ครม.ไฟเขียว 3 กฎหมายแรงงานใหม่ เพิ่มหลักประกันลูกจ้าง เริ่มบังคับใช้ปี 68

Advertisement รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ มีเนื้อหาสำคัญ เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นหลักประกันในการทำงานให้กับลูกจ้างกรณีต้องออกจากงานหรือเสียชีวิต จึงต้องมีการเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต่อไป Advertisement สำหรับร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับที่กระทรวงแรงานเสนอครั้งนี้ ประกอบด้วย  ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบที่จะต้องส่งให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับนายจ้างจัดให้มีการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย พ.ศ. …. 1.ร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดระยะเวลาเริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. สาระสำคัญ : เป็นการกำหนดให้เริ่มดำเนินการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป 2.ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบที่จะต้องส่งให้แก่กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. …. สาระสำคัญ : เป็นการกำหนดอัตราเงินสะสมจากลูกจ้างและเงินสมทบจากนายจ้างที่แต่ละฝ่ายจะต้องนำส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง แบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2568 – 31 มี.ค.2573 (ระยะเริ่มต้น 5 […]

วันลาพักร้อนตามกฎหมายแรงงานมีกี่วัน?

วันลาพักร้อน วันลาป่วย หรือวันลากิจ ล้วนเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามกฎหมายที่คุ้มครอง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสวัสดิการพนักงานของเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่หลายคนเฝ้ารอ ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะมีเงื่อนไขในการลาพักร้อนที่แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของบริษัท แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การลาพักร้อนนั้นมีรูปแบบเฉพาะตามกฎหมายแรงงานโดยที่ทุกบริษัทจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดผลกระทบต่อบริษัทของตัวเองได้ วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่า การลาพักร้อนมีความสำคัญและข้อบังคับอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งมาดูวิธีการคำนวณสิทธิวันลาพักร้อนว่าจะเป็นอย่างไร ให้คุณได้เตรียมตัวก่อนถึงช่วงวันหยุดยาวนี้ ความสำคัญของสิทธิลาพักร้อนตามกฎหมาย วันลาพักร้อน หรือ วันหยุดพักร้อนกฎหมายแรงงาน เป็นสิ่งที่ทุกบริษัทต้องมีการบริหารและจัดการวันลาพักร้อนให้กับพนักงาน เนื่องจากกฎหมายแรงงานวันลาพักร้อนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก มีไว้เพื่อให้พนักงานเงินเดือนอย่างเราได้มีโอกาสในการพักผ่อนระยะสั้น, ลดความเครียดจากการทำงาน, ให้เวลากับคนในครอบครัว หรือเติมเต็มความสุขแก่ตัวเอง ให้พร้อมกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเราไม่จำเป็นต้องขอพรเรื่องงานเพื่อให้ได้วันหยุดหรือสิทธิลาพักร้อน เพราะวันลาพักร้อนเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพนักงานที่มีพ.ร.บ. คุ้มครอง โดยมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติไว้ว่า1. ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี โดยนายจ้างจะเป็นผู้กำหนดวันพักร้อนตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้า หรือกำหนดวันให้ตามนายจ้างและลูกจ้างเห็นพ้องต้องกัน 2. ในการทำงานปีต่อมา นายจ้างสามารถกำหนดวันลาพักร้อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างได้มากกว่า 6 วันทำงานได้ แล้วแต่ระเบียบการลาพักร้อนบริษัท 3. นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันล่วงหน้าได้ ในการสะสมหรือเลื่อนวันพักร้อนตามกฎหมายแรงงานที่ยังไม่ได้หยุดในปีนั้น ให้สามารถทบกับวันลาพักร้อนประจำปีต่อมาได้ 4. ลูกจ้างที่ยังทำงานไม่ครบ 1 ปี […]

เปิดกฎหมายแรงงาน โดนไลน์ สั่งงาน ทั้งวัน-ทั้งคืน ทำงานวันหยุด

งานหนัก งานมากเกินไป ทำงานจนไม่มี “เวลาส่วนตัว” … 1 ในสาเหตุ ที่หลายคน กำลังเผชิญกับ ภาวะหมดไฟ ในการทำงาน (Burnout Syndrome) แนวคิด Work-Life Balance ที่ไม่เคยมีอยู่จริง ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยี การติดต่อสื่อสาร ก้าวหน้าขึ้น และ คนไทย ยังไม่เลิกใช้ ไลน์ (Line) ในการคุยงาน จนพนักงานไม่สามารถบริหารจัดการเวลาได้ ไม่อ่านไลน์ ไม่อ่านอีเมล ทิ้งข้อความเจ้านาย หรือ หัวหน้า แบบไม่ตอบกลับ ก็กลัวจะมีผลกระทบต่อ หน้าที่การงาน และ รายได้ แต่รู้หรือไม่ ตามกฎหมายแรงงาน เรามีสิทธิ์ที่จะหลีกเลี่ยง ในการตอบกลับ และ ทำงานตามคำสั่ง นอกเวลางานได้ หรือ สามารถร้องเรียนบริษัท/องค์กร นั้นๆ ได้ เมื่อสิ้นสถานะ “พนักงาน” แล้ว ที่สำคัญ หากมีไลน์เข้ามา สั่งงานในวันหยุด ต้องได้ค่าแรงเพิ่มอีก […]

มาทำงานสาย หักเงินเดือนได้หรือไม่ ? 7 ข้อห้ามที่เจ้าของร้านห้ามทำ ผิดกฎหมายแรงงาน

ลูกน้องทำผิดจะหักเงินได้มั้ย? ไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้รึเปล่า? จ้างลูกจ้างพาร์ทไทม์ราคาถูกเพื่อจะได้ประหยัดเงิน? หรือจ้างแรงงานต่างด้าวไปเลยดี? มาลองส่องกฎหมายแรงงานกันดูสักหน่อย กับ 7 ข้อห้ามในการบริหารงานลูกจ้างร้าน 1. หักเงินพนักงานมาสาย ทำไม่ได้ เพราะ มาตรา 76 พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ.. 1.ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมาย 2.ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน 3.ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์หรือเงินกู้อื่น ที่เป็นสวัสดิการของลูกจ้าง โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง 4.เงินประกันของเสียหาย หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างโดยลูกจ้างยินยอมเป็นครั้งคราวไป 5.เงินสะสมตามข้อตกลง หรือเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จากข้อกฎหมายจะเห็นได้ว่านายจ้างไม่สามารถหักเงินลูกจ้างได้ในกรณีมาสายหรือทำผิด หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตาม จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. ลาออกกะทันหัน โดยไม่แจ้งล่วงหน้า แก้ปัญหาด้วยการหักเงินลูกน้อง ทำไม่ได้ เพราะเมื่อลูกจ้างทำงานให้นายจ้างแล้วและค่าจ้างถึงกำหนดจ่ายตามข้อตกลง นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาตามมาตรา 70 แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในกรณีนี้หากธุรกิจเกิดความเสียหายเพราะการลาออกของลูกจ้าง นายจ้างอาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเอากับลูกจ้างได้ตามสมควร แต่ยังต้องจ่ายค่าจ้างตามจริงอยู่ […]

กสร. แจงลูกจ้างโพสต์บ่นนายจ้าง สามารถเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

กสร. แจงลูกจ้างโพสต์บ่นนายจ้าง ต้องดูข้อความที่โพสต์สร้างความเสียหาย ต่อนายจ้างหรือไม่ หากไม่เสียหาย นายจ้างเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชี้แจงกรณีลูกจ้างโพสต์บ่นนายจ้าง สามารถเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ต้องพิจารณาว่าข้อความที่โพสต์มีเจตนาหมิ่นประมาทนายจ้างจนได้รับเสียหายหรือไม่หากไม่ใช่ถ้อยคำที่สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือกิจการของนายจ้าง นายจ้างเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวเผยแพร่บนสื่อออนไลน์ว่าลูกจ้างโพสต์บ่นนายจ้าง สามารถเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทางกรมฯได้ตรวจสอบข้อมูลจากประเด็นดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และขอชี้แจงให้ทราบว่าการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ด้วยเหตุที่ลูกจ้างโพสต์บ่นนายจ้าง ต้องดูว่าข้อความที่โพสต์เป็นข้อความที่หมิ่นประมาทนายจ้างจนได้รับเสียหายต่อชื่อเสียง หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายต่อกิจการหรือไม่ หากข้อความที่โพสต์เป็นข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาทนายจ้าง หรือจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กรณีนี้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง แต่หากข้อความที่โพสต์เป็นเพียงถ้อยคำที่ไม่สุภาพไม่ถึงกับเป็นการเสียดสี เหยียดหยาม หรือดูหมิ่นนายจ้าง จึงไม่ถือเป็นเรื่องร้ายแรงหากนายจ้างเลิกจ้าง โดยที่ไม่เคยตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือก่อน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้กับลูกจ้าง นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่จะเลิกจ้างลูกจ้างต้องดูความเหมาะสมแล้วแต่กรณี หากไม่ใช่การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้าง แล้วนายจ้างกลับเลิกจ้าง ก็จะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้ ทั้งนี้ นายจ้าง หรือลูกจ้าง มีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาด้านแรงงาน สามารถขอคำปรึกษาได้ที่ […]

ลูกจ้างต้องทำงาน ‘ไม่เกิน 8 ชั่วโมง‘ ล่วงเวลาวันปกติ ได้ค่าโอที 1.5 เท่า

หากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ลูกจ้างต้องได้ค่าล่วงเวลาเท่าไร และต้องทำงานไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์จึงจะไม่ผิดกฎหมาย  วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝากค่ะ ค่าล่วงเวลา คือ ค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ หรือเกินชั่วโมงทำงานปกติในวันทำงาน หรือวันหยุด (เวลาทำงานปกติ ต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง/วัน) การจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าทำงานวันหยุด เมื่อนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาที่ลูกจ้างควรที่จะได้รับต้องได้รับเงินเท่าไร และลูกจ้างแต่ละรูปแบบจะได้รับสิทธิแบบใด รายละเอียดมีดังนี้ ค่าจ้าง จ่ายไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยจ่ายตอบแทนเวลาทำงานปกติเท่านั้น ค่าล่วงเวลาหรือนอกเวลาทำงานปกติในวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ สามารถแบ่งลูกจ้างออกเป็น 2 ประเภท ได้ดังนี้ ลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างที่คำนวณตามผลงาน หากไม่มาทำงานในวันหยุดก็ไม่ได้ค่าจ้าง แต่หากมาทำงานก็จะได้รับค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ลูกจ้างรายเดือน ซึ่งนายจ้างไม่สนใจว่าจะมาทำงานเดือนละกี่วัน หรือมีวันหยุดกี่วันนายจ้างก็เหมาจ่ายเป็นรายเดือน ซึ่งทำให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างแม้ไม่มาทำงานในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี กฎหมายกำหนดให้มีลูกจ้างทุกประเภททั้งรายวัน ตามผลงาน หรือรายเดือนมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด หมายความว่าแม้ไม่มาทำงานก็ได้รับค่าจ้าง ทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด ต้องไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ? […]

กฎหมาย วันแรงงาน ทำงานได้ค่าแรงเท่าไหร่ โอทีได้กี่เท่า เลื่อนหยุดวันอื่นได้หรือไม่

ลูกจ้างต้องได้หยุดทุกคนไม่มีข้อยกเว้น ทั้งรายวัน รายเดือน ถ้านายจ้างให้ทำงานต้องได้ค่าแรงเพิ่ม 1 เท่า จะเลื่อนไปหยุดวันอื่นก็ไม่ได้ วันแรงงาน หากไม่มาทำงานนายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้าง โดยอ้างว่าเป็นวันหยุดได้หรือไม่ หากไม่มาทำงานนายจ้างจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นรายวัน หรือรายเดือน แรงงานไทย แรงงานต่างด้าว จะอ้างว่าเป็นวันแรงงานซึ่งเป็นวันหยุดไม่ได้ เพราะกฎหมายมาตรา 29 กำหนดว่า “ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้าปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด” ซึ่งรัฐมนตรีประกาศให้วันแรงงานคือวันที่ 1 พฤษภาคม นั่นหมายความว่ากฎหมายบังคับให้ต้องจัดให้วันแรงงานเป็นวันหยุดตามประเพณี ไม่จัดไม่ได้ หากไม่จัดให้หยุดมาตรา 146 กำหนดให้นายจ้างผู้ซึ่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 ต้องระวางโทษทางอาญา ซึ่งลูกจ้างสามารถร้องต่อแรงงานโดยไม่เปิดเผยชื่อนามสกุลของผู้ร้องได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ มีปัญหาว่าหากนายจ้างจัดให้หยุดแล้ว นายจ้างจะอ้างว่าเมื่อไม่มาทำงานก็ไม่จ่ายค่าจ้างหรือ no work no pay ได้หรือไม่ คำตอบ คือไม่ได้ ต้องจ่ายค่าจ้างเพราะมาตรา 56 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างทั้งรายวันและรายเดือนใน “วันแรงงาน” ซึ่งเป็นวันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี (ลาพักร้อน) หากนายจ้างให้มาทำงานใน วันแรงงาน ต้องได้ค่าแรงเท่าไหร่ […]

กฎใหม่พนักงาน ห้ามขาด-หยุด-ลาคลอด ฝ่าฝืนหักเงิน

กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ทันที เมื่อเฟซบุ๊ก “อีซ้อขยี้ข่าว” โพสต์เรื่องราวกฎใหม่ของพนักงานบริษัท ซึ่งอ้างว่านำมาจากบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งแถวสมุทรปราการ โดยระบุข้อความว่า “แบบนี้ได้ด้วยหรอ…บริษัทขนส่งออกกฎพนักงานใหม่ ห้ามขาด ห้ามหยุด ห้ามลาคลอด ฝ่าฝืนหักเงิน…สมุทรปราการ” หลังโพสตดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้ชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลามมากกว่า 1.4 พันครั้ง (ถึงวันที่ 22 มี.ค.67) เมื่อวันที่ 21 มี.ค.67 เฟซบุ๊กชื่อดัง “อีซ้อขยี้ข่าว” ได้โพสต์เรื่องราวกฎใหม่ของพนักงานบริษัท ซึ่งอ้างว่านำมาจากบริษัทขนส่งแห่งหนึ่งแถวสมุทรปราการ โดยมีการลงภาพพร้อมรายละเอียดของกฎใหม่ไว้ 2 ตำแหน่งงาน ซึ่งระบุไว้ดังนี้ ตำแหน่งงานแรก ขาดงาน ลากิจ หักวันละ 400 บาท ขาดงาน ลากิจ ครึ่งวัน หักวันละ 200 บาท ไม่เช็กอิน/เช็กเอ๊าท์ หัก 200 บาท/ครั้ง ลาป่วยไม่หักเงินได้ 2 วัน /เดือน หยุดติดกัน 2 วันขึ้นไปต้องมีใบรับรองแพทย์ หากไม่มีจะปรับเป็นลากิจทั่วไป รางวัลพิเศษอื่น ๆ  […]

เพจกฎหมายแรงงาน วิเคราะห์ปม ไม่รับปริญญา-ไม่รับเข้าทำงาน ทำได้หรือไม่?

เพจกฎหมายแรงงาน วิเคราะห์ปม ไม่รับปริญญา-ไม่รับเข้าทำงาน ทำได้หรือไม่? ชี้รัฐธรรมนูญ มีหลักการห้ามเลือกปฎิบัติ แนะเลือกจากความสามารถและคุณค่า วันที่ 16 ม.ค.65 เพจ กฎหมายแรงงาน โพสต์ข้อความ กรณีแพทย์หญิงท่านหนึ่งออกมาโพสต์ ระบุว่า “ไม่เข้ารับปริญญา ระวังเขาจะไม่รับเข้าทำงาน” และยังได้กล่าวไปถึงการดูโทรศัพท์ ซึ่งก็ถือเป็นการล่วงล้ำเข้าไปทำลายความเป็นส่วนตัวโดยเอาเงื่อนไขการรับสมัครงาน ส่งผลให้เกิด #ไม่รับปริญญา โดยเพจ ระบุว่า “เขา” ในที่นี้น่าจะรวมทั้งงานภาคเอกชน งานราชการ และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการไม่เข้ารับปริญญาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่มีเงิน เพราะการรับปริญญามีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หรือหลายอาจเรียนเพื่อต้องการความรู้แต่ก็ไม่ได้สนใจเข้ารับปริญญา โดยปกติมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาจะเปิดให้ลงทะเบียนว่าใครจะเข้ารับปริญญาบ้าง และใครจะไม่เข้ารับปริญญา ซึ่งก็เป็นการให้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะเข้ารับหรือไม่ ส่วนจะรับปริญญากับใครก็สุดแล้วแต่ อย่างต่างประเทศก็อาจรับกับอธิการบดี ในไทยหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐก็อาจรับกับราชวงศ์ มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ก็รับกับอธิการบดี หรือผู้ทรงคุณวุฒิ การวางกติกาว่า หากใครไม่เข้ารับปริญญาจะไม่รับเข้าทำงานนั้นถือว่าผิดธรรมชาติการรับคนเข้าทำงานที่จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถ หรือทัศนคติ และการไม่เข้ารับปริญญาก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ไม่ดีเสมอไป อย่างไรก็ตาม แม้มีการกำหนดกติกาการรับสมัครงานเอาไว้ แต่เมื่อตราบใดที่ยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ก็ไม่อาจนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานเข้าไปใช้บังคับได้ แต่เมื่อเปิดรัฐธรรมนูญมาดู เราจะพบกับหลักการห้ามเลือกปฎิบัติถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ […]

1 2
error: