กสทช. ประกาศหลักเกณฑ์ใหม่ การเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ตล่วงหน้า มีผล 21ก.ย.นี้

Advertisement 20 กันยายน 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เรื่อง หลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคม ลงนามโดยศาสตราจารย์คลินิกสรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ Advertisement ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักกณฑ์การเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าในกิจการโทรคมนาคมเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าของบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกรูปแบบการชำระค่าบริการ รวมทั้งได้รับความสะดวกและสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ โดยให้เป็นแนวปฏิบัติทั่วไป ที่ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมและสร้างความยืดหยุ่นในการนำเสนอบริการสำหรับผู้ให้บริการ โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ใช้บริการหรือประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ สำหรับประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2566 เป็นต้นไป) ข้อ 2 บรรดาประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในประกาศนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน ข้อ 3 ในประกาศนี้ “ค่าบริการล่วงหน้า “ หมายความว่า ค่าบริการที่ผู้ให้บริการเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการก่อนการใช้บริการ หรือมีวันครบกำหนดชำระค่าบริการก่อนวันสิ้นสุดรอบการใช้บริการ “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการโทรคมนาคมปลายทางของผู้ให้บริการ แต่ไม่รวมถึงผู้ใช้บริการที่เป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งนำบริการโทรคมนาคมที่ได้รับในฐานะผู้ใช้บริการไปประกอบกิจการอีกทอดหนึ่ง ข้อ 4 การเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าของบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ ให้เป็นไปตามประกาศว่าด้วยหลักกณฑ์การเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าของบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ Advertisement สำหรับสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ (ข้อ 5) […]

ราชกิจจาฯประกาศค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายบอร์ด กสทช. ประธานได้3.6แสน กรรมการได้2.9แสน

2 มิถุนายน 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 โดยเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 26 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 บัญชีค่าตอบแทนของประธานกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 361,167 บาท/เดือน บัญชีค่าตอบแทนของกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  289,167 บาท/เดือน พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป อ่านรายละเอียด ฉบับเต็ม

62อัตรา!! กสทช.รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน วุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี TOEIC500

  สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รับสมัครคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานตำแหน่งประเภทปฏิบัติการ กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงาน 5 ปี จำนวน 62 อัตรา ผู้สมัครต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ เช่น TOEIC ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน เป็นผู้มีทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมีหนังสือรับรองจากสถาบันที่ได้รับรองจากกระทรวงศึกษาธิการอย่างน้อย 3 โปรแกรม ได้แก่ Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft Power Point เปิดรับสมัครทางเว็บไซต์ https://nbtc.thaijobjob.com ภายใน 18เม.ย.-31พ.ค.66 ((คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม/ดาวน์โหลดเอกสารประกาศฉบับเต็ม))

กสทช. ไม่กดดัน กกท.ซื้อ ลิขสิทธิ์ ถ่ายทอดสด ซีเกมส์

ล่าสุดนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. ระบุว่า กรณีของการพิจารณาประเด็นปัญญาของกฎ “มัสต์แฮฟ” ที่ขัดแย้งกับธุรกิจกีฬาโลกนั้น บอร์ด กสทช. มีความเห็นให้ตั้งคณะทำงาน 1 ชุดโดยมี น.ส.มณีรัตน์ กำจรกิจการ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. เป็นประธานเพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างรอบด้าน ซึ่งคณะกรรมการชุดใหญ่รอฟังข้อสรุปก่อนจะพิจารณาตัดสินใจต่อไป ด้าน น.ส.มณีรัตน์ กำจรกิจการ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ประเด็นเรื่องที่ กกท. ระบุว่า กสทช. บีบบังคับให้ กกท. ดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชานั้น น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันเพราะก่อนหน้านี้ กสทช. เชิญ กกท. และคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ มาหารือและชี้แจงทำความเข้าใจกฎ “มัสต์แฮฟ” และ “มัสต์ แครี่” ซึ่งทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่า สำหรับการบังคับใช้ของกฎ “มัสต์ แฮฟ” และ “มัสต์ แครี่” […]

ตั้ง “หญิงแย้” เน็ตไอดอลคนดัง นั่งอนุกรรมการแพลตฟอร์มดิจิทัล กสทช.

รายงานข่าวจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า ขณะนี้ได้มีการเผยแพร่คำสั่งคณะกรรมการ กสทช. เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการด้านการให้บริการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล (เพิ่มเติม) โดยมีชื่อของ “หญิงแย้” หรือ นางสาวนนทพร ธีระวัฒนสุข เน็ตไอดอลชื่อดัง นั่งเป็นอนุกรรมการชุดนี้ด้วย ทั้งนี้คำสั่งดังกล่าว ลงนามโดย ศาสตราจารย์คลินิกสรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ โดยสั่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ระบุข้อมูล ดังนี้ ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้มีคำสั่ง ที่ 24/2565 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 และ ที่ 48/2565 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 แต่งตั้งและเพิ่มเติมอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการด้านการให้บริการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลไปแล้วนั้น เพื่อให้การดำเนินการของคณะอนุกรรมการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงอาศัย อำนาจตามความในมาตรา 33 […]

กสทช. ออกประกาศ ห้ามทีวีโฆษณา “หวยออนไลน์” ชี้เป็นการพนันชนิดหนึ่ง

26 ม.ค. 2566 – คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ออกประกาศถึงผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เรื่องการโฆษณาหรือการนำเสนอเนื้อหารายการเกี่ยวกับสลากกินแบ่งรัฐบาล สลากออนไลน์ ลอตเตอรี่ออนไลน์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการเผยแพร่โฆษณา และเนื้อหารายการในลักษณะเชิญชวนให้ประชาชนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในกิจการโทรทัศน์ ประกอบกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (สำนักงานสลากฯ) มีหนังสือแจ้งมายังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนำคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ว่ามีผู้ประกอบการเอกชนทำการโฆษณาเชิญชวน เพื่อจูงใจให้ประชาชนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งถือว่าเป็นการพนันชนิดหนึ่ง ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2551 ให้สำนักงานสลากฯ สามารถดำเนินกิจกรรมในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยมิได้เป็นไปเพื่อจูงใจให้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล แม้สำนักงานสลากฯ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล ก็ไม่สามารถโฆษณา และประชาสัมพันธ์เพื่อจูงใจให้ประชาชนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ แต่มาตรา 39/2 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติห้ามมิให้มีการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลแก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ นอกจากนี้ การออกอากาศเนื้อหารายการหรือโฆษณาดังกล่าว อาจเข้าข่ายเป็นการชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร หรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด หรือเป็นการยินยอมให้เด็กเล่นการพนัน อันขัดต่อมาตรา […]

กสทช. แนะคนไทยใช้ “เสาก้างปลา” แก้ปัญหาดูบอลโลกไม่ได้

3 ธันวาคม มีรายงาน สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จัดทำข้อมูลในการรับชมถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย 2022 ที่ประเทศกาตาร์ หลังจากที่มีการประชุมร่วมกับตัวแทนการกีฬาแห่งประเทศไทย( กกท.) ทีวีและกล่องรับสัญญาณดาวเทียมและผู้ให้บริการโครงข่าย มีมติงดการส่งสัญญาณดาวเทียมถ่ายทอดสด ไปยังจานซี-แบรนด์( C-Band) หรือ จานดาวเทียมตะแกรงดำ โดยการรับชมผ่านระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ของครัวเรือน และ โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก กล่องรับสัญญาณกลุ่มทรูจำนวน 4 ล้านกล่อง และ กล่องรับสัญญาณ Good TV จำนวน 21,715 กล่อง และกล่องรับสัญญาณดาวเทียมในระบบ KU Band ไม่ต้องดำเนินการใดสามารถรับชมได้ตามปกติ ทว่ากล่อง PSI. S2 จำนวน 11 ล้านกล่อง ต้องตรวจสอบเรื่องมาตรฐานการเข้ารหัสขั้นสูงเพิ่มเติม ส่วนกล่องรับสัญญาณดาวเทียมในระบบ C- Band (จานดำ) ได้แก่ กล่องไอเดีย IDEA SAT, […]

กสทช. เผย “ทรู” ยอมให้ “ทีวีดิจิตอล” ถ่ายทอดบอลโลกแบบคู่ขนานแล้ว

22 พ.ย.2565 นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจากได้มีการพิจารณาตามหนังสือที่ทางสมาคมโทรทัศน์ระบดิจิตอล(ประเทศไทย) ได้ยื่นมาสำหรับที่จะมีการขอให้ทบทวนการจับฉลากการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) 2022 อีกครั้งนั้น จึงได้มีการหารือร่วมกับทางการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน โดยได้ขอความร่วมมือจากทรู ให้คืนโควตาถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย จำนวน 16 นัดกลับมาให้ กกท. นำมาจัดสรรให้กับทีวีดิจิตอลถ่ายทอดสดแบบคู่ขนาน โดยจะมีการจัดสรรให้ทีวีดิจิตอลถ่ายทอดสดกับช่องทรู ซึ่งเป็นหน้าที่กกท.ต้องดำเนินการ ว่าจะจัดสรรอย่างไร รอบใด และคู่ใดบ้าง ขณะนี้ได้มีการประสานกับทรู และทางทรูไม่ขัดข้อง   ข่าวจาก : ข่าวสด

ทีวีดิจิทัลบุก กสทช. 10โมงวันนี้ หลังผู้ชมอดดูสดบอลโลกผ่านแพลตฟอร์มอื่น

กรณี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยนายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ รองผู้อำนวยการด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ออกหนังสือ เรื่อง การแจ้งสิทธิการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (FIFA World Cup Final 2022) ระบุว่า สิทธิการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (FIFA World Cup Final 2022) ของกลุ่มทรู และขอให้ดำเนินการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (FIFA World Cup Final 2022) โดยไม่ละเมิดสิทธิของกลุ่มทรู เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการถ่ายทอดสดการแข่งขันบนระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Transmission) จะมีการนำไปเผยแพร่ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป พ.ศ.2555 ได้เฉพาะบนระบบดาวเทียม (Satellite Transmission) และระบบเคเบิล (Cable Transmission) เท่านั้น ไม่รวมถึงบนระบบไอพีทีวี […]

เอไอเอส ซัด มีขบวนการปล่อยข่าวเท็จ เล็งดำเนินคดีผู้อยู่เบื้องหลัง-สื่อ

21 สิงหาคม เอไอเอสเผยแพร่เอกสารชี้แจง กรณีมีข่าวเผยแพร่ในสื่อบนออนไลน์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 พาดหัวข่าว “กสทช” ชี้ “เอไอเอส” ไม่มีหน้าที่กำหนดเงื่อนไขควบรวมทรูดีแทค” เป็นข่าวเท็จ โดยในข่าวระบุว่า “นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส ได้เข้าพบ กสทช. และเสนอให้ กสทช. สั่งห้ามไม่ให้บริษัทใหม่ที่เกิดจากการรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทครวมคลื่นความถี่ของทรูและดีแทคไว้ใช้งานร่วมกัน…” เป็นความเท็จ นายสมชัย CEO เอไอเอสไม่เคยไปพบ กสทช. ในเรื่องนี้ ที่ผ่านมา เอไอเอส ได้มีการแสดงความเห็นในกรณีนี้อย่างเปิดเผย ต่อ กสทช. และ หน่วยงานของรัฐ เช่น กรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา การแสดงความเห็นในการอภิปรายสาธารณะที่จัดโดยหน่วยงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคต่างๆ และ กสทช ไม่เคยมีการแจ้งตอบกลับความเห็นของเอไอเอส อีกทั้ง รายงานข่าวนี้ยังไม่มีแหล่งที่มาของผู้ให้ข้อมูลอย่างชัดเจน เพียงแค่ใช้คำว่า กระแสข่าว และ แหล่งข่าวจาก กสทช. เท่านั้น ซึ่งได้สร้างความเข้าใจผิดต่อสาธารณชนและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทอย่างมาก นอกจากนี้ ในข่าวยังมีความพยายามบิดเบือนข้อมูล […]

1 2 3 7
error: