กรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดสินเชื่อ 500 ล้าน จ่ายสมทบ “ปุ๋ยคนละครึ่ง” ช่วยชาวนา

Advertisement มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 25 มิถุนายน 2567 ได้เห็นชอบโครงการสนับสนุนปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว นํ้าปีการผลิต 2567/68 หรือ “ปุ๋ยและชีวภัณฑ์คนละครึ่ง” วัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถลดต้นทุนการผลิตจากการซื้อปุ๋ย โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าปุ๋ยและชีวภัณฑ์คนละครึ่ง งบประมาณ 29,980.17 ล้านบาท ในโครงการนี้ “กรมส่งเสริมสหกรณ์”ได้รับมอบหมายให้จัดหาสหกรณ์การเกษตร เป็นจุดกระจายปุ๋ยและชีวภัณฑ์ ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับตั้งแต่เกษตรกรมีคำสั่งซื้อ Advertisement “ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ถึงแผนงานการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาลในโครงการนี้ ลุยดึงสหกรณ์ช่วยกระจายปุ๋ย นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า โครงการปุ๋ยและชีวภัณฑ์คนละครึ่ง เป็นโครงการที่กรมการข้าว เป็นผู้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต โดยสนับสนุนปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ และชีวภัณฑ์ โดยที่ให้รัฐบาลออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง ชาวนาออกอีกครึ่งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยตามสูตรที่ทางกรมการข้าวกำหนด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการทำนาของเกษตรกรทั้งลดต้นทุนการผลิตและทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ เนื่องจาก “สหกรณ์การเกษตร” มีกลุ่มอุปกรณ์ทางการตลาด เช่น โกดัง ในการเก็บสินค้า เป็นต้น ซึ่งโดยปกติโกดังจะใช้เก็บข้าว แต่ตอนต้นฤดูยังไม่มีข้าว […]

“สมาคมชาวนา”ยื่น 7 ข้อเสนอรัฐ แลกยกเลิกแผนช่วยปลูกข้าวไร่ละ1,000

หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบวงเงิน จำนวน 56,321.07 ล้านบาท สำหรับโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดยมีเป้าหมายเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2556/67 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ผ่านการจ่ายเงินให้เกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาทมาตรการดังกล่าวแม้ชาวนาจะได้รับประโยชน์เป็นเงินจ่ายตรงแต่ในทางปฎิบัติมีข้อสังเกตถึงข้อจำกัดและข้อควรระวังเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ กระทั่งมีแนวโน้มว่าในระยะยาวอาจต้องยกเลิกมาตรการนี้ไปในที่สุด นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เปิดเผยว่ามาตรการช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท นั้นเป็นประโยชน์ต่อชาวนาโดยตรงต่อชาวนา 4.7 ล้านครัวเรือน เช่นเดียวกับโครงการชะลอการขายที่เป็นยุ้งฉางที่เป็นของชาวนาเอง สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวนา หากรัฐบาลมีแนวโน้มจะยกเลิก มาตรการช่วยเหลือชาวนาของรัฐบาลอัตราไร่ละ 1,000 บาท โดยอ้างว่าเพื่อ ไม่ให้เป็นภาระต่อภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือดูแล และชดเชยเกินความจำเป็นนั้น ทางสมาคมฯก็ไม่ขัดข้อง เพราะรัฐบาลคงไม่สามารถจะอุดหนุนเกษตรกรชาวนาไปได้ตลอด ในขณะที่ชาวนาต้องการที่จะยืนได้ด้วยตัวเองแต่รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนชาวนาตามข้อเรียกร้อง 7 ข้อที่เสนอมาโดยตลอด สำหรับข้อเรียกร้องประกอบด้วย 1. ขยายแหล่งน้ำให้ทั่วถึง 2. […]

ทำเนียบส่งหนังสือด่วน 5 หน่วยงาน จ่อเลิกจ่ายเงินอุดหนุนช่วยเกษตรกร

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า ขณะนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว(ล)25288 แจ้งถึงกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ถึงการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกร หนังสือราชการดังกล่าวมีสาระสำคัญ โดยระบุมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ขอให้การช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป ขอให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่า เพื่อยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศ เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์ม และอ้อย รวมถึงพัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็งและเกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ทำให้เกษตรกรที่เพาะปลูกพืชดังกล่าวสามารถประกอบอาชีพของตนได้อย่างมีศักยภาพ มีรายได้พอเพียงแก่การดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน โดยไม่เป็นภาระต่อภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือดูแล และชดเชยเกินจำเป็น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดเป็นหลักการว่า ในการจัดทำมาตรการ/โครงการเพื่อสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและภาคเกษตรต่อจากนี้ไป ให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร พร้อมทั้งให้พิจารณาดำเนินมาตรการ/โครงการในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนการเพิ่มระดับผลิตภาพ (Productivity) ของภาคการเกษตรการพัฒนาภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือเป็นการยกระดับกระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้ของตนเองได้อย่างเพียงพอได้ในระยะยาวและดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีความยั่งยืนต่อไป ท้ายหนังสือด่วนฉบับนี้ยัง ระบุว่า ขอให้หน่วยงานต่าง ๆ […]

ธ.ก.ส.โอนช่วย ‘ชาวนา’ ไร่ละ 1,000 บ.แล้ว วันแรก 9 พันล้าน

28 พฤศจิกายน หลังจาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กดปุ่ม Kick off ธ.ก.ส.โอนเงิน มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/2567 ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวงวดแรก ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน หรือไม่เกินครัวเรือนละ 20,000 บาท ตามโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/2567 ซึ่งเริ่มโอนวันที่ 28 พ.ย.2566 เป็นวันแรก เป็นเงินล็อตแรก 9,000 ล้านบาท และทยอยโอนในวันถัดไป ประมาณวันละ 10,000 ล้านบาท ระยะเวลา 5 วัน สิ้นสุดการโอนในวันที่ 2 ธ.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศเช้าวันนี้ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีประชาชนชาวบึงกาฬเริ่มทยอยเดินทางมาปรับสมุดบัญชีเงินฝาก และทำธุรกรรมทางการเงินแล้ว โดยนายศศิพงศ์ โพธิ์ศรี ผอ.ธ.ก.ส.บึงกาฬ ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า การจ่ายเงินงวดแรกวันที่ […]

ธ.ก.ส. อัปเดตสถานะโอนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000

“เงินช่วยเหลือชาวนา” ปีการผลิต 2566/67 ไร่ละ 1,000 บาท หรือ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2556/67 หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมาได้มีมติเห็นชอบมาตรการให้เงินช่วยเหลือชาวนา โดยมีเป้าหมายจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวผ่านบัญชี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จำนวน 4.68 ล้านครัวเรือน เงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาปี 2566/67 จ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่/ครัวเรือน หรือช่วยเหลือไม่เกิน 20,000 บาท/ครัวเรือน วงเงิน 56,321.07 ล้านบาท เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถตรวจสอบผลการรับการสนับสนุนตามโครงการรัฐ แบบง่ายๆผ่านเว็บไซต์ 1.ตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกร จากการขึ้นทะเบียนกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566 ที่นี่ คลิก https://farmer.doae.go.th/ เมื่อตรวจสอบสิทธิ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว ให้คลิกตรวจสอบสถานะโอนเงิน ผ่านเว็บไซต์ คลิก chongkho.inbaac.com โดยไม่ต้องไปธนาคารตามขั้นตอน ดังนี้ เข้าไปที่ https://chongkho.inbaac.com/หรือคลิกที่นี่ กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน […]

ธปท. เตือน จ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 เสี่ยงเกิด Moral Hazard

14 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบในหลักการ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 วงเงินงบประมาณจ่ายขาด 56,321.07 ล้านบาท หรือ จ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอ แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ ธปท.ฝศม. 806/2566 เรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (เพิ่มเติม) ระบุถึงการดำเนินโครงการจ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ดังนี้ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือด่วนที่สุดที่ นร 0506/ว(ล) 24405 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 แจ้งว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอเรื่อง มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 (เพิ่มเติม) ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา โดยขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาเสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม. […]

เศรษฐกิจซบหนัก “ชาวนา-เจ้าของธุรกิจ” แห่ขายที่ดิน-ทรัพย์สิน แข่งลดกระหน่ำ

11 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันด้วยภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก ทำให้มีเจ้าของที่นาและที่ดินนำที่ดินออกมาประกาศขาย เช่น ถนนสายเอเชียตลอดสองข้างทางมีปักป้ายขายที่ดินหลายแปลง ทั้งนี้จากการสอบถามเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่ง ซึ่งอยู่บริเวณจ.อยุธยา ได้นำที่นาเดิมจำนวน 21 ไร่ มาประกาศขายเนื่องจากด้วยภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ทำนาแล้วไม่คุ้ม เพราะต้นทุนแพง ประกอบกับอายุมากและไม่มีคนรับช่วง รวมถึงต้องการเงินกัอนใหญ่ส่งลูกเรียนหนังสือและทำอาชีพอื่น โดยตั้งราคาขายไว้ 73.5 ล้านบาท หรือไร่ละ 3.5 ล้านบาท/ไร่ ต่ำกว่าราคาที่กรมที่ดินประเมินไว้ 4 ล้านบาท/ไร่ ด้าน นายศุภศักดิ์ รุ่งเจิดฟ้า นักธุรกิจขนส่งจ.นครสวรรค์ กล่าวว่า ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เนื้อที่ 44 ไร่ ติดถนนสายเอเชีย ช่วงจ.อ่างทอง ซึ่งเป็นโรงสีเก่า มาประกาศขาย เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ตั้งราคาไว้ที่ 100 ล้านบาทหรือไร่ละกว่า 2 ล้านบาท เป็นราคาที่ลดลงจากเดิมที่ซื้อมาไร่ละ 2.8 ล้านบาทเมื่อปี 2557 ซึ่งตอนนั้นตั้งใจจะทำธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งและโรงงานประกอบ แต่พอมีเปลี่ยนรัฐบาลแล้วเศรษฐกิจไม่ดีจึงชะลอและตัดสินใจจะขายเพื่อลดภาระดอกเบี้ย โดยประกาศขายมา 2 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีคนซื้อ […]

ให้ผมหลบไปทางไหน? ตากข้าวเต็มถนน ขับผ่านไม่ได้ ยังโดนชาวนาด่าอีก

หลังจากที่มีกระแสดรามา เรื่องการตากข้าวกลางถนนอย่างต่อเนื่อง เพราะช่วงนี้เป็นช่วงหลังการเก็บเกี่ยว ทางชาวนาก็ต้องหาที่ว่างในการตากข้าวให้แห้ง ก่อนที่จะนำไปขาย ปรากฏว่าเมื่อวานนี้ (1 ธ.ค.65) เจออีกราย คุณธนวรรธน์ วัฒนาธนารักษ์ ได้โพสต์วิดีโอลงในติ๊กต๊อกระบุว่า เห็นข่าวแบบนี้มา ก็ไม่คิดว่าจะเจอกับตัวเองแบบนี้ เพราะปกติเคยเห็นตากข้าวกลางถนน ก็เข้าใจได้ว่าบางคนมีที่ให้ตาก แต่ก็ควรเว้นที่ให้รถเดินหน่อย แต่วันนี้ที่เจอปรากฏว่า ไม่มีทางให้รถไปเลยแม้แต่ช่องเดียว โดยในคลิปวิดีโอก็จะเห็นว่า ถนนแห่งนี้เป็นถนนเลนเดียวที่ไม่สามารถสวนทางกันได้ แต่ก็มีชาวนาเอาข้าวมาตากแผ่เต็มเลนแบบนี้ ซึ่งเจ้าของข้าวก็ยืนอยู่ ทำให้ผู้โพสต์ต้องพูดออกไปว่า ต้องขออนุญาตแล้วกัน ต้องผ่านเส้นนี้ 2-3 ครั้ง เพราะตากกันแบบนี้ ทำเอาโซเชียลต่างแห่คอนเมนต์ว่า ถ้าตากเสร็จ ชาวนาคงไม่ต้องไปโรงสีข้าวแล้ว เพราะมันน่าจะโดนบดจนเปลือกร่อนออกมาแล้ว   ข่าวจาก : ch3plus

ทุกข์ชาวนา ต้องซื้อเติมเครื่องสูบน้ำแพงสุด วันละ1,000บาท เหตุน้ำมันแพง

13 มิถุนายน 2565 ชาวนาในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมากำลังเตรียมไถนาหว่านข้าวนาปี ช่วงฤดูกาลเพาะปลูกข้าว แต่ทุกรายต่างประสบปัญหาภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะราคาปุ๋ยและราคาน้ำมันพุ่งแพงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนายมงคล ตลับกลาง อายุ 64 ปี ชาวนารายหนึ่งในตำบลดอนชมพู อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ช่วงนี้ปุ๋ยมีราคาแพงมาก ทำให้ชาวนาต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น โดยตนลงทุนปลูกข้าว จำนวน 11 ไร่ ต้องใช้ปุ๋ยยูเรีย ไร่ละ 2 กระสอบ รวมจำนวน 22 กระสอบต่อการปลูกข้าวแต่ละครั้งไปจนถึงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา ตนซื้อปุ๋ยราคาเพียงกระสอบละ 700 บาทเท่านั้น แต่มาในปีนี้ ต้องจำใจยอมซื้อปุ๋ยในราคาที่แพงมาก กระสอบละ 1,650 บาท นับว่าราคาปุ๋ยแพงมากสุดเท่าที่เคยปลูกข้าวมา   และในช่วงนี้ เป็นช่วงที่ต้นกล้ากำลังเจริญเติบโต ตนต้องสูบน้ำเข้านาเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าว จะต้องลงทุนซื้อน้ำมันดีเซล มาเติมเครื่องสูบน้ำ อีกวันละ 1,000 บาท เมื่อก่อนซื้อน้ำมันสูบน้ำเข้านา เพียงวันละ 500-600 บาท เท่านั้น นับเป็นค่าใช้จ่ายลงทุนทำนาที่สูงมาก จึงอยากให้ภาครัฐช่วยลดราคาน้ำมันลงอีก […]

ชาวนาออกหาขุดปูนาหารายได้เสริม ทดแทนราคาข้าวที่ยังตกต่ำหนัก

ชาวนาในพื้นที่บ้านหนองแวง ออกเดินตระเวนหาขุดปูนาขายเลี้ยงชีพ สร้างรายได้เสริมทดแทนช่วงข้าวราคาตกต่ำหนัก! วันที่ 22 พ.ย.64 หลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกขึ้นยุ้งฉางแล้วในช่วงนี้ในหลายพื้นที่ ซึ่งชาวนายังต้องช้ำหนักขายข้าวไม้ได้ราคาถูกกว่าขายรำข้าว ราคาตกต่ำหนักกิโลกรัมไม่ถึง 5 บาท ชาวนาบ้านหนองแวง ต.บ้านเพชร อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ หลังเก็บเกี่ยวข้างในนาเสร็จแล้วก็จะพากันถือ จอบ เสียม และถังหนึ่งใบ เดินออกจากบ้านลงไปไร่นาใกล้บ้านกันตั้งแต่กินข้าวช่วงเช้าเสร็จ เพื่อไปหาขุดปูนา ซึ่งถือเป็นมรดกดินของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือชาวอีสาน มายาวนานแต่โบราณ เพื่อนำมาเป็นอาหาร และส่วนที่เหลือก็นำไปขายสร้างรายได้เสริมอีกทาง หลังการเก็บเกี่ยวข้าวในนาเสร็จ และเป็นช่วงเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว หรือหน้าหนาว โดยอาศัยประสบการณ์และความชำนาญในการสังเกตว่าจะมีปูนาอาศัยอยู่ตรงจุดไหน โดยอาศัยการดูตามจากรอยเท้าปูไป และจะเห็นกองดินเล็ก ๆ ที่ปูขุดไว้ที่ปากหลุม ซึ่งส่วนใหญ่มักอยู่ใต้ตอซังข้าวหรือตามขอบคันนา ก่อนใช้เสียมค่อยๆ ขุดเซาะโพลงไปเรื่อย ๆ ตามความลึกของรูปูเริ่มตั้งแต่ 30-50 เซนติเมตร โดยไม่ต้องใช้แรงมากเพื่อไม่ให้เสียมถูกตัวปูขาดได้รับบาดเจ็บ หรือตายได้ เพราะจะทำให้ราคาจำหน่ายไม่ดีเท่าปูที่ยังมีชีวิตเป็นๆ ซึ่งปูนาตัวผู้จะมีก้ามใหญ่กว่าตัวเมีย ซึ่งตัวเมียจะมีลักษณะกลมกว้างกว่าเพื่อเอาไว้เก็บไข่แพร่พันธุ์ สำหรับปูนาในช่วงนี้ ที่เป็นหน้าหนาว จะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมาก ถือเป็นอาหารโปรตีนสูงราคาถูกเนื่องจากปูในช่วงนี้กัดกินต้นข้าวในนาทำให้ตัวโตสมบูรณ์จนมีมันปูในกระดองเยอะ ซึ่งมันปูนานี้รสชาติจะหอม หวาน มัน โดยเฉพาะปูนาตัวเมียจะมีรสชาติเป็นที่ต้องการมาก ซี่งปูนาสามารถนำไปทำอาหารเด็ดๆ […]

1 2
error: