แก้หนี้เสีย “บ้าน-รถ” ไม่คิดดอกเบี้ย 3 ปี-ลดค่างวดเหลือครึ่ง

Advertisement รายงานจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังเร่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ จากปัจจุบันที่ตัวเลขหนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาสที่ 2/2567 อยู่ที่ 89.6% ยอดคงค้าง 16.32 ล้านล้านบาท โดยมีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง, ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทยอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดได้มีการประชุมในช่วงบ่ายวันที่ 1 พ.ย. 2567 ซึ่งคาดหวังว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น Advertisement ปลดล็อก NPL ไม่เกิน 1 ปี นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์เมื่อ 1 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า ตนได้มอบหมายตัวแทนกระทรวงการคลัง ไปหารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย พิจารณามาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยเป้าหมายการแก้หนี้ครั้งนี้ เพื่อให้บรรลุ 2 วัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ 1.ให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้สามารถชำระได้ตามกำลัง และ 2.ช่วยให้มีลู่ทางเข้าถึงสินเชื่อได้ กลุ่มลูกหนี้ที่จะเข้าไปช่วย คือ กลุ่มหนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ (SM) ที่มีการค้างชำระเกิน 30 วันแต่ยังไม่เกิน 90 วัน และกลุ่มที่เป็นหนี้เสีย […]

หนี้เสียพุ่งไม่หยุด แตะ 1.2 ล้านล้าน ‘บ้าน-รถ’ ยังสูง เครดิตบูโรห่วงคุมไม่อยู่

19 กันยายน นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในปัจจุบัน ดูจากข้อมูลสิ้นเดือนกรกฎาคม 2567 หรือ 7 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ตัวเลขหนี้ครัวเรือนในฐานข้อมูลสถิติเครดิตบูโรเท่ากับ 13.6 ล้านล้านบาท ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากดูด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล พบขยับขึ้นต่อเนื่องจาก 1.16 ล้านล้านบาท เพิ่มเป็น 1.19 ล้านล้านบาท คิดเป็น 8.7% ของหนี้รวม และเพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนและมีแนวโน้มไหลต่อไปถึง 1.2 ล้านล้านบาทในไม่ช้า “สำหรับหนี้เสีย 3 ลำดับแรก ณ เดือนกรกฎาคม ได้แก่ หนี้เสียจากสินเชื่อบ้าน อยู่ที่ 228,447 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.5% หนี้เสียจากสินเชื่อรถยนต์ 262,985 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.3% หนี้เสียจากบัตรเครดิต 69,471 […]

หนี้เสีย กยศ.พุ่ง 1 แสนล้าน คาดกฎหมายใหม่หนุนลูกหนี้มีวินัย

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ รัฐบาลได้แก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับใช้ปีตั้งแต่ 2566 โดยปรับวิธีการคำนวณหนี้ใหม่ จากเดิมในกรณีที่ลูกหนี้มีการผิดนัดชำระหนี้ต่อกองทุน และภายหลังมีการทยอยชำระเข้ามา เงินที่ชำระเข้ามา จะต้องนำไปตัดค่าปรับการผิดนัดชำระหนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ต่อมาก็นำมาตัดดอกเบี้ยที่ค้างชำระ สุดท้ายจึงมาตัดเงินต้น ทำให้ลูกหนี้ที่เป็นหนี้ค้างชำระ เมื่อนำเงินเข้ามาชำระหนี้ เงินต้นจะลดลงน้อยมาก แต่กฎหมายใหม่ เมื่อมีการชำระเข้ามา เงินนั้นจะไปตัดที่เงินต้นก่อน แล้วจึงค่อยมาตัดภาระดอกเบี้ยค้าง และสุดท้ายมาตัดที่ค่าปรับ นายชัยณรงค์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมา โดยตามกฎหมายเดิม กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1 % ต่อปี แต่กฎหมายใหม่ กำหนดให้ ไม่เกิน 1 % ต่อปี หมายความว่าจะกำหนดให้ต่ำกว่า 1 % ก็ได้ ส่วนค่าปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้นั้น กฎหมายเดิม กำหนดให้คิดค่าปรับ 7.5 % แต่กฎหมายใหม่ คิดเพียง 0.5 % เท่านั้น […]

error: