“Survive – สายไหมต้องรอด” งดหาเตียงชั่วคราว หลังสถานการณ์หนัก เตียงเต็มหมดแล้ว

Advertisement เพจดัง Survive – สายไหมต้องรอด ประกาศ งดหาเตียงชั่วคราว หลังสถานการณ์หนัก เตียงเต็มหมดแล้ว แต่ผู้ป่วยวิกฤต ยังพร้อมช่วยเหมือนเดิม เพจ Survive – สายไหมต้องรอด อาสาสมัครที่ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า เรียนผู้ป่วยโควิดทุกท่าน…ทีมสายไหมต้องรอด ของดหาเตียงให้ชั่วคราวก่อนนะคะ เพราะเตียงเต็มหมดแล้วทุกที่ ส่วนผู้ป่วยวิกฤต เรายังพร้อมช่วยเหมือนเดิมคะ Advertisement ขณะที่สถานการณ์โควิด วันนี้ 23 ก.พ. พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 21,232 ราย ซึ่งเป็นยอดสูงที่สุดของปี 2565 จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 21,064 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 168 รายผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 39 ราย ผู้ที่กำลังรักษาตัว 173,605 ราย และมียอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 16,662 ราย Advertisement ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 จำนวน […]

แม่โบกผ้าอ้อมขอความช่วยเหลือ ลูกวัยขวบเศษติดเชื้อโควิด หา รพ. รักษาไม่ได้

แม่โบกผ้าอ้อมขอความช่วยเหลือจากคอนโด ลูกวัยขวบเศษติดเชื้อโควิด หา รพ. รักษาไม่ได้ อาการเริ่มหนักขึ้น (22 ก.พ.65) น.ส.นภัสสร อายุ 26 ปี ซึ่งพักอาศัยอยู่ที่คอนโดแห่งหนึ่ง ย่านบางศรีเมือง อ. เมือง จ.นนทบุรี ได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้สื่อข่าวว่า ขณะนี้ตนเองกับลูกสาววัย 1 ขวบกับ 7 เดือน ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโควิดทั้งสองคน โดยทราบผลจากการตรวจ RT-PCR ซึ่งออกมาเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา จากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จากนั้นถูกทางโรงพยาบาลสั่งให้กลับไปรอที่บ้าน ต่อมาลูกสาวตนเกิดมีอาการไอ ดูดนมไม่ได้ อาเจียน ไข้ขึ้นสูงถึง 38-39 องศา ในตอนกลางคืน โดยความเป็นห่วงลูกสาวมากเกรงว่าหากปล่อยไว้แบบนี้อาการจะหนักขึ้น จึงได้ติดต่อกลับไปที่โรงพยาบาลเพื่อขอไปรักษาตัว แต่ถูกทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอ้างว่าคนไข้เต็มเตียงไม่ว่างให้ไปหาที่รักษาเอาเองก่อน ตนจึงพยายามติดต่อหาที่รักษาเองแต่ก็ไม่มีโรงพยาบาลไหนรับตัวไปรักษา ตนจึงร้องผ่านสื่อให้ช่วยหาเตียงรักษาให้กับตนและลูกสาววัยขวบเศษด้วยเนื่องจากลูกสาวตนยังเล็กและเริ่มมีอาการหนักขึ้นทุกวัน ต่อมาผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ที่คอนโดดังกล่าวโดยได้พบกับ น.ส.นภัสสร ซึ่งอุ้มลูกสาวออกมายืนโบกผ้าอ้อมขอความช่วยเหลือจากผู้สื่อข่าวให้ช่วยประสานเจ้าหน้าที่ สสจ.นนทบุรี ช่วยนำตัวส่งไปรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานที่ที่มีแพทย์ดูแลใกล้ชิดเนื่องจากเกรงว่าลูกสาววัยขวบเศษจะมีอาการมากไปกว่านี้ หลังรอคอยความช่วยเหลือมาหลายวัน ผู้สื่อข่าวได้พูดคุยผ่านวิดีโอคอลกับ น.ส.นภัสสร ผู้ติดเชื้อกล่าวว่า ตอนนี้ตนเริ่มมีอาการไอเจ็บคอและหายใจเหนื่อย ส่วนลูกสาว ผลตรวจออกมาตั้งแต่ […]

“เส้นด้าย” โพสต์ภาพสุดสงสาร รปภ.ต้องนอนนอกบ้านรอการรักษาหลังติดโควิด

เพจ “เส้นด้าย” แชร์ภาพบีบหัวใจหลังรปภ.ติด “โควิด” เก็บเสื้อผ้าออกมานอนรอการรักษานอกบ้าน ถามหรือภาพเดิม ๆ กำลังจะกลับมา จากสถานการณ์การระบาดของ “โควิด” โอไมครอนในประเทศไทยที่เริ่มมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ไทยพบผู้ติดเชื้อเฉลี่ยประมาณวันละ 20,000-30,000 ราย รวมการตรวจหาเชื้อแบบ ATK สิ่งที่หลายคนกังวลคงเป็นเรื่องระบบสาธารณสุขที่จะสามารถรองรับไหวหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ฮอสพิเทล โรงพยาบาลสนามเริ่มทะยอยปิดตัวลงไปแล้ว เพราะที่ผ่านมาสถานการณ์ “โควิด” ในประเทศไทยเริ่มดีขึ้น ล่าสุด เพจ เส้นด้าย – Zendai ได้แชร์ข้อมูลของผู้ป่วยรายหนึ่งที่ติดเชื้อโควิดแต่ต้องออกมานอนรอรับการรักษานอกที่อยู่อาศัย โดยระบุ ว่า ในวันที่ฮอสพิเทล​หลายที่เริ่มปิดรับคนไข้ โรงพยาบาล​หลาย​แห่ง​เตียง​เริ่ม​เต็ม คนไข้หลายคนยังรอคอยยาอยู่​ที่บ้าน…. ภาพเดิมๆเริ่มกลับมา วันนี้ที่เราเจอ รปภท่านหนึ่ง​ต้องมานอนบริเวณ​หน้าธนาคาร​เพราะที่ห้องเช่ามีเมียและลูกเพื่อนบ้านอีกหลายชีวิต​ต้องใช้ห้องน้ำรวม หลังจากพยายาม​ติดต่อเข้ารับการรักษา​รพประกันสังคม​และเบอร์​ต่างๆไม่สำเร็จ​เนื่องจาก​ติดวันหยุด​ จึงตัดสินใจ​เก็บข้าวของเสื้อผ้า​มานอนรอการรักษา​ เบื้องต้น​อาสาเส้นด้าย​นำส่ง ศูนย์​พักคอยเราต้องรอด คันนายาว​เรียบร้อย​แล้ว สำหรับข้อมูลจากระทรวงสาธารณสุข (18 ก.พ.) ระบุมาตรการรองรับ และสถานการณ์เตรียงว่าง และอัตราการครองเตียงของผู้ป่วย “โควิด” ไว้ดังนี้ ล่าสุดอัตราเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วย “โควิด” ทั่วประเทศ มีอัตราเตียงว่างที่สามารถรองรับผู้ป่วยในระดับต่าง ๆ อัตราการครองเตียง […]

ห้าม รพ.เอกชน ปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยโควิด เก็บเงิน ชี้ยังเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน

“บิ๊กตู่”ฮึ่ม ผู้ป่วยโควิด-19 เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ห้าม รพ. เอกชน ปฏิเสธการรักษาหรือเรียกเก็บค่ารักษา ขณะที่ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มตามคาดการณ์สั่งคุมเข้มทุกมิติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด – 19 รายใหม่วันนี้ รวม 18,953 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยจากในประเทศ 18,770 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 183 ราย ผู้ป่วยสะสม 488,880 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 13,962 ราย หายป่วยสะสม 358,737 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 162,460 ราย เสียชีวิต 30 ราย ล่าสุดการให้บริการวัคซีน โควิด-19 สะสมอยู่ที่ 121,623,706 […]

สธ.ยัน 1 มี.ค. เริ่มใช้รักษาโควิดตามสิทธิ ผู้ป่วยสีเขียวให้รักษาที่บ้าน-ชุมชน

สธ.ยัน 1 มี.ค.รักษาโควิดตามสิทธิ ผู้ป่วยสีเขียวให้รักษาที่บ้าน-ชุมชน เปิด UCEP พลัสรับกลุ่มเหลือง-แดงเข้ารพ.ได้ทุกที่ ด้าน “สาธิต” ยังท้วงอาจทำผิดช่วงเวลา เมื่อวันที่ 18 ก.พ.65 นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธาาณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเตรียมเปิด UCEP พลัส รองรับผู้ติดเชื้อโควิดอาการสีเหลือง สีแดง ที่สามารถใช้สิทธิ UCEP รักษาทุกที่ได้ว่า การปรับให้โควิดไปรักษาตามสิทธิ โดยผู้มีอาการสีเหลืองสีแดงยังเข้าใช้ UCEP พลัส ได้นั้น เป็นหลักการที่ดี ที่จะเตรียมปรับโควิดไปสู่โรคประจำถิ่น แต่ยังกังวลว่ายังผิดเวลา ถ้าผู้ติดเชื้อไม่เพิ่มก็ไม่น่ามีปัญหา แต่ขณะนี้ผู้ติดเชื้อกำลังเพิ่มขึ้น ตรวจ RT-PCR และ ATK ก็รวมกว่า 3 หมื่นรายต่อวัน ขณะที่ความรู้สึกของประชาชนบางส่วนยังอยากเข้ารพ. ซึ่งทำให้ศักยภาพเตียงลดลง และเพิ่มภาระบุคลากรหน้างานในการประเมินอาการ ดังนั้นจึงยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะปรับในวันที่ 1 มี.ค. นี้ โดยอยากให้มีการสื่อสารให้เข้าใจในประชาชนตรงกันก่อน นพ.ธเรศ กรัษรัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า […]

ป่วยใหม่-เสียชีวิตยังสูง โควิดวันนี้ ยอดผู้ติดเชื้อ 14,900 ราย เสียชีวิต 26 ราย

ผู้ป่วยกำลังรักษา 129,933 ราย ป่วยใหม่ยังสูง โควิดวันนี้ ยอดผู้ติดเชื้อ 14,900 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 192 ราย เสียชีวิต 26 ราย วันที่ 14 ก.พ.65 กระทรวงสาธารณสุข รายงาน ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 รวม 14,900 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 14,708 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 192 ราย ผู้ป่วยสะสม 384,792 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 9,810 ราย หายป่วยสะสม 287,338 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 129,933 ราย เสียชีวิต […]

เผย 4 เคส ติดโอมิครอน แม้อาการน้อย แต่ร่างกายไม่เหมือนเดิม สมองรับรู้ลดลง

‘หมอนิธิพัฒน์’ เผย 4 เคส ติดโอมิครอน ตร.กำยำ ป่วยอาการน้อย แต่ร่างกายไม่เหมือนเดิม อีกรายการรับรู้ของสมองลดลง ยันทุกรายได้รับวัคซีนครบ วันที่ 11 ก.พ.65 รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ความว่า เมื่อวานตรวจเยี่ยมผู้ป่วยนอก 3 รายและผู้ป่วยในหนึ่งรายจากโควิดโอมิครอน มาบอกกล่าวให้รับทราบถึงผลพวงการเจ็บป่วย และถ้าเป็นได้ขอเป็นเสียงเล็กๆ ที่ส่งผ่านข้อมูลสะท้อนไปถึงการตัดสินใจของศบค.ในช่วงสายวันนี้ เพื่อกำหนดชะตากรรมของประเทศต่อไป ชายวัยฉกรรจ์เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เดิมแข็งแรงดี ร่างกายล่ำบึ้ก ป่วยจากโอมิครอนแบบอาการน้อยไม่มีปอดอักเสบ รักษาในฮอสพิเทล ผ่านมาราวหนึ่งเดือนยังรู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลียง่าย มีเสมหะบ่อย ไม่สามารถออกกำลังได้หนักเท่าเดิม หญิงอายุ 80+ ปี เดิมแข็งแรงดีเว้นมีโรคความดันโลหิตสูงรักษาสม่ำเสมอ ป่วยแบบอาการไม่รุนแรงจากปอดอักเสบเล็กน้อย ออกจากโรงพยาบาลราวครึ่งเดือน ตรวจวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้วปกติคือเกิน 95% แต่ยังอ่อนเพลีย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และการรับรู้ของสมองลดลง หญิงอายุ 30+ ปี เดิมแข็งแรงดี ทำงานออฟฟิศ ป่วยแบบอาการไม่รุนแรง รักษาตัวที่บ้านด้วยยารักษาตามอาการภายใต้การติดตามของโรงพยาบาล […]

สปสช.ยันตอนนี้ยังไม่ปลด “โควิด” จาก “ยูเซป” ถ้าฉุกเฉินยังเข้า รพ.เอกชนได้

สปสช.ยันตอนนี้ยังไม่ปลด “โควิด” จาก “ยูเซป” ชี้ให้ดูอาการผู้ป่วยเป็นหลัก ถ้าฉุกเฉินยังเข้ารักษาที่ รพ.เอกชนได้ เช่น ปอดบวม มีไข้สูง เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2565 นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีการเตรียมปลดโรคโควิด-19 ออกจากการรักษาสิทธิฉุกเฉินวิกฤตรักษาทุกที่ (UCEP COVID) มาเป็นการรักษาและเบิกจ่ายตามสิทธิสุขภาพปกติ ว่า ขอทำความเข้าใจก่อนว่า คำว่า “UCEP” หมายถึงภาวะการณ์ที่ฉุกเฉินวิกฤต ที่ต้องไปรับบริการยังหน่วยบริการนอกระบบ ส่วนใหญ่คือ รพ.เอกชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบ นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล ได้ประกาศโรคโควิด-19 ว่าเป็นเหตุฉุกเฉินวิกฤต ขณะนี้ยังไม่เห็นข้อมูลหลักฐานเรื่องการยกเลิก แต่หากมีการยกเลิกจริง ระบบทุกระบบก็จะเข้าไปรองรับอยู่แล้วในการให้การดูแลรักษาตามระบบเดิมที่มีอยู่ โดยยืนยันว่า หากมีอาการฉุกเฉินจากโควิดก็ยังสามารถเข้ารับบริการยังหน่วยบริการนอกระบบตามระบบเดิมได้ “คำว่าฉุกเฉินวิกฤตจะมีอาการที่เรียกว่า “สีแดง” จะมีเกณฑ์ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กำหนด ซึ่งเกณฑ์ยังคงเหมือนเดิมอยู่ ส่วนตอนนี้ผู้ที่ติดโควิดบางครั้งไม่มีอาการ หากโควิดไม่เป็นฉุกเฉินวิกฤตแล้ว ก็จะดูที่อาการและความฉุกเฉินของผู้ป่วยเป็นหลัก เช่น ถ้าหากปอดบวม มีไข้สูง ถือว่าเป็นฉุกเฉิน […]

เปิดรายได้ขอทาน ย่านเศรษฐกิจสำคัญ กทม. วันละ6-7พัน ช่วงโควิดเหลือไม่ถึงร้อย

พส. เปิดรายได้ขอทาน ย่านเศรษฐกิจสำคัญ กทม. ตกวันละ 6-7 พันบาท แต่ในช่วงสถานการณ์ โควิดทำทรุด หดเหลือเฉลี่ยเพียง วันละ 50 บาท วันที่ 11 ก.พ.65 นายอนุกูล ปีดแก้ว อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาคนขอทาน ว่า การขอทานผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก การทารุณกรรม หรืออาชญากรรมอื่นๆ สำหรับชาวต่างชาติที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยเพื่อมาขอทาน ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ต้องการมาหางานทำหรือมาตั้งต้นชีวิตใหม่ อีกทั้งไม่มีความรู้ด้านกฎหมายของประเทศไทย ประกอบกับคนไทยเป็นคนใจบุญชอบให้ทาน จึงส่งผลทำให้มีผู้ทำการขอทานต่างชาติเพิ่มสูงขึ้น จากสถิติการจับกุมผู้ทำการขอทาน พบว่า เงินที่ได้จากการขอทาน ขึ้นอยู่กับสถานที่ หากเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของ กรุงเทพมหานคร จะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 1,000 – 2,000 บาท/วัน บางรายมีรายได้ ประมาณ 6,000 […]

หมอเผย ผู้ป่วยบางส่วนหายจาก”โอมิครอน” แล้ว เหนื่อยง่ายกว่าก่อนป่วย แม้ไม่เกิดปอดอักเสบ

หมอเผย ติด ‘โอมิครอน’ หายแล้ว บางส่วนทำกิจวัตรประจำวันตามปกติไม่ได้ เหตุเหนื่อยง่ายขึ้นกว่าก่อนป่วย แม้ไม่เกิดปอดอักเสบ แนะดูแลตัวเองอย่าให้ติด วันที่ 10 ก.พ.65 รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา ความว่า มีเสียงถามเข้ามากันมากหลายว่า ประเทศไทยใกล้จะให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่นหรือยัง ถ้าเห็นแนวโน้มการใช้เตียงในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นนี้ น่าจะยังไม่ใช่เวลาอันเร็ววันนี้ อย่างไรก็ตามคงต้องเตรียมการกันไว้แต่เนิ่นๆ โดยทุกภาคส่วนจะต้องมีฉันทามติในการตัดสินใจครั้งสำคัญนี้ ว่านิยามของโรคประจำถิ่นที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยควรเป็นอย่างไร ตัวเลขที่สำคัญ เช่น ยอดผู้ติดเชื้อรายวัน ยอดผู้ป่วยที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลหลัก ยอดผู้ป่วยอาการรุนแรง และยอดผู้ป่วยที่เสียชีวิต จะต้องถูกกำหนดให้ชัดเจนและร่วมกันติดตาม ภาคนโยบายต้องมั่นใจว่าควบคุมสถานการณ์ในทุกด้านได้ดีแล้ว ภาคประชาชนต้องมั่นใจที่จะให้ความร่วมมือ ท้ายสุดภาคการแพทย์ต้องมั่นใจว่าจัดเตรียมศักยภาพไว้เพียงพอโดยไม่เบียดบังการดูแลรักษาผู้ป่วยอื่นที่ไม่ใช่โควิด แม้คนที่ป่วยด้วยโควิดจากโอมิครอน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง แต่จะมีบางส่วนของคนกลุ่มนี้ที่เมื่อหายแล้วยังไม่สามารถมีกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เนื่องจากรู้สึกเหนื่อยง่ายขึ้นกว่าเดิมก่อนป่วย ได้มีการศึกษาในคนอเมริกันจำนวน 10 คนที่มีคุณสมบัติดังกล่าว โดยติดตามการทำงานของปอดและหัวใจขณะออกกำลังด้วยการขี่จักรยานอยู่กับที่ (cycle ergometer cardiopulmonary exercise testing) พบว่ามีการลดลงอย่างมากของสมรรถภาพการออกกำลังกาย เป็นผลจากเนื้อเยื่อทั่วร่างกายโดยพาะกล้ามเนื้อ ไม่สามารถดึงออกซิเจนไปใช้งานได้ดีเพียงพอ […]

1 8 9 10 41
error: