องค์การอนามัยโลก ประกาศ “ฝีดาษลิง” เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศแล้ว

Advertisement วันที่ 23 ก.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงาน นายเท็ดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก แถลงหลังหารือกับคณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ประกาศให้โรคฝีดาษลิง เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) แล้ว Advertisement นายกีบรีเยซุส ระบุว่า คณะกรรมาธิการไม่สามารถมีฉันทามติว่าจะประกาศให้การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศหรือไม่ อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาเงื่อนไขทั้งหมด เราพบการแพร่ระบาดที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ผ่านการแพร่ระบาดแบบใหม่ที่เรายังเข้าใจน้อยมากซึ่งเข้าเงื่อนไขการกำกับดูแลสาธารณสุขระดับนานาชาติ ด้วยเหตุผลทั้งหมด ตนจึงตัดสินใจให้การแพร่ระบาดของฝีดาษลิงนั้นเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ให้คำแนะนำสำหรับประเทศที่พบผู้ติดเชื้อเข้าสู่ประเทศว่าให้มีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดและป้องกันกลุ่มเสี่ยง มีส่วนร่วมและปกป้องชุมชนที่ได้รับผลกระทบ เพิ่มการเฝ้าระวังและมาตรการด้านสาธารณสุข เพิ่มความเข้มงวดในการบริหารจัดการในทางคลินิก ป้องกันการและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ เพิ่มการวิจัยเพื่อการใช้วัคซีนการรักษาและเครื่องมืออื่นๆเป็นต้น Advertisement นายกีบรีเยซุส ยังระบุด้วยว่า การแพร่ระบาดนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยเฉพาะคนที่มีคู่นอนหลายคน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกประเทศต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ในการให้บริการและข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และออกมาตรการที่ปกป้องทั้งสุขภาพ สิทธิมนุษยชนและเกียรติของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ การประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ จะทำให้องค์การอนามัยโลกสามารถระดมทุนเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงได้มากขึ้น และทำให้เกิดความร่วมมือระดับนานาชาติในการรักษา แบ่งปันวัคซีน เช่นเดียวกับการออกมาตรการด้านการค้าและการเดินทางโดยเฉพาะการคัดกรองผู้ติดเชื้อที่สนามบินได้ นอกจากฝีดาษลิงแล้ว องค์การอนามัยโลกเคยประกาศประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงโรคโปลิโอ ที่ยังคงมีผลจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังเคยประกาศภาวะฉุกเฉินระดับเดียวกันนี้กับไข้หวัดใหญ่ H1N1 เมื่อปี 2552, […]

องค์การอนามัยโลก คาดผู้ป่วย “ฝีดาษลิง” จะเพิ่มขึ้นอีก ล่าสุดเจอแล้ว13ประเทศ

องค์การอนามัยโลก แถลงที่กรุงเจนีวา เมื่อวานนี้ว่า จนถึงขณะนี้ พบผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรค “ฝีดาษลิง” แล้ว 92 คน และ พบผู้มีอาการป่วยต้องสงสัยอีก 28 คน ใน 13 ประเทศทั่วโลก ล่าสุดเมื่อวานนี้ อิสราเอล และ สวิตเซอร์แลนด์ รายงานพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงเป็นรายแรกของประเทศ หลังจากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย “ฝีดาษลิง” ในหลายประเทศในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น สหราชอาณาจักร , ฝรั่งเศส ,เยอรมนี , เบลเยี่ยม , อิตาลี , โปรตุเกส , สเปน และ สวีเดน รวมทั้ง สหรัฐฯ แคนาดา และ ออสเตรเลีย จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ WHO ไม่นิ่งนอนใจ ได้เฝ้าติดตามยอดตัวเลขผู้ป่วยฝีดาษลิง โดยเฉพาะในประเทศที่ไม่เคยพบการติดเชื้อมาก่อนอย่างใกล้ชิด และเตรียมที่จะออกคำแนะนำและแนวทางรับมือให้กับประเทศต่างๆ เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ต่าง […]

ประยุทธ์ขอให้คนไทยเชื่อมั่น วัคซีน3ยี่ห้อที่ไทยใช้ WHOรับรองแล้ว-ใช้กันทั่วโลก

เรียกความเชื่อมั่น “บิ๊กตู่” ให้ข่าวรัวๆ ขอให้เชื่อมั่นวัคซีน 3 ยี่ห้อที่ไทยเลือกใช้ WHO ให้การรับรอง ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก พร้อมเร่งจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมเพื่อให้ทุกคนในประเทศได้ฉีด เมื่อเวลา 11.40 น.วันที่ 15 ก.ค.นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าวัคซีนที่รัฐบาลเร่งจัดหาให้เป็นวัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือกเพื่อให้บริการฉีดวัคซีนให้กับทุกคนที่อยู่ในประเทศทั้ง 3 ยี่ห้อในขณะนี้เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ โดยที่ แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) และซิโนแวค (Sinovac) ซึ่งเป็นวัคซีนหลัก และซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ซึ่งเป็นวัคซีนทางเลือกนั้น ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การอนามัยโลก(WHO) และองค์การอาหารและยาอีกทั้งได้รับการยืนยันทางการแพทย์และนักระบาดวิทยาว่า มีประสิทธิภาพสามารถลดอัตราการเสียชีวิตและอัตราการเกิดอาการรุนแรงของผู้ติดเชื้อ ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ได้มีแผนการนำเข้าวัคซีนต่างเทคโนโลยี อาทิ วัคซีน Pfizer และวัคซีน Moderna ซึ่งเป็นเทคโนโลยี mRNA และวัคซีน Johnson & Johnson ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Viral Vector Vaccine เช่นเดียวกับ AstraZeneca […]

ถึงคิวแล้ว! WHOประกาศรับรอง”ซิโนแวค”แล้ว ชี้ใช้สำหรับกรณีฉุกเฉิน

องค์การอนามัยโลก อนุมัติรับรองวัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค จากประเทศจีนแล้ว โดยใช้สำหรับกรณีฉุกเฉิน เป็นไปตามมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และการผลิต     วันที่ 1 มิถุนายน 2564 สำนักข่าว AFP รายงานว่า วัคซีนโควิด 19 ยี่ห้อซิโนแวค ของประเทศจีน ได้รับการรับรองโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้ว     ทั้งนี้ตามรายงานระบุว่าการรับรองดังกล่าวเขียนว่าเป็นการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน โดยให้การรับรองแก่ประเทศ ผู้ให้ทุน หน่วยงานจัดหา และชุมชนว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และการผลิต ขอบคุณข้อมูลจาก gmanetwork.com, AFP

กระทรวงต่างประเทศแจง ไทยไม่ได้เข้าร่วม”โคแว็กซ์” ชี้แค่ทาบทาม”ยืม”วัคซีน

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงกรณีปรากฎเป็นข่าวว่า ไทยเปลี่ยนท่าทีการเข้าร่วมโครงการโคแว็กซ์ ยันไม่ได้เข้าร่วม ชี้แค่ทาบทาม “ยืม”วัคซีน วันที่ 29 พ.ค. 25642 นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงกรณีปรากฎเป็นข่าวว่า ไทยเปลี่ยนท่าทีการเข้าร่วมโครงการโคแว็กซ์ โดยกระทรวงการต่างประเทศได้สั่งการ (เมื่อวันที่ 28 เมษายน2564) ให้คณะผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ทาบทามกลไกจากโครงการโคแว็กซ์ภายใต้องค์การอนามัยโลกหรือ WHO เพื่อจัดทำความตกลงแลกเปลี่ยนวัคซีน หรือ vaccine swap arrangement ดังนี้ 1.ความตกลงแลกเปลี่ยนวัคซีนเป็นการจัดทำความตกลงระหว่างสองฝ่าย โดยประเทศหนึ่งประสงค์ขอรับวัคซีนจากอีกประเทศที่ยังไม่มีความต้องการใช้หรือที่มีเกินความต้องการมาใช้ก่อน และจัดส่งคืนภายหลังเมื่อมีวัคซีนในประเทศเพียงพอ การจัดทำความตกลงดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติที่หลายประเทศทำอยู่ เช่น ระหว่างเกาหลีใต้กับสหรัฐฯ 2.การทาบทามจากโครงการโคแว็กซ์เพื่อจัดทำความตกลงการแลกเปลี่ยนวัคซีนเป็นเรื่องที่แยกจากการเจรจาความตกลงจัดซื้อวัคซีนหรือเข้าร่วมโครงการโคแว็กซ์ และเป็นเพียงมิติหนึ่งของความร่วมมือที่ฝ่ายไทยสามารถมีกับโครงการโคแว็กซ์ 3.อีกมิติของความร่วมมือระหว่างไทยกับโครงการโคแว็กซ์คือในแง่ของการเป็นประเทศผู้บริจาค โดยเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2563 รัฐบาลไทยได้มอบเงินสนับสนุนจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือราว 3,000,000 บาทให้แก่ข้อริเริ่มส่งเสริมการวิจัย จัดสรร ผลิตวัคซีน หรือ The Access to […]

องค์การอนามัยโลกเลื่อนรับรอง ซิโนแวค คาดภายในมิถุนายน

27 พ.ค. 64 กรณี WHO ยังไม่รับรอง ซิโนแวค สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอนามัยโลก ได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซิโนแวค ไบโอเทค เพื่อประกอบการพิจารณารับรองวัคซีน และขอเลื่อนการพิจารณารับรองวัคซีนแบบฉุกเฉินออกไปก่อน จากกำหนดเดิมที่มีข่าวว่าจะประกาศในวันศุกร์ที่ 28 พ.ค. นี้ ทั้งนี้ หลายสื่อในต่างประเทศ เชื่อว่าการตัดสินใจรับรองอนุมัติใช้วัคซีนของซิโนแวคจะเลื่อนออกไปถึงเดือนมิถุนายน สอดคล้องกับการที่ องค์การอนามัยโลก ขอรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการฉีดวัคซีน และข้อมูลด้านการกระบวนการผลิตของซิโนแวค เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก อย่างไรก็ตาม วัคซีนที่ได้รับการอนุมัติจาก WHO ไปแล้วก่อนหน้านี้ คือ ไฟเซอร์ ของสหรัฐและเยอรมนี , แอสตร้าเซนเนก้า จากสหราชอาณาจักร แบบที่ผลิตโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย และบริษัทเอสเค ไบโอ ของเกาหลีใต้ , จอห์นสันแอนด์จอห์นสันของสหรัฐฯ , โมเดอร์นา ของสหรัฐฯ และ ซิโนฟาร์ม จากประเทศจีน   ข่าวจาก : Amarin TV

1 2
error: