มาทำงานสาย หักเงินเดือนได้หรือไม่ ? 7 ข้อห้ามที่เจ้าของร้านห้ามทำ ผิดกฎหมายแรงงาน

Advertisement ลูกน้องทำผิดจะหักเงินได้มั้ย? ไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้รึเปล่า? จ้างลูกจ้างพาร์ทไทม์ราคาถูกเพื่อจะได้ประหยัดเงิน? หรือจ้างแรงงานต่างด้าวไปเลยดี? มาลองส่องกฎหมายแรงงานกันดูสักหน่อย กับ 7 ข้อห้ามในการบริหารงานลูกจ้างร้าน Advertisement 1. หักเงินพนักงานมาสาย ทำไม่ได้ เพราะ มาตรา 76 พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ.. 1.ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมาย 2.ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน 3.ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์หรือเงินกู้อื่น ที่เป็นสวัสดิการของลูกจ้าง โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง 4.เงินประกันของเสียหาย หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างโดยลูกจ้างยินยอมเป็นครั้งคราวไป 5.เงินสะสมตามข้อตกลง หรือเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จากข้อกฎหมายจะเห็นได้ว่านายจ้างไม่สามารถหักเงินลูกจ้างได้ในกรณีมาสายหรือทำผิด หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. ลาออกกะทันหัน โดยไม่แจ้งล่วงหน้า แก้ปัญหาด้วยการหักเงินลูกน้อง ทำไม่ได้ เพราะเมื่อลูกจ้างทำงานให้นายจ้างแล้วและค่าจ้างถึงกำหนดจ่ายตามข้อตกลง นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาตามมาตรา 70 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในกรณีนี้หากธุรกิจเกิดความเสียหายเพราะการลาออกของลูกจ้าง […]

error: