บล็อกเกอร์ดัง “นัท นิศามณี” บินฉีดวัคซีนที่อเมริกาฟรี ยื่นพาสปอร์ตแค่ 5 นาทีเสร็จ

Advertisement บล็อกเกอร์ดัง ‘นัท นิศามณี’ บินฉีดวัคซีนที่อเมริกาฟรี ยื่นพาสปอร์ตแค่ 5 นาทีเสร็จ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม นัท นิศามณี เลิศวรพงษ์ บล็อกเกอร์ชื่อดัง เปิดเผยผ่านอินสตาแกรม @nisamanee_nutt ว่าได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากบินไปอเมริกาเป็นครั้งแรก Advertisement โดยโพสต์ดังกล่าวระบุว่า “I got it !…Vaccine นัทได้รับวัคซีนแล้วของจอห์นสัน (1โดสจบไม่ต้องซ้ำ) โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว ไม่ต้องลงทะเบียนเดินวอล์กอินมายื่นพาสปอต สัมภาษณ์ 5 นาทีบอกข้อมูลเบื้องต้น ฉีดเลย จบ! ยังไงจะอัพเดทแบบละเอียดว่าขั้นตอนยังไง ตอนฉีดและหลังฉีดน่ากลัวแค่ไหน? ขอเวลาตัดแปป” Advertisement นอกจากนี้ นัท นิศามณี ระบุในสตอรี่ของอินสตาแกรมว่า หลังจากนี้จะรอสังเกตว่ามีอาการผลข้างเคียงใดๆ หรือไม่ และยังระบุว่า เตรียมตัวเชียร์ อแมนด้า ออบดัม มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2020 ตัวแทนประเทศไทย ในการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2020 (ครั้งที่69) ซึ่งจัดในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

ถอดแนวคิด “ผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์” ผู้ว่าฯใจป้ำ จองวัคซีนให้คนลำปางเอง ไม่ต้องต่อคิว

กรณีศึกษา การจองฉีดวัคซีนโควิด-19 เฟสแรก ภายใต้การบริหารจัดการของผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ทำให้นึกถึงคำกล่าวที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ในตำราพิชัยสงครามซุนวู ที่มีการนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ จนประสบความสำเร็จ “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” มีที่มาจากตำราพิชัยสงครามซุนวู (The Art of War) ที่อายุกว่า 2,600 ปี แต่ก็มีการนำมาประยุกต์ใช้จนถึงทุกวันนี้ SPRINGNEWS ได้สัมภาษณ์ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าฯ ลำปาง อย่างเจาะลึกจากกรณีที่ลำปาง มียอดผู้จองวัคซีนโควิด-19 สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ (แต่ถ้าเทียบเป็นอัตราส่วน ลำปางมียอดจองฉีดวัคซีนมากที่สุด) โดยผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ ได้เน้นถึงความรู้ ความเข้าใจในด้านต่างๆ เมื่อนำมาประมวลผล และปรับวิธีการ วางกลยุทธ์ ก็ประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ทำให้คำกล่าวว่าที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ลอยขึ้นมาในหลายครั้งๆ ระหว่างการสัมภาษณ์ เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ 1. […]

ราชกิจจานุเบกษาแพร่ประกาศ ป.ป.ช. ตร.ระดับผู้บัญชาการสมัครเลขา ป.ป.ช.ได้!

ราชกิจจานุเบกษาแพร่ประกาศ ป.ป.ช. กำหนดคุณสมบัติ-วิธีการได้มา ‘เลขาธิการ’ คนใหม่ พบตำรวจระดับ ‘ผู้บัญชาการ’ สมัครได้ด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง คุณสมบัติและวิธีการได้มาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ.ศ. 2564 ลงนามโดยพล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยประกาศดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 148 และมาตรา 149 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ประกอบข้อ 25 ในระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงได้ประกาศและมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เพื่อให้มีคณะกรรมการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. คือ สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เคยดำรงตำแหน่งที่เคยดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งดังนี้ อธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าอธิบดีตามกฏหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี , ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการ […]

เปิดประวัติที่มา วันแรงงานแห่งชาติ 1พ.ค. ให้แรงงานหยุดอยู่บ้าน

วันแรงงานแห่งชาติ หรือ May Day 1 พฤษภาคม วันระลึกถึงผู้ใช้แรงงาน ประวัติ มีความสำคัญอย่างไร และวันแรงงาน 2564 ได้หยุดไหม เรามีคำตอบ  ผู้ใช้แรงงานถือเป็นฝ่ายผลิตที่สำคัญในการผลักดัน ช่วยส่งเสริมพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในต่างประเทศนั้นมีวันแรงงานมานานแล้ว โดยเรียกว่า วันเมย์เดย์ (May Day) ขณะที่ประเทศไทยนั้น ทราบกันดีว่า วันแรงงานแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ ในสมัยก่อนประเทศในแถบยุโรปจะถือเอาวันเมย์เดย์ (May Day) เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม จึงมีพิธีเฉลิมฉลองและทำการบวงสรวงขอให้ปลูกพืชได้ผลดี รวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งทางภาคเหนือของยุโรปก็จะมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ซึ่งประเพณีนี้ในประเทศอังกฤษก็ยังมีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากตอนแรกที่เป็นเพียงวันหยุดพักผ่อนประจำปี ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศจึงถือเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ ความหมายของ วันเมย์เดย์ (May Day) จึงเปลี่ยนไปจากเดิม จนเมื่อปี พ.ศ. 2433 ได้มีการเรียกร้องในหลายประเทศทางตะวันตกให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ทำให้หลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 และได้สืบทอดมาจนถึงในปัจจุบัน ประวัติวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย ในประเทศไทย […]

วันแรงงาน ลูกจ้างต้องรู้ แค่ “โพสต์บ่น” ก็โดน “เลิกจ้าง” ได้!

ต่อให้เจ้านาย หรือ ที่ทำงานของเราจะแย่แค่ไหน แต่การจะโพสต์บ่นใดๆ ก็ตามบนที่สาธารณะ ซึ่งในที่นี้ก็คือ “โซเชียลมีเดีย” นั้น สิ่งที่เหล่าลูกจ้างทั้งหลาย ต้องทราบก็คือว่า “การโพสต์ถึงที่ทำงานบนโซเชียลมีเดีย” เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย “พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119″ และ “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583” ดังนี้   พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หมวด 11 ค่าชดเชย มาตราที่ 118-122 “มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด” ดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 มาตรา 583  ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ คดีตัวอย่าง (อ้างอิงจาก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8206/2560) ลูกจ้างโพสต์บนเฟสบุ๊กว่า  “เมื่อไหร่จะได้ในสิ่งที่ควรได้ว๊ะ…ต้องกินต้องใช้ ไม่ได้แดกดินแดกลมนะ” และ “ใครที่เกลียดเจ้านายเป็นบ้าเป็นหลัง โดนเจ้านายกลั่นแกล้ง หยุดซะเถอะความเกลียด ความโกรธ ปล่อยให้เขาเป็นอย่างนั้นไปคนเดียว เพราะถ้ามีเจ้านายเฮงซวยจริงๆ ก็ถือว่าเจ้านายของคุณมีทุกข์เยอะที่ชีวิตเขาต้องมาเจอลูกน้องเกลียดและเขาก็จะไม่มีความสุขในสิ่งที่เขาเป็น ยุ่งเหยิงยิ่งกว่าหมxย…ลูกค้าเกลียดวันที่ลูกค้าเต็ม…ตลอด 3 ปีมานี้เขาบอกว่าขาดทุนตลอด อยู่ได้ไงตั้ง 3 ปี…งง…ให้กำลังใจกันได้ดีมากขาดทุนทุกเดือน” จากข้อความข้างต้น ศาลพิจารณาว่า เข้าข่ายโดนข้อหา ดังนี้ – โดนข้อหาละเมิด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 119(2) :  เพราะข้อความดังกล่าวอยู่ในฐานที่ลูกจ้างตั้งใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องชดเชยและบอกล่วงหน้า  – ผิด ป.พ.พ. มาตรา 583 : เพราะกระทำสิ่งที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่การงานของตนให้ถูกต้องและสุจริต ซึ่งมาตรานี้ได้ให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือบอกกล่าวลูกจ้างล่วงหน้า ทั้งนี้ ไม่โดนข้อหา พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 119(1): เพราะไม่ใช่การหมิ่นประมาท แต่เป็นการบ่น กรณีนี้ไม่เข้าข่ายการหมิ่นประมาท แต่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย จากการพิจารณาถึง “เนื้อหาในข้อความที่บ่นถึงว่านายจ้างเป็นคนไม่ดี”   ข้อควรรู้เกี่ยวกับการโพสต์ถึงที่ทำงานบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าคุณจะโกรธเจ้านาย ไม่พอใจบริษัทหรือออฟฟิศมากแค่ไหน ก่อนจะโพสต์ระบายอะไรลงไป มีข้อควรรู้เกี่ยวกับการโพสต์ถึงที่ทำงานบนโซเชียลมีเดีย แบบปลอดภัย ไม่เสี่ยงโดนไล่ออก ดังนี้ 1. เฟสบุ๊กเป็นสื่ออนไลน์สาธารณะที่บุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อความและแสดงความคิดเห็นที่ลูกจ้างอย่างเราโพสต์ไว้ได้ 2. หากโพสต์ในทำนองที่ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่านายจ้างเป็นคนที่มีลักษณะนิสัยที่ไม่ดี นายจ้างจะไม่สามารถทำการเลิกจ้างได้ เช่น ช่วงนี้งานล้นมาก งานโหลดไม่ไหว ต้องรีบปิดงบฯ เหนื่อยสุดๆ (การตัดพ้อส่วนตัวโดยไม่กล่าวถึงที่ทำงาน) 3. หากข้อความที่โพสต์มีลักษณะในการระบายอารมณ์ความไม่พอใจ แต่หากมีความหมายที่ทำให้เข้าใจว่า นายจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้าง ทำให้นายจ้างดูเป็นคนที่ไม่ดี เอาเปรียบลูกจ้าง ทำให้ภาพลักษณ์นายจ้างเสียหาย หรือทำให้เสียหายหนัก ก็ไม่สามารถโพสต์ได้ 4. หากลูกจ้างคิดว่า “การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ไม่เป็นธรรม” ตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลฯ มาตรา 49 ตามหลักการมาตรา 119 แล้ว ถือเป็นการกระทำที่เป็นธรรม เพราะ “การเลิกจ้างจากการโพสต์ให้นายจ้างได้รับความเสียหายบนโซเชียลมีเดีย เป็นเหตุอันสมควร” แล้ว 5. ในบางองค์กร การใช้โซเชียลมีเดียเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังในการคัดกรองเพื่อรับเข้าทำงานและดำรงตำแหน่งงาน เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับทางกฎหมายหรือความปลอดภัย หากโพสต์แต่เรื่องอบายมุก สถานที่ท่องเที่ยงกลางคืน หรือแหล่งอโคจร อาจเป็นสิ่งที่ทำให้ชี้ชัดในการไม่พิจารณารับเข้าทำงานได้  อ้างอิง : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ , พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8206/2560, กรุงเทพธุรกิจ

1 15 16 17 704
error: