ถอดบทเรียนสิงคโปร์ซื้อ ‘สัมปทานรถไฟฟ้า’ คืนแก้ปัญหาราคาตั๋วแพง

Advertisement สิงคโปร์ เป็นหนึ่งประเทศที่มีขนส่งสาธารณะดีอันดับต้นๆ ของโลก โดย สำนักข่าวซีเอ็นเอ (CNA) รายงานว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีคุณภาพขนส่งสารธารณะดีอันดับที่ 3 ของโลกเป็นรองเพียงฮ่องกงและเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามการจัดอันดับของ Mobility Index Ranking 2023 ของบริษัทสัญชาติอเมริกันอย่าง Oliver Wyman Forum Advertisement อย่างไรก็ตาม ดร. สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่ง และโลจิสติกส์ สถาบันเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้สัมภาษณ์พิเศษกรุงเทพธุรกิจว่า หากย้อนกลับไปในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นช่วงแรกๆ ที่สิงคโปร์เริ่มพัฒนาระบบรถไฟฟ้าใต้ดินก็เผชิญปัญหาเรื่อง “สัญญาสัมปทาน” คล้ายประเทศไทย ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า ปัญหาสำคัญปัจจุบันของระบบรถไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดินของประเทศไทยปัจจุบันคือผู้ใช้บริการไม่สามารถเดินเชื่อมต่อกันในแต่ละสถานีได้โดยไม่ต้องออกจากประตูและใช้บัตรใบเดียว ยกตัวอย่างให้เห็นภาพคือหากผู้ใช้งานคนหนึ่งต้องการเดินทางจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเพื่อไปต่อรถไฟฟ้าใต้ดินหากเป็นประเทศที่ระบบขนส่งสาธารณะออกแบบมาอย่างดี ผู้ใช้งานจะสามารถใช้บัตรใบเดียวในการเดินทางเปลี่ยนจากบีทีเอสไปเป็นเอ็มอาร์ทีได้โดยไม่ต้องเดินออกจากประตู แต่สำหรับประเทศไทยในหลายสถานีผู้ใช้บริการยังต้องออกจากสถานีบีทีเอสเพื่อไปซื้อตั๋วเอ็มอาร์ทีใหม่ซึ่งสร้างความไม่สะดวกสบายและทำลายต้นทุนด้านเวลาของผู้ใช้บริการอย่างเห็นได้ชัด โดยดร. สุเมธ กล่าวว่า หนึ่งปัญหาสำคัญคือปัจจุบันรถไฟฟ้าแต่ละสายไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ภายใต้ระบบเดียว คือภาครัฐไทยไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาสัมปทานแบบเอกชนร่วมทุน (PPP) ตั้งแต่ต้นว่ารถไฟฟ้าแต่ละสายต้องเชื่อมต่อกัน ปัจจุบันภาครัฐไทยให้สัมปทานเอกชนเพื่อเดินรถไฟฟ้าไปแล้ว 6 ฉบับภายในระยะเวลา 20 ปี […]

error: