เปิดลงทะเบียนรับ ‘เบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ’ เดือนละ 600-1,000 บาท

Advertisement รับเงินเดือนละ 1,000 บาท รายใหม่ลงทะเบียน ‘เบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ คนชรา’ สำหรับผู้สูงอายุ อายุครบ 60 ปี ประจำปีงบประมาณ 2569 รัฐบาลช่วยเหลือค่าครองชีพ กลุ่มเปราะบาง เช็กขั้นตอน เอกสาร หลักฐานที่ต้องใช้ ตารางการจ่ายเงินแบบขั้นบันไดตามช่วงอายุ Advertisement เงื่อนไข ลงทะเบียนรับเงิน เดือนละ 1,000 บาท ‘เบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ คนชรา’ เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปี แต่ยังไม่เคยได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่กำลังจะเป็นผู้สูงอายุ โดยเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2509 ลงทะเบียนรับเงินประจำปีงบประมาณ 2569 คุณสมบัติผู้ที่มีสิทธิ ลงทะเบียนรับเงิน เดือนละ 1,000 บาท ‘เบี้ยยังชีพ เบี้ยผู้สูงอายุ คนชรา’ – สัญชาติไทย – มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ […]

กรมกิจการผู้สูงอายุเผย ข่าวเพิ่มเบี้ยชรา3พัน ไม่เป็นความจริง ยังคงดำเนินการจ่ายตามระเบียบ มท.

จากที่มีผู้โพสต์ให้ข้อมูลว่า ผู้สูงอายุเตรียมรับเงินเบี้ยยังชีพเพิ่ม รายละ 3,000 บาท เริ่ม 10 ก.ย. 66 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ทางกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ทางกรมกิจการผู้สูงอายุไม่มีการเพิ่มเบี้ยยังชีพดังที่ถูกกล่าวอ้างแก่กลุ่มผู้สูงอายุ ปัจจุบันยังมีการจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุเป็นรายเดือนตามช่วงอายุ ดังนี้ – อายุ 60-69 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 600 บาท/คน/เดือน – อายุ 70-79 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 700 บาท/คน/เดือน – อายุ 80-89 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 800 บาท/คน/เดือน – อายุ 90 ปี ขึ้นไป จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 1,000 บาท/คน/เดือน ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และหากประชาชนต้องการสอบถามข้อมูลจาก กรมกิจการผู้สูงอายุ […]

“ประยุทธ์” ลั่น “ไม่เคยเป็นรัฐบาลแต่ชอบวิจารณ์” ปมเบี้ยผู้สูงอายุ แจงบริหารตามงบ-คนชราเพิ่ม

15 ส.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วันนี้เป็นการประชุมตามปกติซึ่งมีเรื่องเข้าพิจารณาหลายเรื่องด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่จะต้องประชุมกับต่างประเทศ ส่วนภายในเป็นเรื่องการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามวาระทั้งหมดไม่มีอะไรที่ทำให้เกิดปัญหากับอนาคต อันนี้เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนต้องทำจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีและครม.ใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณ ผู้สื่อข่าวถามถึงเสียงวิจารณ์การปรับหลักเกณฑ์เบี้ยผู้สูงอายุ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ได้ชี้แจงไปแล้ว ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์หลักการที่มาจากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติที่มีหน้าที่ตรงนั้นอยู่ ข้อสำคัญจากประเด็นดังกล่าวอาจจะยังไม่เข้าใจหรือไม่เข้าใจและแกล้งไม่เข้าใจก็ไม่ทราบเหมือนกัน ทั้งนี้คนที่เคยได้รับอยู่แล้วก็ยังได้รับเหมือนเดิม ขณะเดียวกันวันนี้เป็นการเตรียมการสู่อนาคตว่าจะใช้งบประมาณอย่างไรให้เพียงพอในวันข้างหน้าซึ่งเป็นเรื่องของรัฐบาลหน้าสามารถดำเนินการได้ต่อไป ถ้ามีเม็ดเงินงบประมาณที่เพียงพอ แต่สิ่งที่เราทำมันจำเป็นต้องทำเพราะผู้สูงวัยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ บางคนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่บางคนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นเราต้องมาดูว่ามีเงินมากน้อยแค่ไหน จริงๆแล้วเรียกว่าเป็นการเผื่อแผ่แบ่งปันซึ่งกันและกันเราว่าอย่างนั้น คนที่มีรายได้สูงเขาได้เสียสละมาในการที่จะดูแล อันนี้ไม่ได้ไปให้โดยตรงอยู่แล้ว ให้ผ่านทางภาษีอะไรก็ว่ากันไป “ฉะนั้นอย่าไปฟังหลายๆอย่างมาจากคนที่ไม่เคยทำและไม่เคยเป็นรัฐบาลมาแล้วนำมาพูด ผมไม่อยากจะมาตอบโต้ตรงนี้” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว   ข่าวจาก : ข่าวสด

พม.ยืนยัน ผู้สูงอายุเดิมยังได้รับ “เบี้ยยังชีพ” หลังปรับหลักเกณฑ์ใหม่ เตรียมหารือ มท.เพื่อประโยชน์สูงสุด

จากกรณีกระทรวงมหาดไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 นั้น ล่าสุด นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึง ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการปรับปรุงในเรื่องคุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ข้อ 6(4) เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด ทั้งนี้ ระเบียบใหม่ได้กำหนดบทเฉพาะกาล ข้อ 17 วรรค 1 บรรดาผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับให้ยังมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป และ ข้อ 18 ในระหว่างที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ ยังมิได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ ตามข้อ 6(4) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้คุณสมบัติผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติมไปพลางก่อน นางสาวแรมรุ้ง กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประเด็นของการปรับปรุงระเบียบดังกล่าว ซึ่งเป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทยนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพเดิม และยังคงสิทธิรับเบี้ยยังชีพจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกระทรวงมหาดไทยจะชี้แจงในรายละเอียดต่อไป […]

มท.1 แจงปมปรับเบี้ยชรา ยังไม่มีข้อสรุป รอ พม.เคาะเกณฑ์ ย้อนถามคนอย่างผมมีบำนาญ6หมื่นกว่า ควรได้ไหม?

(14 ส.ค.2566) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย ชี้แจงถึงกรณีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ว่า เรื่องเงินดูแลผู้สูงอายุ จริง ๆ แล้ว เป็นเรื่องของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่เป็นเจ้าของเรื่อง โดยมีคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เป็นผู้พิจารณาในเรื่องนี้ตามหลักเกณฑ์ แต่งบประมาณส่วนนี้ นำมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จ่าย จึงเกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย เป็นที่มาว่าโดยกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจ่ายได้นั้น กระทรวงมหาดไทยจะต้องออกระเบียบเพื่อที่ให้ดำเนินการได้ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า เคยมีปัญหาเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จ่ายเงินตามปกติให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ลงทะเบียนแล้ว แต่เกิดประเด็นว่ากรมบัญชีกลางท้วงคนที่มีรายได้ส่วนอื่นจากของรัฐ จะรับอีกไม่ได้ ในช่วงนั้นก็มีการแก้ไขปัญหากัน สรุปว่าที่จ่ายไปแล้วก็ไม่เรียกคืน ที่เรียกคืนไปแล้วเราก็ไปจ่ายเงินคืนให้เหมือนเดิม “ตอนนี้จะจ่ายอย่างไรนั้น จึงอยู่ที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นคนกำหนด หลังจากนั้นมหาดไทยก็จะไปออกให้สอดคล้องกับที่กำหนดมา ขณะนี้ก็จะต้องบอกไป เพราะไม่ฉะนั้นเขาจะทำตัวไม่ถูก บอกว่าให้จ่าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องรอเกณฑ์ต่าง ๆ จากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ส่วนที่บางคนไปเข้าใจผิดว่าตัดหรือไม่ตัดเบี้ยนั่นไม่ใช่ แต่บอกไปเพื่อที่จะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จ่ายได้ ส่วนจะจ่ายได้อย่างไรนั้นต้องรอดูจากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเงื่อนไขเวลา แต่อยู่ที่ว่าคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติจะกำหนดออกมาเมื่อใดอย่างไร ส่วนกรณีโซเชียลมีดรามาถึงการพิสูจน์ความจนนั้น พล.อ.อนุพงษ์ ระบุว่า มีวิธีคิดได้หลายแบบ ก่อนจะย้อนถามว่าถ้าคนอย่างผมได้ด้วยเนี้ยคุณว่ายุติธรรมหรือไม่ […]

กรมบัญชีกลาง พร้อมจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ เริ่มจ่าย19ก.ค. 65

นางสาววารี แว่นแก้ว รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อแก้ไขเยียวยาความเดือนร้อนเสียหายในบางกรณี การจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ จำนวน 10.94 ล้านคน วงเงิน 8,382.20 ล้านบาท เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ โดยผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ 100 – 250 บาท/คน/เดือน เป็นเวลา 6 เดือน (เมษายน – กันยายน 2565) กรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณดังกล่าว เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินโดยตรงแทนกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยจะจ่ายเงินรอบแรกในวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 รวม 4 เดือน (เมษายน – กรกฎาคม 2565) รอบถัดไปในวันที่ 19 สิงหาคม 2565 และ […]

จับตา! เบี้ยผู้สูงอายุถอยหลังลงคลอง ส่อแววจ่ายเฉพาะคนจน ไม่แจกถ้วนหน้า

เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ (Welfare Watch Network) อ้างอิงการเปิดเผยของแหล่งข่าวคนหนึ่ง ระบุว่า ภาครัฐอาจจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เฉพาะกลุ่มคนยากจนเท่านั้นในอนาคต ไม่จ่ายแบบถ้วนหน้าอย่างในปัจจุบัน แหล่งข่าวคนดังกล่าว ให้ข้อมูลว่าการสาเหตุของเรื่องนี้ว่าเป็นเพราะที่ผ่านมามีการเรียกเก็บเงินยังชีพผู้สูงอายุคืน พร้อมดอกเบี้ย จากการได้รับบำนาญพิเศษตกทอดมาจากบุตร จึงไม่อยากให้เกิดการจ่ายเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อน ดังนั้นจึงไม่พบว่าจำเป็นต้องจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า แหล่งข่าวเผยอีกว่า กรมกิจการผู้สูงอายุจึงประชุมเพื่อหารือกับคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เพื่อกำหนดแนวทางการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายแทนการจ่ายแบบถ้วนหน้า การประชุมดังกล่าว ที่เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร (14 ก.ย.) ที่ผ่านมา มีนายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน รองประธานอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (ใหม่) เป็นประธานการประชุม ทั้งยังมีนางอภิญญา ชมภูมาศ รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ, นางศิริลักษณ์ มีมาก ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ, ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ผู้อำนวยการกอง/กลุ่ม, ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมกิจการผู้สูงอายุ เข้าประชุมด้วย นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ตัวแทนจาก Welfare Watch Network ให้ความเห็นว่า หากมีมติออกมาเป็นเช่นนั้นจริง ยิ่งตอกย้ำว่าการจ่ายเบี้ยยังชีพ ที่ดำเนินการด้วยนโยบายภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ผู้สูงอายุ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในขณะที่ภาคประชาชนเสนอให้จัดทำ พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ ที่เน้นการยืนยันสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ […]

1 2 3
error: