ปลัดกลาโหม ยอมรับ “แพรวา” เคยมาสอบบรรจุจริงแต่ไม่ผ่าน
Advertisement Advertisement
Advertisement Advertisement
กระทรวงกลาโหม ขอความร่วมมือพรรคการเมือง อย่านำเรื่องการยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปหาเสียง ย้ำระบบผสมทั้งระบบสมัครใจและเกณฑ์ทหาร วันที่ 27 ก.พ.2562 พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ชี้แจงถึงการเกณฑ์ทหารที่มีบางพรรคการเมืองได้นำไปหาเสียงจะยกเลิกการเกณฑ์ทหารว่า รัฐธรรมนูญทุกฉบับโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญปี 60 ได้กำหนดหน้าที่ของรัฐในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง สถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึงรักษาเอกราชอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยของประชาชน หน้าที่ของรัฐต้องดำเนินการให้มีการทหารไว้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ โดยกองทัพมีหน้าที่เตรียมกำลัง ป้องกันราชอาณาจักร และใช้กำลังตามอำนาจหน้าที่ พล.ท.คงชีพ ระบุว่า ไม่อยากให้พรรคการเมืองนำเรื่องการยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปเป็นนโยบายในการหาเสียง เพราะถ้ายกเลิกแล้วจะรับมือกับสถานการณ์ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ วันนี้ต้องศึกษาทำความเข้าใจพลทหารทุกคนเป็นรั้วของชาติ จึงอยากขอให้คำนึงจิตใจของทหารเกณฑ์ และการไปริดรอนสิทธิเหล่านี้ แล้วต่อไปจะมีใครมาสมัครใจเป็นทหารต่อไป ขอให้กลับมาทบทวนเรื่องนี้เพื่อให้เกียรติกันและให้กำลังใจกันในการทำงาน ประเทศไทยมี 2 ระบบ คือ เกณฑ์ทหารและสมัครใจ ดังนั้นอย่าไปชูเป็นนโยบายหาเสียงเลย เมื่อเข้ามาก็ทำความเข้าใจกันเพราะความมั่นคงมีหลายมิติ จะบอกว่าไม่มีการสู้รบทำไมต้องมาเกณฑ์ทหารจำนวนมากมายนั้น อยากให้มองว่าเป็นการรักษาสมดุลอำนาจทหารมากกว่า โดยไม่ต้องรบ แต่สามารถรักษาผลประโยชน์ของชาติได้ ทหารทำงานด้วยแรงศรัทธา อุดมการณ์ ไม่ใช่จ้างด้วยเงิน เพราะเงินซื้อสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ไม่ควรตีค่าความรับผิดชอบต่อแผ่นดิน ความรักชาติ เป็นเงิน การดูแลแผ่นดินเกิด และความมั่นคงของชาติ เป็นหน้าที่ของทุกคน การนำไปหาเสียงแบบนี้ก็ต้องพิจารณากันเองว่าเหมาะสมหรือไม่ ในโลกนี้มีอยู่ 39 ประเทศที่ยังใช้ระบบการเกณฑ์ทหารอยู่ และ […]
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 สปริงนิวส์ รายงานว่า พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เครื่องบิน C130 ของกองทัพอากาศ ที่จะนำคณะนายกรัฐมนตรีไปตรวจราชการที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.กระบี่ เกิดใบพัดขัดข้อง หลังขึ้นบิน 45 นาที ต้องบินวนกลับมาเปลี่ยนเครื่องใหม่เป็น CN295 ของกองทัพบกแทน ว่า เครื่องบินลำดังกล่าวเก่าแล้ว ขณะนี้ก็กำลังมีแผนปรับเปลี่ยนซึ่งจะต้องดูงบประมาณ โดยก่อนขึ้นบินเจ้าหน้าที่ก็ตรวจเช็กแล้ว เมื่อถามว่า จากกรณีที่เกิดขึ้นถือได้ว่างบประมาณของกองทัพยังมีความจำเป็นในการนำไปซื้อยุทโธปกรณ์หรือไม่ พล.อ. ประวิตร กล่าวว่า ก็มีความจำเป็น เพราะเครื่องนี้เก่าแล้ว ใช้มานาน 30 กว่าปีแล้ว ซึ่งงบประมาณของกระทรวงกลาโหมก็ถือว่ามีความจำเป็นในการซื้อยุทโธปกรณ์ รวมถึงที่ผ่านมางบประมาณของกระทรวงกลาโหมก็ใช้ไปตามความจำเป็น ไม่ได้มากขึ้น งบประมาณเท่าเดิมทุกอย่างประมาณ 7.5 เปอร์เซ็นต์ ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า จากกรณีที่เกิดขึ้นสามารถหักล้างข้อกล่าวหาบางพรรคการเมืองที่หาเสียงจะลดงบประมาณกองทัพได้หรือไม่ พล.อ. ประวิตร กล่าวว่า งบประมาณกระทรวงกลาโหมมีความจำเป็น เพราะต้องใช้ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชน และใช้ในการป้องกันประเทศ […]
วันนี้ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้สื่อข่าวได้รายงานว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊ก Korn Chatikavanij แสดงความคิดเห็นกรณีการตัดงบกองทัพ พร้อมกับอธิบายข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งระบุข้อความดังนี้… ข้อเท็จจริงเรื่องงบกระทรวงกลาโหม ผมไม่มีเจตนาจะปกป้องหรือกล่าวหาใคร แต่หากดูจากตารางจะเห็นว่า.. 1. งบทหารเพิ่มขึ้น(เกือบ) ทุกปีจริง แต่ตามจริงงบทุกกระทรวงก็เพิ่มขึ้นตาม GDP ที่สูงขึ้นเหมือนกัน 2. ปีเดียวที่กล้าปรับลดงบทหารลงไปคือ ในสมัยคุณอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตรเป็นรมว. กลาโหม) 3. หากวัดจากสัดส่วนต่อ GDP เราจะเห็นว่างบทหาร ไม่ได้ผิดปกติ และลดลงต่อเนื่องในยุค คสช. 4. แต่ละประเทศจะมีการจัดสรรงบทหารตามความเหมาะสมตามสถานการณ์ของตน ปกติจะใช้วิธีเปรียบเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งจะเห็นว่ามีทั้งตํ่ากว่าและสูงกว่าเรา การใช้งบรัฐไม่ว่าจะงบประมาณรายจ่ายประเภทใดก็ตาม (รวมถึงงบทหาร) ต้องโปร่งใส แต่ทุกฝ่ายไม่ควรเพิ่มเงื่อนไขความแตกแยก โดยไม่มีความรับผิดชอบต่อข้อเท็จจริง ประชาชนควรดูพฤติกรรมของทุกรัฐบาลในอดีตว่า เคยมีท่าทีอย่างไร พรรคที่ประกาศว่า ..งบทหารต้องลดลง เคยมีการปรับงบทหารลงในยุคที่มีอำนาจหรือไม่ ในสมัยเราเป็นรัฐบาล กลาโหมร้องของบซื้อเรือดำน้ำ คุณอภิสิทธิ์ถามว่า ‘ทหารเรือเราใช้เรือดำน้ำเป็นหรือยัง?’ และจึงมีนโยบายให้ไปฝึกมาก่อนที่คิดจะซื้อ สุดท้ายไม่ได้มีการจัดซื้อเรือดำน้ำในยุคเรา […]
วันที่ 24 ธ.ค. ที่กระทรวงกลาโหม พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังประชุมสภากลาโหมที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุม ว่า พล.อ.ประวิตรได้กำชับเรื่อง กำลังพลสำรอง ที่เข้ามาทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว โดยสั่งการให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมขับเคลื่อนแผนงานร่วมกับกองบัญชาการกองทัพไทยและเหล่าทัพ เพื่อกำหนดแผนแนวทางการปฏิบัติในการนำกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องกำลังพลสูงอายุในหน่วยกำลังรบ และหน่วยสนับสนุนการรบทุกเหล่าทัพ อีกทั้งเพื่อประหยัดงบประมาณ และลดภาระงบประมาณกระทรวงกลาโหมในภาพรวม โดยให้สามารถบรรจุกำลังสำรองเข้ามาทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวได้ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป โดยกำลังพลทั้งหมดต้องอายุไม่เกิน 35 ปี ผ่านการเป็นทหารเกณฑ์มาแล้ว และมีชื่ออยู่ในบัญชีกำลังพลสำรอง ซึ่งจะได้สิทธิต่างๆเช่นเดียวกับทางราชการ ข่าวจาก : มติชนรายสัปดาห์
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า สมาคมได้รับการร้องเรียนจากพลทหารเกณฑ์ในค่ายทหารชื่อดังแห่งหนึ่งใน จ.กระบี่ ว่า ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากอาหารแต่ละมื้อไม่พอกินและไม่อร่อย บางมื้อมีแค่น้ำแกงและลูกชิ้น 2 ลูกเท่านั้น ต้องออกไปหาซื้อกินกันเอง และร้านค้าสวัสดิการในค่ายก็ขายแพงเกินกว่าร้านค้าทั่วไปด้วย กรณีดังกล่าวสมาคมไม่เชื่อว่าจะมีจริง เนื่องจาก พรบ.ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2558 กำหนดไว้ว่าทหารกองประจำการที่รับเงินเดือน ระดับ พ.1 ถ้ารับเงินเดือนรวมกับเบี้ยเลี้ยงประจำตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมแล้วไม่ถึงเดือนละ 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว (พชค.) เพิ่มขึ้นตามที่กระทรวงกลาโหมจะกำหนด แต่รวมแล้วต้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท แต่รับจริงอาจได้เพียง 6,000-7,000 บาทเท่านั้น นอกจากนั้นยังได้รับเบี้ยเลี้ยงอีกวันละ 96 บาท โดยพลทหารที่อยู่ประจำหน่วย ทางหน่วยจะหักค่าประกอบเลี้ยงวันละ 65 บาทต่อคนต่อวัน ดังนั้น อาหารที่ประกอบเลี้ยงพลทหารจึงไม่ควรที่จะมีปัญหาจนเป็นเหตุให้มีการร้องเรียนได้ “เพื่อความกระจ่าง สมาคมจะร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้สั่งการไปยังกระทรวงกลาโหมและกองทัพบกเพื่อตรวจสอบ และสอบสวนในทางลับว่ามีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในค่ายดังกล่าวจริงหรือไม่ หากพบว่ามีจริงก็เชื่อได้ว่าค่ายทหารอื่นๆ ทั่วประเทศอาจจะมีลักษณะเดียวกัน จำต้องมีการรื้อตรวจสอบ แก้ไขกันทั้งระบบอย่างเร่งด่วน […]
แม้ "บิ๊กป้อม" พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหม จะออกมาย้ำว่า ในกองทัพไม่มีระบบ "พลทหารรับใช้" ซึ่งหมายถึงทหารเกณฑ์ที่ถูกส่งไปอยู่ตามบ้าน "นาย" หรือบ้านผู้บังคับบัญชาระดับสูงของหน่วย หรือของกองทัพ แต่ถ้าฟังดีๆ ก็จะพบว่า มีการนำทหารเกณฑ์ไปใช้งานตามบ้านนายจริงๆ แต่เป็นลักษณะ "ขอยืมตัว" แม้รัฐมนตรีกลาโหมจะยืนยันแบบนี้ แต่ข้อมูลที่ "ล่าความจริง" ได้รับมาจากแหล่งข่าวในกองทัพ ยืนยันได้ว่ามีการจัดระบบ "พลทหารรับใช้" หรือที่เรียกภาษาทางการว่า "พลทหารประจำตัวผู้บังคับบัญชา" จริง ส่วนจะใช้คำว่า "ยืมตัว" หรือ "สมัครใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย" หรือ "สั่งให้ไปอยู่บ้านนาย" อันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งอย่างหน่วยทหารขนาดใหญ่หน่วยหนึ่ง มีการพูดคุยเป็นวาระการประชุมอย่างเป็นทางกรรของผู้บังคับบัญชา กำหนดระเบียบการขอตัว "พลทหาร" ไปเป็น "พลทหารประจำตัวผู้บังคับบัญชา" สรุปได้ว่า นายทหารที่มีสิทธิ์ขอ "พลทหาร" ไปเป็น "พลทหารประจำตัว" หรือเรียกง่ายๆ ว่า "พลทหารรับใช้" นั้น ต้องมียศ "พันโท" ขึ้นไป และยังมีการกำหนดจำนวน "พลทหารประจำตัวผู้บังคับบัญชา" […]