พระพยอมลั่น “ภาษาพาที” สอนไม่ถูกต้อง ทำบุญหมดตัว ไร้ปัญญา

Advertisement 26 เม.ย. 2566 ที่วัดสวนแก้ว ต.บางเลน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ผู้สื่อข่าวเข้าสอบถามความเห็นจากพระราชธรรมนิเทศน์ หรือ พระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว กรณีหนังสือเรียนภาษาพาที ยกตัวอย่างการทำบุญบริจาคเงินจนหมดตัว เป็นการทำบุญบริจาคที่มีจิตใจเป็นสาธารณะเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง จนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ Advertisement พระพยอม กล่าวว่า การสอนให้คนทำบุญทำดีก็ต้องมีขั้นตอน ดั่งเช่นที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ว่า จงอย่าทำบุญให้กระทบกับฐานะและโภคะแห่งตน การทำบุญจนหมดตัวเป็นศรัทธาแบบไร้ปัญญา เรื่องนี้หลวงพ่อพุทธทาสท่านยังเคยกล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญ คนทำบุญเก่ง ทำบุญเยอะ ทำบุญถี่ มีจิตอาสามาก แต่ทรงสรรเสริญคนที่ใคร่ครวญดีแล้วจึงนำออกให้ พระพยอม กล่าวต่อว่า การที่จะนำเนื้อหาอะไรมาสอนเด็กๆ นั้น ต้องระวังให้ดี การไปสอนให้ทำบุญให้บริจาคจนหมดเนื้อหมดตัวแบบนี้มันไม่ถูก เป็นเรื่องผิดพลาดที่ต้องแก้ไข ต้องสอนให้ทำในทางสายกลางให้มันพอดีๆ ทำดีไม่ถูกดี ทำดีไม่ถึงดี เดี๋ยวดีซ่าน ต้องทำดีให้พอดี ศรัทธามีได้แต่ต้องสัทปะยุทธ์ด้วยปัญญา หากศรัทธาโดยไร้ปัญญาจะกลายเป็นศรัทธาเลื่อนลอย และอาจทำให้หมดเนื้อหมดตัวได้ เพราะฉะนั้นศรัทธาจึงต้องมีปัญญากำกับ Advertisement พระพยอม กล่าวอีกว่า การทำบุญมีอยู่ 3 แบบ คือ ทำบุญแบบอาบน้ำโคลน […]

เปิดเนื้อหา‘ภาษาพาที’ หลังเกิดวิวาทะ สอนเด็กกินข้าวคลุกน้ำปลา

จากกรณีที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์ แบบเรียนหนังสือภาษาไทยพาที ระดับชั้น ป.5 ซึ่งมีเนื้อหาว่า กินไข่ต้มครึ่งซีก เหยาะน้ำปลา หรือ ข้าวเปล่าคลุกน้ำผัดผักบุ้ง ทำให้ตัวละครในหนังสือมีความสุข ถือเป็นการพอเพียง เห็นคุณค่าของชีวิต ส่งผลให้สังคมตั้งคำถาม ถึงโภชาการของเด็ก และการมองโลกอย่างโรแมนติกมากเกินไป ตามที่มีการนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแบบเรียนที่เป็นประเด็นนั้น อยู่ในหนังสือ “ภาษา พาที” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขื้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 จัดทำต้นฉบับโดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ลิขสิทธิของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดพิมพ์โดย องค์การค้าของ สกสศ. โดยเนื้อหาที่สอนให้เด็กกินข้าวเปล่าคลุกไข่ต้มและเหลัน้ำปลานั้น อยู่ในบทที่ 9 “ชีวิตมีค่า” โดยบทนี้จะมุ่งสอนให้เด็กรู้ว่า ชีวิตนั้นมีค่า คนเราเกินมามีค่าทุกคน มีน้ำใจไมตรี มุ่งทำความดี ไม่นานจะเห็นผล เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงกำพร้าชื่อ “ข้าวปุ้น” ซึ่งถูกนำมาทิ้งไว้ที่หน้าบ้านเด็กกำพร้า ผู้ดูแลบ้านเด็กกำพร้ามาพบ จึงนำไปเลี้ยงและตั้งชื่อว่า “ข้าวปุ้น” ที่บ้านเด็กกำพร้า เด็ก ๆ ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก และได้รับการสอนให้เป็นคนดี คิดดี […]

error: