อ.เจษฎา เผยเนื้อวัวฉีดไขมัน มีจริง แต่ไม่อันตราย

Advertisement หลังจากตกเป็นประเด็นที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์บนสังคมออนไลน์ สำหรับเรื่อง “เนื้อวัวฉีดไขมัน” ที่มีผู้นำมาเผยแพร่ในเฟซบุ๊กรวมทั้งตั้งคำถามถึงความปลอดภัยในการบริโภค Advertisement ล่าสุด รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประเด็นนี้ผ่านเฟซบุ๊กดังนี้ “เนื้อวัวฉีดไขมัน มีจริงนะ แต่ไม่ได้อันตราย” มีคำถามจากทางบ้าน ว่าจริงหรือเปล่า ตามที่โพสต์หนึ่งพูดถึง “เนื้อฉีดไขมัน” โดยที่พูดในทำนองที่ว่า เป็นเนื้อที่มีต้นทุนถูก และคนมักจะแยกไม่ออก มีกลิ่นออกสารเคมี และกังวลเกี่ยวกับสารอื่นๆ ที่น่าจะฉีดเข้ามาด้วย !? …. คำตอบคือ เนื้อฉีดไขมัน มีจริงนะ แต่ราคาก็ไม่ได้ถูก ไม่ใช่ว่าคนไทยเราลักลอบทำกันเอง แต่มันเป็นเนื้อนำเข้า ซึ่งก็ปลอดภัยต่อการบริโภค เพียงแต่ว่าร้านค้าควรจะชี้แจงกับลูกค้าด้วยว่า มันเป็นเนื้อฉีดไขมัน (ไม่ใช่ว่าไม่บอกอะไร แล้วทำให้นึกว่าเป็นเนื้อวัวมีลาย ราคาแพง) เนื้อฉีดไขมันนี้ เป็นเทคนิคที่เรียกว่า “artificial marbling” หรือการทำลายหินอ่อนเทียมในเนื้อวัว ด้วยการฉีดไขมันสัตว์ หรือน้ำมันพืชเข้าไปในเนื้อที่ไม่ค่อยมีมัน เพราะทำให้ดูเหมือนมีลายเนื้อสวยๆ น่ากิน และช่วยให้เนื้อนั้นไม่แห้งเกินไปหรือสูญเสียรสชาติไประหว่างที่เอาไปแช่แข็งและเอาไปทำอาหาร สำหรับไขมันที่เอามาฉีดนั้น ก็มีทั้งไขมันสัตว์แบบก้อนแข็ง ที่ผ่านการให้ความร้อนเพื่อให้หลอมเหลวก่อนที่จะเอาไปฉีด หรือใช้ไขมันสัตว์ผสมกับน้ำมันพืช หรือไขมันสัตว์ผสมกับตัวอีมัลซิไฟเออร์ (เพื่อให้เข้ากันได้ดีกับน้ำในเนื้อ) […]

อ.เจษฎา เฉลยแล้ว น้ำมันปลาละลายกล่องโฟมเป็นรู กินแล้วกลัวไส้ทะลุจริงไหม?

17 มิถุนายน 2565 เพจเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ของ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการเปิดเผยข้อมูลแก้ไขความเข้าใจผิด กรณีที่มีการแชร์คลิปวิดีโอชาวต่างชาตินำเอา “น้ำมันปลา” หยดใส่ลงบนแผ่นโฟม จนทำให้แผ่นโฟมละลาย จนกลายเป็นที่สงสัยว่า หากคนกินเข้าไปจะอันตรายหรือไม่ จะทำให้ระบบทางเดินอาหารทะลุเหมือนโฟมหรือไม่ ? โดย ดร.เจษฎา เผยว่าสาเหตุที่โฟมละลายเมื่อถูกน้ำมันปลา เป็นปฏิกิริยาเคมีธรรมดา ๆ ของพวกไขมันที่อยู่ในรูปของ เอธิลเอสเทอร์ (Ethyl Ester) ที่สามารถทำให้โฟมสไตโรโฟม (Styrofoam) แผ่นโฟมขาว ๆ หรือกล่องโฟมอาหาร เกิดการละลายได้ แต่ไม่สามารถทำให้ทางเดินอาหารของคนละลายอย่างนั้น ซึ่งปฏิกิริยาเคมีแบบนี้ นอกจากน้ำมันปลาแล้ว ยังมี น้ำมันผิวมะนาว น้ำมันผิวส้ม น้ำกลิ่นแมงดา ที่สามารถทำให้โฟมละลายได้ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสารดังกล่าว มีกรดไขมันพวกที่อยู่ในรูปของเอธิลเอสเทอร์ (Ethyl Ester) อยู่ ซึ่งจะละลายสไตโรโฟมได้ดีกว่าพวกที่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นอย่างมาก เพราะน้ำมันปลาที่เป็นเอธิลเอสเทอร์ […]

อ.เจษฎา ส่องกล้องพิสูจน์ จุดขาวบนกล้วยตาก อย่าตกใจ ไม่ใช่เชื้อรา

อ.เจษฎา ส่องกล้องพิสูจน์ จุดขาวบนกล้วยตาก ชี้ชัดไม่ใช่เชื้อรา เฉลยคืออะไร แนะซื้ออาหารที่มีความหวานสูงแล้วเห็นจุดขาวอยู่ อย่าเพิ่งตกใจ เผยถ้าเชื้อรา ดูยังไง วันที่ 20 มี.ค.65 รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ (อ.เจษฎ์) อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ความว่า “จุดขาวๆ บนกล้วยตาก ไม่ใช่เชื้อรา แต่เป็นผลึกน้ำตาลครับ” ปกติจะเจอแต่คนอื่นส่งมาถามว่า ที่เห็นบนอาหารซื้อมานี่คืออะไร ? เชื้อราหรือเปล่า ? .. ซึ่งผมมักจะคาดเดาได้คร่าวๆ แล้วมักตอบไปว่า ให้หาแว่นขยายลงส่องดู จะได้รู้ชัดเจน วันนี้เจอกับตัวเองเลย คือกล้วยตากเจ้าประจำ ที่ชอบซื้อแกะ ออกซองมา มีจุดขาวเต็มไปหมด ทำเอาตกใจไปแว้บนึง มองด้วยตา เดี๋ยวนี้ก็ตาสั้น เห็นไม่ชัด .. จะใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือ ก็ขยายภาพได้ไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ โชคดีว่า มี CU Smart […]

error: