สธ.สั่งรถพยาบาล ห้ามใช้ความเร็ว เกิน 80 กม. ห้ามฝ่าไฟแดง ทุกกรณี!
Advertisement Advertisement
Advertisement Advertisement
กระทรวงสาธารณสุข ห่วงข้าราชการที่ได้รับเงินเกินสิทธิ เตรียมเจรจากับกระทรวงการคลัง ขอผ่อนชำระหนี้ระยะยาว 5-10ปี ไม่มีดอกเบี้ย เพื่อลดผลกระทบให้ข้าราชการกลุ่มนี้ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยข้าราชการที่ได้รับผลกระทบจากการได้รับเงินเกินสิทธิ มอบผู้ตรวจราชการทั้ง 12 เขตสุขภาพ และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ตรวจสอบข้อเท็จจริงในการคิดเงินเดือน ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบให้ข้าราชการกลุ่มนี้ เนื่องจากหลักเกณฑ์การคืนเงินของกระทรวงการคลัง ถ้าไม่เกิน 50,000 บาท ต้องชำระภายใน 1 ปี และหักเงินเดือนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ต่อเดือน ซึ่งค่อนข้างมาก ได้เตรียมเจราจากับกระทรวงการคลัง ขอผ่อนชำระหนี้ระยะยาวขึ้น โดยเงินไม่เกิน 50,000บาท ขอผ่อนชำระภายในเวลา 5 ปี และหากจำนวนเงินมากกว่า 50,000 บาทขอยืดเวลาไปถึง 10 ปี หักเท่ากันทุกเดือนไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งจะช่วยให้การผ่อนต่อเดือนจำนวนน้อยลง ข่าวจาก : hfocus
วันที่ 8 มี.ค. 62 จากเฟซบุ๊กเพจ “หมออนามัยขี้ mouth” มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรียกเงินเดือนเกินสิทธิ์คืน ในกลุ่มพนักงานราชการ และลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการก่อนวันที่ 11 ธ.ค. 55 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 57 คนละประมาณ 20,000-25,000 บาท ซึ่งมาจากการทำบัญชีเงินเดือนผิดพลาด จนได้รับเงินเดือนเกินสิทธิ์มาถึง 5 ปี มีการเรียกเงินเดือนเกินสิทธิคืนในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ จ.ศรีสะเกษ เรียกคืน 91 ราย โดยเรียกร้องว่า คนเกี่ยวข้องที่ทำเงินเดือนผิดพลาด ทั้งใน สธ. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ต้องมีส่วนรับผิดชอบในกรณีนี้หรือไม่ โดยนายริซกี สาร๊ะ เลขาธิการชมรมนักวิชาการสาธารณสุข (ประเทศไทย) และเลขาธิการสมาพันธ์บุคลากรสาธารณสุขชายแดนใต้ ที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องดังกล่าว เปิดเผยว่า เป็นความผิดพลาดของใครยังระบุไม่ได้ โดยมีน้อง ๆ ร้องทุกข์เข้ามา ประมาณ 8 จังหวัด จำนวน […]
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดอบรมการใช้กัญชารักษาโรคในบุคลากรทางการแพทย์ ว่า ขณะนี้กรมการแพทย์กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำหลักสูตรของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรับรองการใช้กัญชารักษาโรค โดยคาดว่าจะเริ่มอบรมแพทย์ และเภสัชกร ชุดแรกได้ในวันที่ 19-20 มีนาคมนี้ จากนั้นทยอยจัดการอบรมอีก 7 ชุด ซึ่งวิทยากรผู้อบรม จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท มะเร็ง และอายุรกรรมประสาท และเจ้าหน้าที่จากสถาบันธัญญารักษ์ เพราะขณะนี้การอนุญาตใช้กัญชารักษาโรค หรือยาที่มีส่วนผสมของกัญชา ครอบคลุมใน 4 กลุ่มก่อน คือ โรคลมชักในเด็ก ปอดประสาทเสื่อม ผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด และการรักษาอาการปวดเรื้อรัง ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องมีการอบรม เนื่องจากหากไม่ระวังอาจจะติดสารได้ “สำหรับผู้ที่ได้รับการอบรม จะต้องผ่านการทดสอบเบื้องต้นก่อนและหลังการอบรม เพื่อนำไปประเมินผลเบื้องต้น และจะได้รับใบประกาศรับรองจากกรมการแพทย์ และทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะรวบรวมเพื่อจัดทำเป็นระบบทะเบียนรายชื่อ แพทย์ และเภสัชกรที่สามารถรักษา สั่งจ่ายกัญชาได้เพื่อความปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนทราบเป็นข้อมูล” นพ.สมศักดิ์ กล่าว ข่าวจาก : มติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ รายงานข่าวแจ้งว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เคยเสนอเรื่องการขอเพิ่มค่าปรับนักศึกษาแพทย์ที่ผิดสัญญาการเป็นนักศึกษาวิชาแพทย์ จาก 4 แสนบาท เป็น 2.5 ล้านบาท และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ให้ที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาเรื่องการขอทบทวนมติ ครม.เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2516 เรื่องขอเพิ่มค่าปรับนักศึกษาเเพทย์ผู้ทำสัญญาการเป็นนักศึกษาเเพทย์กรณีผิดสัญญาเเพทยศาสตร์ไปเพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม.เมื่อตุลาคม 2561 นั้น ปรากฏว่า เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์มีรายงานความคืบหน้าจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับเรื่องการทบทวนมติ ครม.เรื่องขอเพิ่มค่าปรับนักศึกษาเเพทย์หนีทุนว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ปฏิบัติการเเทนนายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้พิจารณาเเล้วเห็นว่า ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้ สธ.เเจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม.ตั้งเเต่วันที่ 25 ตุลาคม 2561 ระยะเวลาได้ล่วงเลยมานานเเล้ว แต่ สธ.ยังไม่ได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใด จึงให้ส่งเรื่องนี้คืน สธ. เเละหาก สธ.ยังประสงค์นำเรื่องนี้เสนอต่อ ครม.พิจารณา ขอให้ สธ.ดำเนินการตาม พ.ร.ก.ว่าด้วยการเสนอเรื่องเเละการประชุม ครม.พ.ศ.2548 เเละระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์เเละวิธีการเสนอเรื่องต่อ ครม.พ.ศ.2548 ต่อไป โดยสำนักเลขาธิการ […]
9 ม.ค.62 นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า หลังกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย มีผลใช้บังคับในวันที่ 9 ม.ค. 2562 นี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของคนไทย ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยไทยถือเป็นประเทศแรกในอาเซียน และได้รับการชื่นชมจาก WHO ที่มีมาตรการทางกฎหมายที่ชัดเจน รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและสื่อสารถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ กฎหมายฉบับนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมอาหาร ร่วมกันดำเนินการ เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ ทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความเข้าใจและสามารถปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายหลังจากประกาศฯ “อย่างไรก็ตาม การห้ามนำไขมันทรานส์มาใช้ในการผลิตอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการบริโภคอาหารที่เป็นแหล่งหลักของไขมันทรานส์ ไม่รวมถึงไขมันทรานส์ที่พบอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว จึงขอให้ผู้บริโภคตระหนักในการรับประทานอาหารแต่อย่าตระหนกจนเกินไป เพราะการมีสุขภาพที่ดีนั้นมาจากการเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม ควบคู่กับการออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ” นพ.ปิยะสกล […]
พาณิชย์ถกสาธารณสุข เร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนสูงเกินจริง พร้อมถก ก.สาธารณสุข เล็งกำหนดให้ค่ายาและค่ารักษาพยาบาลเป็นสินค้าและบริการควบคุม ทพ.ประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 9 พ.ย. 2561 กรมฯ ได้หารือกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนสูงเกินจริง ซึ่งที่ผ่านมากรมฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจได้ส่งเจ้าหน้าที่ของกรมฯ ลงพื้นที่สำรวจโรงพยาบาลเอกชน 62 แห่งทั่วกรุงเทพฯ แล้วพบว่าส่วนใหญ่โรงพยาบาลไม่ได้เปิดเผยข้อมูลค่ายา ค่ารักษาพยาบาลให้ประชาชนรับทราบมากนัก โดยจะเก็บไว้ในเอกสาร คอมพิวเตอร์ภายในของโรงพยาบาล ส่วนที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลก็จะแจ้งเพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลเมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วเท่านั้น ซึ่งหลังจากหารือกันในครั้งนี้ จะเรียกตัวแทนโรงพยาบาลเอกชนมาหารือร่วมกับกรมฯ และกระทรวงสาธารณสุข อีกครั้งเพื่อพิจารณาข้อมูลและแนวทางการดำเนินการต่อไป ทพ.ประโยชน์ กล่าวว่า ปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลไม่ได้กำหนดเป็นบริการควบคุมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 แต่ได้มีมาตรการกำกับดูแล คือให้ปิดป้ายแสดงค่ารักษาพยาบาลไว้ในที่เปิดเผยและชัดเจน หรือให้จัดทำเป็นเอกสารหรือเว็บไซต์ของโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบอัตราค่ายาและค่าบริการก่อนการตัดสินใจใช้บริการ ด้านกระทรวงสาธารณสุขมีพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 โดยการประกอบกิจการสถานพยาบาลและการดำเนินการสถานพยาบาล มาตรา 32 (3) ผู้รับอนุญาตต้องแสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วยที่สถานพยาบาลต้องแสดงตามมาตรา […]
สธ. เสนอ ครม. เพิ่มค่าปรับ นศ.แพทย์ จาก 4 เเสน เป็น 2.5 ล้าน ผิดสัญญาใช้ทุน หลังอัยการทักท้วง ค่าปรับต่ำใช้มาตั้งแต่ปี 2516 จากกรณีเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2561 กระทรวงสาธารณสุขได้มีการเสนอขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2516 เพื่อขอเพิ่มค่าปรับนักศึกษาแพทย์ผู้ผิดสัญญาการเป็นนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ จากจำนวน 400,000 บาท เป็น 2,500,000 บาท โดยขอให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขทำหน้าที่ประสานกับสถาบันการผลิตนักศึกษาแพทยศาสตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น วันที่ 8 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานถึงกรณีดังกล่าวว่า ก่อนหน้านี้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ส่งร่างสัญญาการเป็นนักศึกษาเพื่อศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ มาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา โดย นายธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พนักงานอัยการเจ้าของสำนวน ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2516 ที่กำหนดจำนวนค่าปรับชดใช้ทุนของนักศึกษาแพทย์ ผู้ผิดสัญญาการเป็นนักศึกษาเพื่อศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ จำนวน 400,000 บาท นั้น เป็นจำนวนค่าปรับที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2516 ซึ่งเป็นระยะเวลานานมากแล้ว […]
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชกา ตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน 2 อัตรา เงินเดือน 15,000-16,500 บาท คุณสมบัติเฉพาะ : ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรีขึ้นไป เปิดรับสมัครทางเว็บไซต์ http://www.dmsc.moph.ac.th ภายในวันที่ 29 ต.ค.-16 พ.ย.61 คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
กระทรวงสาธารณสุขเร่งสร้าง และซ่อมแซม บ้านพักเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทั่วประเทศ ให้เพียงพอเพื่อสร้างขวัญกำลังใจบุคลากรสาธารณสุข ผลสำรวจล่าสุดเจ้าหน้าที่ยังไม่มีบ้านพักเกือบ 7 หมื่นราย นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า “สาธารณสุขจะเร่งสร้างและซ่อมแซมบ้านพักเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทุกระดับให้เพียงพอและมีความปลอดภัย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากร ให้มีความสุขในการปฏิบัติงานเนื่องจากบ้านพักของโรงพยาบาลบางแห่งได้รับงบประมาณจัดสร้างพร้อมกับการสร้างโรงพยาบาล และบางแห่งสร้างมานานมีความทรุดโทรม แม้ว่าจะได้รับการปรับปรุงมาโดยตลอด จึงได้สั่งการให้ผู้ตรวจราชการและนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสำรวจบ้านพักในโรงพยาบาลทุกแห่ง และประเมินความต้องการการซ่อมแซมหรือสร้างใหม่ให้เพียงกับผู้ปฏิบัติงานที่เพิ่มขึ้น จากผลการสำรวจล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2561 ในสถานพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศจำนวน 11,160 แห่ง จาก 11,701 แห่ง และบุคลากรที่มีความจำเป็นต้องมีที่พักอาศัยในโรงพยาบาลจำนวน 170,292 คน จากจำนวน บุคลากรทั้งหมด 359,998 คน พบว่าบุคลากรที่ยังไม่มีไม่มีที่พัก 65,858 คน คิดเป็นร้อยละ 38.67 ของบุคลากรที่มีความจำเป็นต้องมีที่พักในโรงพยาบาล” นายแพทย์สุขุม กล่าวต่อว่า “ได้ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดความจำเป็นในการจัดสวัสดิการให้แก่บุคลากรนำเสนอในภาพรวม เพื่อกระทรวงสาธารณสุขจะหาแนวทางในการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งเป็นระยะเร่งด่วนและระยะยาว พบว่าต้องจัดหาที่พักเพิ่ม 10,863 หลังแบ่งเป็น บ้านพัก 8,641 หลัง อาคารพักและแฟลต 2,222 […]