เปิดช่วงย้ายทะเบียนบ้าน รับเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต พร้อมขั้นตอนยืนยันตัวตน

Advertisement 25 พฤษภาคม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดไทม์ไลน์การดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต โดยจะเริ่มลงทะเบียนทั้งร้านค้าและประชาชนภายในไตรมาสที่ 3 และโอนเงินเข้าวอลเล็ตให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อใช้จ่ายในไตรมาสที่ 4 ในปี 2567 นั้น Advertisement สำหรับประชาชนที่ต้องการย้ายที่อยู่ในทะเบียนบ้าน สามารถดำเนินการได้ในช่วงก่อนจะถึงวันลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเมื่อมีการลงทะเบียนแล้ว จะไม่สามารถย้ายได้อีก “การย้ายทะเบียนบ้าน เราขีดเส้นที่วันลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ” สำหรับการยืนยันตัวตน ประชาชนที่มีสิทธิต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “ทางรัฐ” แล้วลงทะเบียนเข้าร่วม-ยืนยันตัวตน ซึ่งจะมีกระบวนการตรวจสอบสิทธิต่อไป ทั้งเรื่องรายได้ บัญชีเงินฝาก หรืออายุ และเมื่อตรวจสอบเสร็จจะมีข้อความให้กดยืนยันสิทธิเพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยมี 2 กลุ่ม จะมีขั้นตอนเข้าร่วมโครงการต่างกันดังนี้ Advertisement -ประชาชนที่เคยยืนยันตัวตนผ่านโครงการรัฐในหลายๆ โครงการ ไม่ต้องยืนยันตัวตนใหม่ ถือว่าขึ้นทะเบียนอยู่ในระบบ แต่ต้องมีการยืนยันรับสิทธิเข้าร่วมโครงการ และรอยืนยันสิทธิ –ผู้ไม่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐมาก่อน ต้องทำกระบวนการยืนยันตัวตนตั้งแต่ต้น และยืนยันรับสิทธิเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ ประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน […]

“แบงก์ชาติ” ส่งหนังสือถึง ครม. แนะทบทวน “ดิจิทัล วอลเล็ต”

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต 5 แสนล้านบาท ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เริ่มดำเนินโครงการได้นั้นมีหลายหน่วยงานที่ส่งความเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม. นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดลงเลขที่ ธปท.ฝกม. 285 /2567 เรื่อง โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต ธปท.มีความห่วงใยและตั้งข้อสังเกตในโครงการดังนี้ 1.ความจำเป็นในการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของรัฐบาลควรทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ในขอบเขตที่ครอบคลุมเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น (targeted) เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ อย่างมีประสิทธิผลคุ้มค่า และใช้งบประมาณลดลง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เช่น กลุ่มผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 15 ล้านคน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที และใช้งบประมาณ 150,000 ล้านบาท เนื่องจากคนกลุ่มรายได้น้อยมีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อบริโภคสูงกว่ากลุ่มรายได้อื่น และมักซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศมากกว่าสินค้านำเข้า นอกจากนี้ควรพิจารณาดำเนินโครงการแบบแบ่งเป็นระยะ (phasing) เพื่อลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลังด้วย ทั้งนี้ ความจำเป็นที่จะกระตุ้นการบริโภคในวงกว้างมีไม่มาก โดยในปี 2566 การบริโภคภาคเอกชนของไทยขยายตัวได้ที่ […]

ครม.ไฟเขียว“เคเอฟซี-แมคโดนัลด์-ชาบู” เข้าเกณฑ์ดิจิทัลวอลเลต

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง พร้อมด้วยหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล ประกอบด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯและ รมว.พลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม หัวหน้าพรรคประชาชาติ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ร่วมกันแถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยนายเศรษฐากล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเลต โดยรับทราบผลการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงและความเห็นของคณะทำงาน และเห็นชอบหลักการของกรอบหลักการ โครงการ ทั้งเรื่องกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการ แนวทางการเข้าร่วมโครงการของประชาชน เงื่อนไขการใช้จ่าย ประเภทสินค้า การลงทะเบียนร้านค้า รวมถึงแหล่งเงิน การดำเนินโครงการ ซึ่งทางกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และสำนักงบประมาณ จะศึกษารายละเอียดต่อไป ส่วนข้อห่วงใยใด ๆ เช่น […]

สินค้าที่ไม่เข้าร่วม “เงินดิจิทัล 1 หมื่น” ผ่านมติ ครม. ล่าสุด

“เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ตามมติคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 และมีมติเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ประเด็นที่สำคัญของเงินดิจิมทัล 1 หมื่นบาทที่ประชาชนต้องกาารรับทราบข้อมูลเป็นอย่างมากก็คือ เงินดิจิทัลวอลเล็ตดังกล่าวสามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง จากการให้ข้อมูลของนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โฆษกกระทรวงการคลัง ระบุว่า สินค้าที่ไม่เข้าร่วมรายการ “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ประกอบด้วย สลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม ผลิตภัณฑ์กัญชา-กระท่อม บัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ เพชร พลอย […]

‘จุลพันธ์’ ยันไม่ได้กู้ธ.ก.ส. แจกดิจิทัลวอลเล็ต แค่เป็นกลไกใช้งบประมาณ

23 เมษายน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวถึงกรณีสหภาพธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าพบที่กระทรวงการคลังเมื่อวานนี้ (22 เม.ย.) เพื่อขอให้ชี้แจงกรณีที่จะนำเงินของ ธ.ก.ส.ไปใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตใน 5 ประเด็นว่า เมื่อวานได้นั่งพูดคุยกันและชี้แจงเรียบร้อยดี และก็เข้าใจตรงกัน ยืนยันว่าไม่มีปัญหา ซึ่งพวกเขาก็ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย โดยทางคณะกรรมการ และกระทรวงการคลังก็ได้ตรวจสอบทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ยืนยันว่าทุกอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามรัฐบาลต้องการความมั่นใจ ว่ามีขั้นตอนทางกฎหมายอะไรที่รัฐบาลต้องทำ เช่น ส่งให้ทางสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบซึ่งก็ต้องทำ ส่วนได้กำหนดระยะเวลาให้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบหรือไม่ นายจุลพันธ์กล่าวว่า ยังไม่ใช่ตอนนี้ เพราะทุกอย่างมีระยะเวลาของมัน แต่อย่างไรก็ตามตนยืนยันว่าไม่มีความกังวล เพราะรัฐบาลมั่นใจว่าทุกอย่างทำตามกรอบกฎหมายชัดเจน นายจุลพันธ์ยืนยันถึง 5 ข้อสงสัยของสหภาพแรงงาน ธ.ก.ส. ว่าสามารถชี้แจงได้หมด รวมถึงแหล่งที่มาของเงิน ส่วนเรื่องของสภาพคล่องไม่น่าเป็นห่วง เพราะ ธ.ก.ส.สามารถบริหารจัดการได้ โดยกลไกปกติผ่านการบริหารจัดการของธนาคาร ส่วนการชำระเงินคืนก็เป็นไปตามกลไกของงบประมาณ ที่รัฐบาลจะต้องมีกลไกในการชำระคืน ตาม ม.28 ให้กับ ธ.ก.ส.ในแต่ละปี พร้อมยืนยันว่าส่วนตัวไม่กลัวว่าจะเกิดแรงกระเพื่อมเพราะเมื่อวานได้พูดคุยกันเป็นไปอย่างเรียบร้อยดี และเข้าใจตรงกัน เมื่อถามว่า ขณะนี้รัฐบาลเป็นหนี้ ธ.ก.ส.อยู่ประมาณเท่าไหร่ นายจุลพันธ์ตอบว่า ประมาณ […]

ปชช.ไม่รู้จักแอป “ทางรัฐ” ช่องทางรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต

หลังนายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยช่องทางการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทว่าจะใช้แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA โดยประชาชนต้องลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนรับสิทธิช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ และจะใช้จ่ายได้ในช่วงไตรมาส 4 แต่จากการสอบถามประชาชนส่วนใหญ่บอกเป็นเสียงเดียวกันไม่เคยได้ยินชื่อแอปฯ นี้มาก่อน พร้อมมองว่าอยากให้รัฐบาลแจกเป็นเงินมาเลย หรือแจกผ่านแอปฯ เป๋าตังจะสะดวกมากกว่า จากการสอบถามประชาชนส่วนใหญ่ยังบอกด้วยว่าไม่คาดหวังกับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทแล้ว หากได้ก็ดี หากไม่ได้ก็ไม่คาดหวัง แต่ก็ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังรอและหวังว่าจะได้ภายในสิ้นปีตามที่รัฐบาลบอก ไม่ว่าจะแจกผ่านช่องทางใดรับได้หมด ขอแค่ให้แจกจริง ทั้งนี้แอปฯ ทางรัฐเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2564 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลร่วมกับหลายหน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, กรมการปกครอง, สำนักงานประกันสังคน และเครดิตบูโร เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้ในช่องทางเดียว ปัจจุบันประชาชนสามารถรับบริการจากภาครัฐกว่า 149 รายการ ผ่านแอปฯ ทางรัฐไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบเครดิตบูโร เช็กค่าน้ำ ค่าไฟ จ่ายบิล ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ใบสั่งจราจร เป็นต้น ส่วนที่ไม่เลือกใช้แอปฯ เป๋าตังในการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต เนื่องจากแอปฯ ทางรัฐเป็นของรัฐจริง […]

สิ่งที่เจ้าของสิทธิ 50 ล้านคนรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต ต้องรู้

หลังจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet สรุปความชัดเจนโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตในไตรมาส 4 สำหรับกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เช่น กลุ่มเปราะบาง เกษตรกร เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวและชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ สามารถพึ่งพาตนเองได้รวมทั้งสร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม เช็กเกณฑ์ 50 ล้านคน-เงื่อนไขการใช้จ่าย กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน อายุเกิน 16 ปี เดือนที่มีการลงทะเบียน ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี และมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท เงื่อนไขการใช้จ่าย ระหว่างประชาชนกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยกำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอและขนาดของร้านค้า การใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ โดยรอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น […]

นายกฯ กระทุ้งแรงแบงก์ชาติ หั่นดอกเบี้ย ชี้กระทบค่าใช้จ่ายปชช.

6 กุมภาพันธ์ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก่อนเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้สัมภาษณ์ถึงโอกาสที่จะนัดคุยกับนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในมิติต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจว่า ขออนุญาตเรียนว่าจริงๆ แล้วเรื่องนโยบายการเงินการคลังเราคุยผ่านสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เรื่องตัวเลขเหล่านี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ได้อธิบายแล้ว เรื่องตรรกะเงินเฟ้อที่มาได้อย่างไรเรื่องที่เรามีมาตรการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนลดค่าใช้จ่ายมาอย่างไร นายเศรษฐากล่าวว่า ขออนุญาตเรียนว่าจริงๆ แล้วเรื่องเงินเฟ้อกับดอกเบี้ยเป็นเรื่องใหญ่ แต่เราอย่าลืมว่าจริงๆ แล้วเงินเฟ้อที่มันติดลบส่วนหนึ่งเกิดจากที่เรามีมาตรการรัฐออกไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเพื่อลดรายจ่าย นั่นแสดงให้เห็นว่าจริงๆ แล้วตรงนี้ประเด็นเรื่องเงินเฟ้อไม่มี ถ้าจะมีเกิดจากรากปัญหา คือ ต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น แต่เมื่อเราไปคุมตรงนั้นได้เงินเฟ้อก็ไม่มี นายเศรษฐากล่าวอีกว่า ทั้งนี้มาตรการที่จะขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ลดต้องดูที่เงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการคือเกิดจากการใช้จ่าย แสดงว่าดีมานด์มันไม่มี เงินเฟ้อไม่มี ถ้าตรงนี้ไม่เกิดแสดงว่าปลอดภัยหรือเปล่า ที่จะเลิกลดดอกเบี้ยได้แล้วเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ถ้าเกิดลดดอกเบี้ยมาแล้วเกิดมีปัญหาเรื่องของดีมานซึ่งมันเยอะอยู่แล้วก็อาจจะก่อให้เกิดเงินเฟ้อได้ แต่อย่างนี้ตนคิดว่าดูจากตัวเลขทั้งสองฝ่ายแล้ว Cost-push หรือเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาแพงที่เกิดขึ้นมาในอดีต จริ ๆ แล้วตรงนี้ เชื่อว่าพื้นที่ในการลดดอกเบี้ยมีอีกเยอะมาก ”ฉะนั้น เรื่องการพูดคุย เราได้มีการพูดคุยกันชัดเจนอยู่แล้ว คงเป็นเรื่องความเห็นต่างหรือเรื่องทิฐิผมไม่ทราบ แต่มันชัดเจนอยู่แล้วที่เงินเฟ้อติดลบติดต่อกันมา 4 […]

รมช.คลัง ยอมรับ ดิจิทัลวอลเล็ต แจก10,000บาท ไม่ทันไทมไลน์เดิมพ.ค.นี้

(17 มกราคม 2567) ที่รัฐสภา นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง แถลงถึง กรณีนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต หรือ เงินดิจิทัล 10,000 บาท หลังเลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่งจากที่ป.ป.ช. ยื่นข้อเสนอและหลังมีหนังสือตอบกลับกฤษฎีกา จึงต้องรับฟังความเห็นรอบด้าน ทำให้ไทมไลน์เดิมในเดือนพ.ค.ไม่ทัน แต่ยืนยันว่าจะเดินหน้าต่อ และยืนยันว่าไม่ลดวงเงิน ไม่ลดจำนวนคน ยังคงแนวทางเดิม หลังจากนี้จะนัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อรับฟังความเห็นต่อไป   ข่าวจาก : ฐานเศรษฐกิจ

จีน ‘ฟรีวีซ่า’ ไทย ดีเดย์ 1 มี.ค. 2567 กระตุ้นท่องเที่ยว

(2 ม.ค. 2567) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรก หลังปีใหม่ 2567 ว่า ที่ประชุม ครม. รับทราบ “ฟรีวีซ่า” กรณีที่สาธารณรัฐประชาชนจีน มีมติให้พลเมืองไทย และนักท่องเที่ยวไทย สามารถเดินทางเข้า-ออกจีนได้ โดยไม่ต้องขอวีซ่าซึ่งกันและกัน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2567 เป็นต้นไป เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ และเปิดโอกาสนักท่องเที่ยวทั้ง 2 ประเทศ กระตุ้นท่องเที่ยว นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังมีมติให้เพิ่มวันทำประมง หลังจากมีปัญหาใน IUU ซึ่งเป็นปัญหาของประมงไทยนับแสนคน โดยให้เพิ่มวันทำการประมง แก่เรือประมง 1,200 ลำ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยสร้างงานได้กว่า 12,000 อัตรา และสร้างรายได้ให้ประเทศกว่าพันล้านบาท ซึ่งถือเป็นวาระเร่งด่วน และคืนชีวิตให้แก่ชาวประมงไทย รวมถึงยังมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ […]

1 3 4 5
error: