต้องการให้ยืนยันตัวตน ก็เลยส่ง “ภาพหน้าบัตรประชาชน” ไปให้ โดยปิดเลขที่บัตรประชาชน 13 ตัวไว้ จากนั้นวันที่ 29 ก.ค. […]