พรรคเป็นธรรม ลั่น “ไม่โหวตนายกฯ รัฐบาลข้ามขั้ว” อย่าอ้าง รทสช.ไม่มีลุง

Advertisement 20 ส.ค. 2566 ดร.ปิติพงศ์ เต็มเจริญ หัวหน้าพรรคเป็นธรรม โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 22 ส.ค.นี้ ว่า พรรคเป็นธรรมไม่ร่วมรัฐบาลข้ามขั้ว และไม่โหวตนายกฯ ที่มาจากรัฐบาลข้ามขั้ว ซึ่งไม่เคารพเสียงประชาชน Advertisement พรรคเป็นธรรมมีหน้าที่ต้องทำให้พรรคอันดับ 1 เป็นรัฐบาล ตามมติประชาชนจากการเลือกตั้ง เมื่อเพื่อไทยฉีก MOU แล้วไปจับมือกับพรรครัฐบาลเดิม ไม่เห็นนโยบายของรัฐบาลชัดเจน เราจึงไม่สามารถโหวตเห็นชอบให้กับแคนดิเดตนายกฯ ของเพื่อไทยได้ การอ้างว่ารวมไทยสร้างชาติไม่มีลุงแล้ว เป็นเพียงเทคนิคการอ้างเท่านั้น เพราะแม้ พล.อ.ประยุทธ์จะไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค แต่ยังคงเป็นแคนดิเดตนายกฯ ของพรรครวมไทยสร้างชาติ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีความเกี่ยวข้องกับรวมไทยสร้างชาติในทางอ้อม Advertisement เพื่อไทยหาเสียงกับประชาชนว่าไม่เอา 3 ป. จะปิดสวิตช์ ส.ว. หัวหน้าพรรคและผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีก็เคยพูดชัดเจนว่าไม่เอาพรรคพลังประชารัฐและพรรครวมไทยสร้างชาติ แต่ไม่ทำตามที่หาเสียงไว้ การเมืองมีมา 2 ขั้วนานแล้ว และทั่วโลกก็มี 2 ขั้ว ไม่มีใครสลายขั้วได้ เพราะอุดมการณ์คนละทาง ผลการเลือกตั้งชัดเจนว่าประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลง แต่เพื่อไทยกลับไปจับมือกับขั้วเดิม หน้าตารัฐบาลเหมือนเดิมเพิ่มเติมคือเพื่อไทย […]

บช.น.ประกาศห้ามชุมนุมรัศมี 50 เมตร รอบรัฐสภา 21-24 ส.ค. คุมเข้มโหวตนายกฯ

จากกรณีที่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา มีคำสั่งให้นัดประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 4 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) ในวันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 2 อาคารรัฐสภา โดยมีวาระการประชุม สำคัญเรื่องด่วนที่ 1 พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องด่วนที่ 2 ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ. … (ยกเลิกมาตรา 272) โดย นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กับคณะเป็นผู้เสนอ ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ออกประกาศห้ามชุมนุมสาธารณะในรัศมีไม่เกิน 50 เมตร รอบรัฐสภา ทั้งนี้ กำหนดให้พื้นที่ถนน […]

“ภูมิธรรม เพื่อไทย” ชี้ เป็นไปไม่ได้ ถ้าจะกลับไปพรรคร่วมเดิม312เสียง รอความชัดเจนเชิญ “รสทช.” ร่วมรัฐบาล

14 สิงหาคม 2566 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ชี้แจงกรณีกระแสข่าวการตั้งเงื่อนไขห้ามพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงเดิม หากพรรคเพื่อไทยไม่ปลดเงื่อนไขดังกล่าว ก็จะต้องเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี จากนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นน.ส.แพทองธาร ชินวัตร ว่า ตนเองยังไม่เคยได้ยินพรรคการเมืองใดประสานเรื่องดังกล่าวมาอย่างเป็นทางการ แต่เท่าที่ได้คุยกับหัวหน้าพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ก็ไม่มีปัญหาที่รุนแรงในเรื่องนี้ ส่วนกรณีที่นายเศษฐา เคยระบุจะไม่ให้พรรคการเมือง ที่จะมาร่วมกับพรรคเพื่อไทยทำงานกระทรวงเดิมนั้น นายภูมิธรรม ชี้แจงว่า นายเศรษฐาไม่ได้พูดเป็นหลัก และเป็นคำถามจากสื่อมวลชนที่ถามนายเศรษฐาว่า ตามหลักการไม่ควรให้ดำรงตำแหน่งกระทรวงเดิมหรือไม่ ซึ่งนายเศรษฐา ยอมรับเพียงหลักการว่า เห็นชอบ แต่ต้องดูด้วยว่า การเชิญพรรคต่าง ๆ มาร่วมรัฐบาลนั้น ต้องให้เกียรติ และดูความเหมาะสมตามนโยบาย และคุณสมบัติของผู้ที่จะมารับตำแหน่ง ว่าเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือไม่ ซึ่งจะต้องหารือกัน เพราะหน้าที่ของพรรคเพื่อไทย ต้องประสานงาน และตั้งรัฐบาลให้ได้ จึงมั่นใจว่าไม่น่าจะมีปัญหา นายภูมิธรรม กล่าวถึงขั้นตอนการแบ่งโควตารัฐมนตรีของพรรคร่วมฯ ว่า พรรคเพื่อไทย ยังคงย้ำว่า ต้องรอดูความชัดเจน และการส่งสัญญานในการเลือกนายกรัฐมนตรีให้กับพรรคเพื่อไทย และหลังจากนั้น จึงจะมีการแบ่งสรร โดยจะต้องให้สังคมพอใจ และสอดรับนโยบายบายของแต่ละพรรค ซึ่งพรรคเพื่อไทย ได้ขอความกรุณาจากพรรคร่วมฯ […]

“วิษณุ” ยอมรับ การโหวตนายกฯ ล่าช้า กระทบต่อการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ผ่านมา ครม. รักษาการ มีนโยบายที่จะไม่พิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายในตำแหน่งที่เป็นข้าราชการระดับสูง เนื่องจากคาดว่าในเดือน ส.ค. 66 จะมีรัฐบาลใหม่ที่มีอำนาจเต็มเข้ามาบริหารประเทศ แต่ล่าสุดการเลื่อน โหวตนายกฯ จากการที่ยังไม่ได้ข้อยุติในเดือน ก.ค. 66 ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ในเดือน ส.ค. 66 ครม. ชุดใหม่ก็ยังไม่ได้เข้ามาทำงานใน ทำเนียบรัฐบาล โดยล่าสุด “นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี” ได้ให้นโยบายแกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของ ครม. ว่าให้สามารถบรรจุเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง รวมทั้งหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเข้ามาให้ ครม.พิจารณาเห็นชอบได้ โดย ครม. จะพิจารณาให้ จากนั้นจะส่งไปที่ กกต. เพื่อพิจารณาให้ ซึ่งก็มีโอกาสมากขึ้นที่ กกต.จะพิจารณาเห็นชอบตามที่ ครม.เสนอ เพราะที่ผ่านมาในกรณีที่ กกต.ไม่เห็นชอบเป็นเรื่องของระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของคนเดิมที่ยังไม่หมดวาระ แต่หากใกล้ระยะเวลาที่คนเดิมจะหมดวาระหรือเกษียณอายุราชการแล้ว ก็คาดว่า กกต.จะอนุมัติให้เพื่อให้มีคนที่สามารถทำงานในตำแหน่งสำคัญของหน่วยงานได้ ด้านนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้ว่า การแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการระดับสูงตั้งแต่ระดับปลัดกระทรวงขึ้นไปรัฐบาลรักษาสามารถทำได้ โดยให้หน่วยงานเสนอให้สำนักเลขาคณะรัฐมนตรีเสนอ ครม. เนื่องจากใกล้สิ้นปีงบประมาณแล้ว จะไม่มีคนเข้ามาทำงาน เพราะประเทศต้องเดินต่อไปข้างหน้า […]

‘หมอพรทิพย์’ เผยเหตุผล หลังงดออกเสียงโหวตนายกฯ หน้าที่ ส.ว. คือรักษาชาติ

13 ก.ค. 2566 – พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ โพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว เกี่ยวกับประเด็นโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี โดยระบุข้อความดังนี้ ที่สุดก็ไม่มีคำอธิบายว่า ทำไมต้องแก้มาตรา 112 แต่ยิ่งชัดเจนว่า ยืนยันจะแก้ไขแน่นอน ที่สำคัญพรรคต่าง ๆ ที่ทำข้อตกลงร่วมกันก็ยอมให้พรรคก้าวไกลเสนอแก้มาตรา 112 ได้ การเมืองไทยเป็นเช่นนี้ หมอจึงได้คำตอบว่าปิดสวิตช์ตามหลักการเดิม และปิดตลอดไปจนกว่าจะหมดวาระ 1 หลักการของประชาธิปไตย คือการเลือกตั้งให้ได้พรรคการเมืองมาบริหารบ้านเมืองให้สังคมมีความยุติธรรม คำนึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม ความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่การดำเนินการตามนโยบายของพรรคที่ได้เสียงสนับสนุนหรือเสียงข้างมากเป็นหลักแม้นโยบายจะทำลายชาติ 2 การเลือกตั้งในครั้งนี้ มีการกระทำที่ขัดหลักการประชาธิปไตยในประเด็นสำคัญคือ การห้ามผู้สมัครใช้อำนาจผ่านสื่อที่ตัวเองเป็นเจ้าของหรือมีหุ้นเอาเปรียบพรรคอื่น ๆ เพียงแต่กฎหมายไทยไม่ได้แก้ไขให้ทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป การชนะในครั้งนี้คือการใช้สื่อโซเชี่ยล ปลุกระดม ให้ข้อมูลเท็จบ้างจริงบ้างและให้ใช้สื่อละเมิดผู้อื่นที่เรียกว่าด้อม บูลลี่ ตามด่า รวมทั้งการสร้างอวตารเข้าทำอันตรายในทุกช่องทางสื่อสารส่วนตัวด้วยเพราะตัวบทกฎหมายตามไม่ทัน จนกลายเป็นการสร้างความขัดแย้งรุนแรงและแสดงถึงการไม่ยอมรับความเห็นต่าง 3 รัฐธรรมนูญเป็นบทบัญญัติที่มนุษย์ร่วมกันตกลงเขียนขึ้นไม่ใช่หลักธรรมะ จึงอาจเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแล้วแต่มนุษย์จะตกลง และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้มาตามครรลองประชาธิปไตยคือผ่านการลงประชามติ การทำหน้าที่ของสวจึงเป็นไปตามบทบาทที่กำหนด 4 ประเด็นสำคัญที่ ส.ว. ติดใจคือการขอแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งจากการหาเสียงมีแนวทางที่กระทบสถาบันพระมหากษัตริย์ กลุ่มที่สนับสนุนสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งล้วนแสดงกิริยาให้ร้ายต่อสถาบัน มีการสนับสนุนให้หมิ่นประมาทตั้งแต่สถาบันพระมหาษัตริย์ […]

“ก้าวไกล” นัด 8พรรคร่วมรัฐบาล หารือ11ก.ค. ก่อนโหวตนายกฯ

8 ก.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก 8 พรรคร่วม ถึงความคืบหน้าการจัดตั้งรัฐบาลว่า นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคก้าวไกล ได้ประสานมายังพรรคร่วมทั้ง 8 พรรค เพื่อนัดหารือวันที่ 11 ก.ค. เวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา เพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการโหวตนายกฯ วันที่ 13 ก.ค. โดยสิ่งที่พรรคร่วมอยากได้ความชัดเจนจากพรรคก้าวไกล คือ จำนวนเสียงส.ว. ที่จะสนับสนุนนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ เนื่องจากที่ผ่านมาแกนนำพรรคก้าวไกลยืนยันมาตลอดว่า ได้เสียงส.ว.เพียงพอ แต่สิ่งที่ส.ว.บางส่วนสื่อสารออกมาเหมือนไม่เป็นเช่นนั้น จึงต้องการความชัดเจน เพื่อเตรียมความพร้อมโหวตเลือกนายกฯ แต่จนถึงวันนี้จุดยืนของทั้ง 8 พรรค คือการสนับสนุนพรรคก้าวไกลตั้งรัฐบาล ตามเอ็มโอยูที่ได้ลงนามกันไว้ ไม่มีการคิดแผนสอง แต่อยากทราบความชัดเจนเพื่อจะได้เตรียมตัวรับมือเกมในสภา หากฝ่ายรัฐบาลเดิมจะเล่นเกมการเมืองอะไรขึ้นมา   ข่าวจาก : ข่าวสด

วันนอร์เผย ถ้า ส.ว.โหวตนายกฯ รอบแรกไม่ผ่าน นัดใหม่อีก19ก.ค.

7 กรกฎาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่บริเวณชั้น 6 รัฐสภา ซึ่งเป็นสถานที่ในการจัดพิธีรับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่เวลา 08.30 น. มีบรรดา ส.ส.จากพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชาติ พร้อมทั้งข้าราชการประจำสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมพิธีคับคั่ง โดยเวลา 09.55 น. นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผู้อำนวยการกองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และคณะพร้อมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อัญเชิญพระบรมราชโองการ เข้ามายังห้องจัดพิธีรับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร มีเนื้อความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรดังนี้ 1.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร 2.นายปดิพัทธ์ สันติภาดา […]

อนุทิน ย้ำจุดยืนเดิม “ไม่โหวตนายกฯ” ที่แก้ไข/ยกเลิก ม.112

7ก.ค.66 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ จุดยืนในวันที่จะโหวตนายกรัฐมนตรี ว่า เป็นไปตามแถลงการณ์ของพรรคภูมิใจไทยที่ออกแถลงการณ์ในวันที่ 17 พ.ค. 2565 ว่าจุดยืนของ พรรคภูมิใจไทย ต่อการโหวตสนับสนุนนายกรัฐมนตรี ยังเป็นไปตามแถลงการณ์ และยังไม่มีเปลี่ยนแปลง ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลเดิม ก็ยังทำงานกันอยู่ ยังไม่ต้องใช้เสียงอะไร “การเลือกตั้งคือการรีเซ็ตทุกอย่าง ตอนนี้ยังไม่มีพรรครัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน จนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรี ตอนนี้ยังไม่ถึงจุดนั้น หากถึงจุดนั้นจะเห็นชัดเจนว่าใครจะเป็นรัฐบาล ใครจะเป็นฝ่ายค้าน” นายอนุทิน กล่าว เมื่อผู้สื่อข่าว ถามถึง กรณีนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่ระบุพรรคร่วมรัฐบาลเดิมจ่อตั้งวิปฯ ประสานเตรียมพร้อมโหวตนายกฯ มีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง นายอนุทิน กล่าวว่า ยังไม่มีการเตรียมตัว เพราะว่าตอนนี้การประชุมสภาผู้แทนราษฎรยังไม่มีวาระอื่นๆ อย่าง 2 วันที่แล้วก็เป็นวาระการเลือกประธานฯ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น และมั่นใจว่าหลังจากที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งทั้ง 3 ท่านแล้ว ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรท่านใหม่ ในฐานะประธานรัฐสภาก็จะเรียกประชุมอีกครั้ง วาระก็คงมีแต่การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ก็ทุกคนที่เป็น ส.ส.ก็ต้องไปร่วมประชุมสภา […]

error: