เปิดใจ “วิษณุ”คัมแบ็คทำเนียบฯ รับตำแหน่งที่ปรึกษา สลค.

Advertisement 28 พ.ค. 2567 นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เปิดเผยกับ “เนชั่นทีวี” ถึงการพูดคุยกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เมื่อวันเสาร์ที่ 25 พ.ค.ที่บ้านพัก จนกระทั่งมีข่าวว่า นายกฯ เซ็นคำสั่งแต่งตั้ง เป็นที่ปรึกษาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ว่า ยอมรับว่าได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักเลขาฯ ครม.จริง Advertisement โดยตำแหน่งนี้เป็นการพูดคุยกับ สำนักเลขาธิการ ครม. หลังจากตนพ้นตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ไว้นานแล้ว ซึ่งพอท่านนายกฯเศรษฐา ทราบข่าว ก็มาเรียนให้ตนทราบว่า จะมีการลงนามแต่งตั้งให้ เป็นที่ปรึกษาสำนักเลขาธิการ ครม. “ก่อนหน้านี้ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการ ครม. ซึ่งเขาจะมีการปรับระบบ ระเบียบของเอกสาร งาน สลค. และ ครม. มาก่อน ว่าจะให้ผมมาเป็นที่ปรึกษา“ นายวิษณุ กล่าวว่า ตำแหน่งดังกล่าว ไม่ใช่ตำแหน่งข้าราชการทางการเมือง ไม่มีอัตราเงินเดือน หรือ ต้องแสดงบัญชีหนี้สินทรัพย์สินอะไร […]

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เร่งทุกหน่วยรับ16ข้อสั่งการจากนายกฯ มีเรื่องลดขบวนรถติดตามให้น้อยสุดด้วย

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งกระทรวง และ กรมต่าง ๆ รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. รับข้อสั่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในที่ประชุม ครม. นัดแรก รวม 16 ข้อไปเร่งดำเนินการ สำหรับข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้ที่ประชุมครม. พิจารณามอบหมายในเรื่องต่าง ๆรวม 16 ข้อ ดังนี้ 1. การแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ28 กรกฎาคม 2567 มติ มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับเรื่องนี้ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป 2. การแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มติ มอบหมายให้นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ พิจารณาดำเนินการ ในประเด็นการแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและไม่แก้ไข ในหมวดพระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ […]

error: