แพทย์เผย “สมองเสื่อม” เป็นได้ก่อนอายุ60 แค่43ก็เริ่มมีอาการ

Advertisement 11 ตุลาคม นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า Advertisement “ความเสี่ยงสมองเสื่อมไม่ใช่ต้องอายุมากกว่า 60 ปี อาการออกก่อน 60 ได้ ถ้ามีโรคประจำตัว และตั้งแต่ 43 เริ่มมีเพาะบ่มสมองเสื่อมได้แล้ว!! รู้ก่อนป้องกันได้ เริ่มมีอาการแล้วดึงกลับได้และชะลอได้..” ก่อนจะเขียนข้อเขียนแนะนำไว้ในหัวข้อ “อาหารอะไรช่วยชีวิต แถมสมองดี ไม่ใช้ยา” ด้วยดังนี้ ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา ถือเป็นยุคทองในการได้หลักฐาน ข้อพิสูจน์ ทางวิทยาศาสตร์ ถึงความสำคัญของชนิดและปริมาณของอาหารที่กิน กลไก กระบวนการในการขจัดพิษ ในการเกิดสารดีมีประโยชน์ที่ช่วยปกป้องร่างกาย และสมอง มีผลทั้งป้องกันโรคตั้งแต่ยังไม่เกิด ยังอายุไม่มาก และแม้นเกิดโรคแล้ว ก็ยังสามารถชะลอโรคไม่ให้ลุกลามต่อไป ที่สำคัญคือช่วยได้แม้มะเร็ง และโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียารักษาหรือชะลอ จะมีก็แต่การรักษาตามอาการ และยามีผลข้างเคียงมิหนำซ้ำยังเร่งให้โรคไปเร็วขึ้น ตายเร็วขึ้นไปอีก หลักฐานเหล่านี้ได้จากการติดตามศึกษาประชากรเป็นเวลานานผนวกกับข้อมูลที่ได้ทางวิทยาศาตร์ ลงถึงชื่อสาร กระบวนการ ยีนกำหนด และพิสูจน์ซ้ำในสัตว์ทดลอง อาหารที่ต้องกินและห้ามกินต่อไปนี้ถือว่าควรเริ่มแต่เด็ก […]

“หมอธีระวัฒน์” ชี้ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ไม่ใช่แค่ประหยัด แต่เพื่อความปลอดภัย

‘หมอธีระวัฒน์’ ชี้ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ไม่ใช่แค่ประหยัด แต่เพื่อความปลอดภัย เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า “การฉีดเข้าชั้นผิวหนังไม่ใช่เพื่อความประหยัดอย่างเดียว แต่เพื่อความปลอดภัยเพราะโอกาสที่จะเกิดอันตรายจากวัคซีนทุกวัคซีนมีได้เสมอ ดังนั้นการที่ใช้ปริมาณน้อยกว่าและใช้กลไกในการกระตุ้นภูมิคนละกลไก เป็นข้ออธิบายและพิสูจน์แล้วในประเทศไทย ผลข้างเคียงจากการอักเสบ และกระทบหลายอวัยวะได้ และต่อเนื่องเป้นลูกโซ่ ระบบเลือด สมอง เป็นต้น เร่งฉีดวัคซีน และให้ความมั่นใจ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด”  

หมอธีระวัฒน์ เผยแขนขาอัมพาตเฉียบพลัน ผลข้างเคียงหลังฉีดแอสตร้าฯ

หมอธีระวัฒน์ เผยรายงานวารสารในอินเดีย อังกฤษ ระบุแขนขาอัมพาตเฉียบพลัน กล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาต เป็นผลข้างเคียงหลังฉีดแอสตร้าเซนเนก้า ที่ต้องเฝ้าระวัง เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า แขนขาอัมพาตเฉียบพลันและกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตพร้อมชา รายงานผลข้างเคียงของแอสต้าฯ ความเสี่ยงต่ำแต่เป็นอีกกลุ่มอาการที่ต้องเฝ้าระวัง กลุ่มอาการดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีว่า เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทที่คุมกล้ามเนื้อแขนขาใบหน้า และการรับความรู้สึก (Guillain Barre syndrome) เกิดตามหลังการติดเชื้อหรือวัคซีน โดยที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันวิปริต เข้าใจว่าเส้นประสาทเป็นเชื้อโรคและทำให้เกิดการอักเสบ รายงานสองฉบับนี้ตีพิมพ์ใน วารสาร Annals of Neurology จาก อินเดีย และอังกฤษ รายงานจากอินเดียมีผู้ป่วยเจ็ดรายที่มีอาการหลังฉีดเข็มแรก ภายใน 14 วัน โดยหกในเจ็ดรายนั้นนอกจากแขนขาอ่อนแรงอัมพาต ยังหายใจไม่ได้ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ สี่ในเจ็ดรายมีเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวลูกตาผิดปกติ และการรับความรู้สึกที่ใบหน้าผิดปกติ ในประชากร 1.6 ล้านคนที่ฉีดวัคซีนจะมีกลุ่มอาการดังกล่าวเกิดขึ้นตามปกติ 0.58 ถึงสี่รายในทุกสี่สัปดาห์ แต่ตัวเลข 7 […]

error: