ยื่นบัญชีทรัพย์สิน
ตบเท้าออกด้วยคน!! ‘อัศวิน’ยื่นลาออก ‘บอร์ดสปสช.’ ปมต้องยื่นทรัพย์สิน
จากกรณีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) มีกรรมการลาออกจากตำแหน่งจำนวน 4 คน ภายหลังมีประเด็นการยื่นทรัพย์สินตามประกาศของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) โดยกรรมการที่ลาออกอยู่ในสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน ประกอบด้วย 1.นพ.พินิจ หิรัญโชติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ทางเลือก 2.นางชุมศรี พจนปรีชา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลัง 3.นายสมใจ โตศุกลวรรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย 4.นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งจะมีการคัดเลือกใหม่ในการประชุมบอร์ดสปสช.วันที่ 3 ธันวาคมนี้ ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีการลาออกของกรรมการ สปสช.สัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 4 ท่าน ปรากฎว่า ยังมีกรรมการในสปสช.ลาออกเพิ่มอีก 2 ท่าน ได้แก่ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้ทำหนังสือขอลาออกจากบอร์ดสปสช. ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 และกรรมการสัดส่วนจากสภาเภสัชกรรม ซึ่งมี 2 ท่านสลับกันเข้าประชุม คือ […]
ป.ป.ช.เตรียมแก้ประกาศ กรรมการยุทธศาสตร์ชาติไม่ต้องยื่นทรัพย์สิน
รองนายกรัฐมนตรีส่งสัญญาณกรรมการยุทธศาสตร์ชาติอย่าเพิ่งลาออกเพราะกังวลเรื่องแสดงบัญชีทรัพย์สิน ให้รออีก 2 วัน ป.ป.ช.จะประกาศยกเลิกให้ วันนี้ (30 พ.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวตอนท้ายการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ว่าเนื่องจากมีคำถามกันเข้ามามากจึงขอเรียนให้ทราบว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ รวมถึงคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน ไม่ต้องยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เพราะหลายคนทำท่าตกใจขอลาออกจากตำแหน่ง หรือแม้กระทั่งที่ท่านไปเป็นกรรมการในองค์การมหาชน กรรมการสภามหาวิทยาลัย อะไรก็ดีทั้งหมด บางท่านอาจลาออกไปแล้วด้วยซ้ำไป บางท่านกำลังเตรียมจะลาออก ขอเรียนให้ทราบว่ากรุณาอย่าไปลาออก เพราะทั้งหมดที่เป็นประกาศ ป.ป.ช.ออกไปนั้น เขาจะแก้ไขหรือยกเลิกทั้งหมด เพราะฉะนั้น เมื่อทบทวนใหม่แล้วมันจะไม่ครอบคลุมในส่วนของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ รวมถึงคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ขอความกรุณาอย่าไปลาออกทำให้เขายุ่งยากมากขึ้น ซึ่งความชัดเจนจะออกมาใน 1-2 วันนี้ อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ข่าวจาก : workpointnews
‘วิษณุ’ เผย เหตุที่หลายคนไม่อยากเปิดบัญชีทรัพย์สินให้ ป.ป.ช. เพราะมันจุกจิก น่ารำคาญ!
10 พ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการหารือกับตัวแทนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับประกาศ ป.ป.ช.ฉบับล่าสุด เรื่องการยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ว่า ยังไม่ได้คำตอบ ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่มีเพียงกรณีนายกและกรรมการสภามหาวิทยาลัยจะยื่นใบลาออกเท่านั้น แต่ยังมีข้อข้องใจในตำแหน่งอื่นๆ อีก เช่น กรณีที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ยังรักษาการอยู่ และตำแหน่งนี้ไม่เคยยื่นบัญชีทรัพย์สินมาก่อน เมื่อมีประกาศ ป.ป.ช.จะต้องยื่นหรือไม่ โดย ป.ป.ช.รับไปพิจารณาให้ ส่วนตำแหน่งที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทำหน้าที่รักษาการ อย่างกรณี พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ตัวแทนจาก ป.ป.ช.ตอบชัดเจนว่าไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ขณะที่กรณีสมเด็จพระสังฆราช ไม่ใช่เพราะเป็นสมเด็จพระสังฆราช แต่ทรงเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตัวแทนจาก ป.ป.ช.เห็นว่า มีเหตุผลหลายประการที่ไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน จึงขอนำไปพิจารณาแก้ไขต่อไป นายวิษณุ กล่าวว่า ทั้งนี้ เรื่องการแก้ไขประกาศดังกล่าวเป็นอำนาจของ ประธาน ป.ป.ช.อยู่แล้ว ซึ่งจะปรับปรุงแก้ไขอย่างไรมีหลายวิธี แต่ที่สุดแล้วต้องรอดูว่า ป.ป.ช.จะยอมหรือไม่ เนื่องจากที่ต้องออกประกาศมา เพราะเห็นว่า ผู้ที่จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินจะต้องมีคุณลักษณะคือ 1.ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2.ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง 3.เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่ ป.ป.ช.กำหนด […]
ราชกิจจาฯเผยแพร่ประกาศ ให้ขรก.ทุกคนเตรียมยื่นบัญชีทรัพย์สินฯตามกฎหมายป.ป.ช.!!
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติสามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางที่จะทําให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความรวดเร็ว สุจริต และเที่ยงธรรม รวมทั้งได้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ตลอดจนวาระการดํารงตําแหน่งไว้ อีกทั้งได้บัญญัติให้รัฐมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวดตามมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการสมควรบัญญัติกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญน สำหรับสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว […]