โรงงานเก่าแก่ประกาศปิดกิจการ พนง.เกือบ 100 ชีวิต ตกงานทันที

Advertisement เรียกได้ว่าเป็นวันที่เหล่าแรงงานในประเทศไทยได้ใช้วันนี้ วันที่ 1 พ.ค. 67 วันแรงงานแห่งชาติ แต่ทว่าในขณะที่โลกออนไลน์ได้มีการแชร์ประกาศของโรงงานผลิตกระจกเก่าแก่ย่านบางเสาธง ซึ่งในหนังสือฉบับดังกล่วนั้น คือ ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด Advertisement โดยมีการระบุข้อความในเอกสารดังนี้ ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน เรียน พนักงานบริษัท เนื่องด้วยบริษัทได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้กิจการของบริษัทฯ ประสบสภาวะขาดทุนสะสม ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ติดต่อกันหลายปี ทำให้ปัจจุบัน บริษัทตกอยู่ในภาวะวิกฤตไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ Advertisement ทั้งนี้หลังจากมีประกาศออกมาทำให้พนักงาน 62 คนเคว้ง รวมตัวร้องเรียกค่าชดเชย บางรายบอก ทำงานมาหลาย 10 ปี ตอนนี้หมดหนทางหางานเลี้ยงชีพ ซ้ำโรงงานไม่เจรจาเรื่องค่าชดเชย   ข่าวจาก : msn

กฎหมาย วันแรงงาน ทำงานได้ค่าแรงเท่าไหร่ โอทีได้กี่เท่า เลื่อนหยุดวันอื่นได้หรือไม่

ลูกจ้างต้องได้หยุดทุกคนไม่มีข้อยกเว้น ทั้งรายวัน รายเดือน ถ้านายจ้างให้ทำงานต้องได้ค่าแรงเพิ่ม 1 เท่า จะเลื่อนไปหยุดวันอื่นก็ไม่ได้ วันแรงงาน หากไม่มาทำงานนายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้าง โดยอ้างว่าเป็นวันหยุดได้หรือไม่ หากไม่มาทำงานนายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นรายวัน หรือรายเดือน แรงงานไทย แรงงานต่างด้าว จะอ้างว่าเป็นวันแรงงานซึ่งเป็นวันหยุดไม่ได้ เพราะกฎหมายมาตรา 29 กำหนดว่า “ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด” ซึ่งรัฐมนตรีประกาศให้วันแรงงานคือวันที่ 1 พฤษภาคม นั่นหมายความว่ากฎหมายบังคับให้ต้องจัดให้วันแรงงานเป็นวันหยุดตามประเพณี ไม่จัดไม่ได้ หากไม่จัดให้หยุดมาตรา 146 กำหนดให้นายจ้างผู้ซึ่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 ต้องระวางโทษทางอาญา ซึ่งลูกจ้างสามารถร้องต่อแรงงานโดยไม่เปิดเผยชื่อนามสกุลของผู้ร้องได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ มีปัญหาว่าหากนายจ้างจัดให้หยุดแล้ว นายจ้างจะอ้างว่าเมื่อไม่มาทำงานก็ไม่จ่ายค่าจ้างหรือ no work no pay ได้หรือไม่ คำตอบ คือไม่ได้ ต้องจ่ายค่าจ้างเพราะมาตรา 56 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างทั้งรายวันและรายเดือนใน “วันแรงงาน” ซึ่งเป็นวันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี (ลาพักร้อน) หากนายจ้างให้มาทำงานใน วันแรงงาน ต้องได้ค่าแรงเท่าไหร่ […]

เสียงสะท้อนวันแรงงาน ของแพง ค่าแรงต่ำ ต้องกู้เงินมากินใช้ วอนรัฐขึ้นค่าแรง492

เสียงสะท้อนวันแรงงาน ของแพง ค่าแรงต่ำ ชีวิตไม่สมดุล ต้องกู้เงินมาใช้จ่าย วอนรัฐขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท วันที่ 1 พ.ค. ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปที่ไซต์คนงานก่อสร้างบริเวณ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงาน เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พ.ค. 65 พบว่าคนงานก่อสร้างส่วนใหญ่ต่างเรียกร้องอยากให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 492 บาท ตามที่หลายฝ่ายเรียกร้อง เนื่องจากปัจจุบันนี้ค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นสวนทางกับค่าแรงที่ต่ำ โดยนายสุริยา ศักดาเดช อายุ 42 ปี หนึ่งในผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง ชาว อ.เมืองนครราชสีมา กล่าวว่า ทุกวันนี้รายได้ของตนและเพื่อนร่วมงานที่ประกอบอาชีพคนงานก่อสร้างค่อนข้างต่ำมาก สวนทางกับสิ่งของอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นทุกอย่าง ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างรายได้กับรายจ่าย การใช้ชีวิตจึงมีความยากลำบากมากยิ่งขึ้นด้วย เพราะเงินที่ได้มายังเท่าเดิม แต่การกินการใช้ ต้องใช้เงินซื้อมาด้วยราคาที่แพงขึ้น ขณะที่สินค้าบางอย่างที่ไม่เคยขึ้นราคา ก็ขึ้น เช่น มาม่า ปลากระป๋อง ซึ่งเป็นอาหารแสนประหยัด ที่คนงานมักจะนิยมซื้อมาทำอาหารกินกันในแคมป์คนงาน ตอนนี้ก็ราคาสูงขึ้นทุกอย่าง ประกอบกับค่าน้ำมัน ค่าแก๊สหุงต้ม ค่าวัสดุก่อสร้างก็พากันขึ้นราคากันหมด “ค่าจ้างรายวันแทบไม่เหลือเก็บ แค่ใช้ประทังชีวิตไปวันๆ […]

นายกฯ ส่งความรัก วันแรงงานแห่งชาติ ยกย่องเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปราศรัยเนื่องในโอกาส วันแรงงานแห่งชาติ 2564 ขอส่งความรัก และความปรารถนาดี มายังพี่น้องแรงงานทุกท่าน ที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนตลอดมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวเนื่องในโอกาส “วันแรงงานแห่งชาติ” ประจำปี 2564 ว่า สวัสดีพี่น้องแรงงานที่รักทุกท่าน เนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติ วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ผมขอส่งความรัก และความปรารถนาดีมายังพี่น้องแรงงานไทยทุกท่านที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนตลอดมา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปีนี้ต้องงดจัดกิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติอีกปีหนึ่ง ด้วยรัฐบาลมีความห่วงใยในความปลอดภัยด้านสุขภาพอนามัยของพี่น้องแรงงาน และประชาชนทุกคน ทั้งนี้ มิได้นิ่งนอนใจในการดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคควบคู่กับการกระตุ้นเศรษฐกิจ การสร้างโอกาสทางการค้า การลงทุน และการมีงานทำของพี่น้องประชาชน และพี่น้องแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ และแรงงานกลุ่มเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจในขณะนี้ ที่ผ่านมาได้มีมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องแรงงาน ได้แก่ โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ โครงการ ม.33 เรารักกัน รวมถึงขยายเวลาลดหย่อนส่งเงินสมทบประกันสังคม ลดค่าน้ำและค่าไฟ […]

เปิดประวัติที่มา วันแรงงานแห่งชาติ 1พ.ค. ให้แรงงานหยุดอยู่บ้าน

วันแรงงานแห่งชาติ หรือ May Day 1 พฤษภาคม วันระลึกถึงผู้ใช้แรงงาน ประวัติ มีความสำคัญอย่างไร และวันแรงงาน 2564 ได้หยุดไหม เรามีคำตอบ  ผู้ใช้แรงงานถือเป็นฝ่ายผลิตที่สำคัญในการผลักดัน ช่วยส่งเสริมพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในต่างประเทศนั้นมีวันแรงงานมานานแล้ว โดยเรียกว่า วันเมย์เดย์ (May Day) ขณะที่ประเทศไทยนั้น ทราบกันดีว่า วันแรงงานแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ ในสมัยก่อนประเทศในแถบยุโรปจะถือเอาวันเมย์เดย์ (May Day) เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม จึงมีพิธีเฉลิมฉลองและทำการบวงสรวงขอให้ปลูกพืชได้ผลดี รวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งทางภาคเหนือของยุโรปก็จะมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ซึ่งประเพณีนี้ในประเทศอังกฤษก็ยังมีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากตอนแรกที่เป็นเพียงวันหยุดพักผ่อนประจำปี ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศจึงถือเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ ความหมายของ วันเมย์เดย์ (May Day) จึงเปลี่ยนไปจากเดิม จนเมื่อปี พ.ศ. 2433 ได้มีการเรียกร้องในหลายประเทศทางตะวันตกให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ทำให้หลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 และได้สืบทอดมาจนถึงในปัจจุบัน ประวัติวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย ในประเทศไทย […]

วันแรงงาน ลูกจ้างต้องรู้ แค่ “โพสต์บ่น” ก็โดน “เลิกจ้าง” ได้!

ต่อให้เจ้านาย หรือ ที่ทำงานของเราจะแย่แค่ไหน แต่การจะโพสต์บ่นใดๆ ก็ตามบนที่สาธารณะ ซึ่งในที่นี้ก็คือ “โซเชียลมีเดีย” นั้น สิ่งที่เหล่าลูกจ้างทั้งหลาย ต้องทราบก็คือว่า “การโพสต์ถึงที่ทำงานบนโซเชียลมีเดีย” เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย “พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119″ และ “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583” ดังนี้   พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หมวด 11 ค่าชดเชย มาตราที่ 118-122 “มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด” ดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา แก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 มาตรา 583  ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ คดีตัวอย่าง (อ้างอิงจาก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8206/2560) ลูกจ้างโพสต์บนเฟสบุ๊กว่า  “เมื่อไหร่จะได้ในสิ่งที่ควรได้ว๊ะ…ต้องกินต้องใช้ ไม่ได้แดกดินแดกลมนะ” และ “ใครที่เกลียดเจ้านายเป็นบ้าเป็นหลัง โดนเจ้านายกลั่นแกล้ง หยุดซะเถอะความเกลียด ความโกรธ ปล่อยให้เขาเป็นอย่างนั้นไปคนเดียว เพราะถ้ามีเจ้านายเฮงซวยจริงๆ ก็ถือว่าเจ้านายของคุณมีทุกข์เยอะที่ชีวิตเขาต้องมาเจอลูกน้องเกลียดและเขาก็จะไม่มีความสุขในสิ่งที่เขาเป็น ยุ่งเหยิงยิ่งกว่าหมxย…ลูกค้าเกลียดวันที่ลูกค้าเต็ม…ตลอด 3 ปีมานี้เขาบอกว่าขาดทุนตลอด อยู่ได้ไงตั้ง 3 ปี…งง…ให้กำลังใจกันได้ดีมากขาดทุนทุกเดือน” จากข้อความข้างต้น ศาลพิจารณาว่า เข้าข่ายโดนข้อหา ดังนี้ – โดนข้อหาละเมิด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 119(2) :  เพราะข้อความดังกล่าวอยู่ในฐานที่ลูกจ้างตั้งใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องชดเชยและบอกล่วงหน้า  – ผิด ป.พ.พ. มาตรา 583 : เพราะกระทำสิ่งที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่การงานของตนให้ถูกต้องและสุจริต ซึ่งมาตรานี้ได้ให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือบอกกล่าวลูกจ้างล่วงหน้า ทั้งนี้ ไม่โดนข้อหา พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 119(1): เพราะไม่ใช่การหมิ่นประมาท แต่เป็นการบ่น กรณีนี้ไม่เข้าข่ายการหมิ่นประมาท แต่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย จากการพิจารณาถึง “เนื้อหาในข้อความที่บ่นถึงว่านายจ้างเป็นคนไม่ดี”   ข้อควรรู้เกี่ยวกับการโพสต์ถึงที่ทำงานบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าคุณจะโกรธเจ้านาย ไม่พอใจบริษัทหรือออฟฟิศมากแค่ไหน ก่อนจะโพสต์ระบายอะไรลงไป มีข้อควรรู้เกี่ยวกับการโพสต์ถึงที่ทำงานบนโซเชียลมีเดีย แบบปลอดภัย ไม่เสี่ยงโดนไล่ออก ดังนี้ 1. เฟสบุ๊กเป็นสื่ออนไลน์สาธารณะที่บุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อความและแสดงความคิดเห็นที่ลูกจ้างอย่างเราโพสต์ไว้ได้ 2. หากโพสต์ในทำนองที่ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่านายจ้างเป็นคนที่มีลักษณะนิสัยที่ไม่ดี นายจ้างจะไม่สามารถทำการเลิกจ้างได้ เช่น ช่วงนี้งานล้นมาก งานโหลดไม่ไหว ต้องรีบปิดงบฯ เหนื่อยสุดๆ (การตัดพ้อส่วนตัวโดยไม่กล่าวถึงที่ทำงาน) 3. หากข้อความที่โพสต์มีลักษณะในการระบายอารมณ์ความไม่พอใจ แต่หากมีความหมายที่ทำให้เข้าใจว่า นายจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้าง ทำให้นายจ้างดูเป็นคนที่ไม่ดี เอาเปรียบลูกจ้าง ทำให้ภาพลักษณ์นายจ้างเสียหาย หรือทำให้เสียหายหนัก ก็ไม่สามารถโพสต์ได้ 4. หากลูกจ้างคิดว่า “การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ไม่เป็นธรรม” ตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลฯ มาตรา 49 ตามหลักการมาตรา 119 แล้ว ถือเป็นการกระทำที่เป็นธรรม เพราะ “การเลิกจ้างจากการโพสต์ให้นายจ้างได้รับความเสียหายบนโซเชียลมีเดีย เป็นเหตุอันสมควร” แล้ว 5. ในบางองค์กร การใช้โซเชียลมีเดียเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังในการคัดกรองเพื่อรับเข้าทำงานและดำรงตำแหน่งงาน เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับทางกฎหมายหรือความปลอดภัย หากโพสต์แต่เรื่องอบายมุก สถานที่ท่องเที่ยงกลางคืน หรือแหล่งอโคจร อาจเป็นสิ่งที่ทำให้ชี้ชัดในการไม่พิจารณารับเข้าทำงานได้  อ้างอิง : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ , พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8206/2560, กรุงเทพธุรกิจ

นายกฯ ร่วมออกกำลัง ชูใช้ท่าบริหารร่างกายสไตล์ไทยก่อนเริ่มงาน ลดแรงงานตายก่อนวัยอันควร

  เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ที่บริเวณโถงกลางชั้น 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พร้อมด้วย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. นางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณะสุข และนางโสภา เกียรตินิรชา ผู้ตรวจราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม รณรงค์ Happy Workplace องค์กรแห่งความสุข : ท่าบริหารร่างกายสไตล์ไทย เพื่อสุขภาพพี่น้องแรงงานไทย เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ จัดโดย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ […]

error: