‘กรมทางหลวง’ ไม่ขยายสัมปทาน ‘ดอนเมืองโทล์ลเวย์’

Advertisement นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเจรจาลดผลกระทบประชาชนกรณีโครงการทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทล์ลเวย์ เตรียมปรับขึ้นราคาค่าผ่านทาง โดยระบุว่า ภายหลังทาง บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT ผู้รับสัมปทานโครงการดังกล่าว ประกาศเตรียมปรับอัตราค่าผ่านทางตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.2567 ตามสัญญาสัมปทาน ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าผ่านทางสูงสุดถึง 170 บาท Advertisement อย่างไรก็ดี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้ ทล.ศึกษาหาแนวทางในการปรับลดค่าผ่านทางในโครงการดังกล่าว โดย ทล.ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุดเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2567 เพื่อศึกษาแนวทาง และความเป็นไปได้ ผ่านการเปรียบเทียบตัวเลขความคุ้มค่าในทุกมิติ ทั้งกรณีไม่ขึ้นค่าผ่านทาง กรณีปรับขึ้นตามสัญญาเดิม และคาดการณ์จำนวนรถที่จะมาใช้บริการโครงการ ทั้งนี้ พบว่าแนวทางที่เหมาะสม คือ ไม่ควรเจรจาขยายสัญญาสัมปทานออกไปอีก เพราะตัวเลขศึกษาออกมาพบว่าไม่คุ้มค่าในทุกกรณี ดังนั้นควรจะดำเนินการตามสัญญาสัมปทานตามเดิม และรอให้หมดสัญญาสัมปทานในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือในปี 2577 […]

ซูซูกิ แจ้งเลิกผลิตรถในไทย หันนำเข้าอาเซียน ญี่ปุ่น อินเดีย

ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตรถยนต์ ประเทศญี่ปุ่น ออกประกาศการตัดสินใจที่จะยุติการผลิตที่โรงงานผลิตของ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ SMT ซึ่งเป็นผลมาจากการทบทวนโครงสร้างการผลิตของซูซูกิทั่วโลก ทั้งนี้ซูซูกิ สนใจเข้ามาดำเนินแผนการผลิตในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2550 เมื่อรัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมรถยนต์ อีโค คาร์ ในปี 2550 โดยซูซูกิได้สมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ก่อนจะก่อตั้ง SMT ในปี 2554 และหลังจากได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ อีโค คาร์ บริษัทได้ดำเนินการผลิตตั้งแต่ปี 2555 เป็นครั้งแรก และสามารถผลิต และส่งออกได้ถึง 60,000 คัน/ปี อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอน และการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าของทั่วโลก ทำให้ซูซูกิพิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับโลก จึงตัดสินใจยุติการดำเนินงานของโรงงาน SMT ช่วงสิ้นปี 2568 แม้ว่าจะปิดสายการผลิต แต่ซูซูกิจะยังคงดำเนินธุรกิจจำหน่าย และให้บริการหลังการขายในประเทศไทยต่อไป โดยปรับแผนธุรกิจด้วยการนำเข้ารถจากสายการผลิตจากโรงงานในอาเซียน ญี่ปุ่น รวมถึงอินเดีย ซูซูกิ ยังระบุว่าเพื่อเป็นการสนับสนุนแนวนโยบายของรัฐในการเป็นกลางทางคาร์บอน ซูซูกิ จะแนะนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้า […]

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ ทำลาย ‘ความเชื่อมั่น’ อุตสาหกรรม-ผู้บริโภค

ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมและความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย.2567 ลดลงทุกองค์ประกอบปัจจัยหลักมาจากผู้บริโภคกังวลเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ค่าครองชีพสูง และนโยบายการเมือง อีกทั้งจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือน ต.ค.2567 จะทำให้ผู้บริโภคเริ่มกลับมาใช้จ่ายแต่ก็ยังคงระมัดระวัง ส่วนผู้ผลิตจะต้องแบกต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกกว่า 20% สุดท้ายแล้วก็จะกระทบต่อราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 2567 อยู่ที่ระดับ 90.3 ปรับตัวลดลงจาก 92.4 ในเดือนมี.ค. 2567 ปรับตัวลดลงทุกองค์ประกอบ ทั้งยอดขายโดยรวม คำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ เป็นผลมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ อาทิ สินค้ายานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอีมีความกังวลต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตระดับ 5-20% ขณะที่การสิ้นสุดมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลของภาครัฐ ส่งผลให้ต้นทุนด้านพลังงานและค่าขนส่งปรับตัวเพิ่มขึ้น 30-40% จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,268 ราย […]

กทพ.ประกาศปรับค่าทางด่วน 5 บาท เริ่ม 1 มี.ค.นี้

รายงานข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กทพ.จะปรับอัตราค่าผ่านทางพิเศษฉลองรัช และทางพิเศษบรูพาวิถี ตามเงื่อนไขสัญญากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย TFFIF ที่จะปรับขึ้น ทุก 5 ปี โดยจะปรับอัตราค่าผ่านทางในวันที่ 1 มี.ค. 2567 หลังจากที่ชะลอการปรับขึ้นค่าผ่านทางตามสัญญา มาตั้งแต่ 1 ก.ย. 2566 เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ทางพิเศษและประชาชน ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าผ่านทางดังกล่าว ยังคิดคำนวณตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) ที่จะปรับขึ้นประมาณ 10% หรือประมาณ 5 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ อัตราค่าผ่านทางพิเศษฉลองรัช – รถ 4 ล้อ ​ราคาเดิม 40 บาท ​ปรับเป็น 45 บาท – รถ 6-10 ล้อ ​ราคาเดิม 60 บาท ​ปรับเป็น 65 บาท – รถมากกว่า […]

จับตารัฐบาลบีบ ‘ปตท.’ ลดราคาก๊าซ อุ้มค่าไฟประชาชนทั่วไป 4.1 บาท

รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ถึงกรณีที่สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบให้ปรับค่าไฟฟ้าผันแปล (เอฟที) ขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 2567 เท่ากับ 89.55 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 69.07 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งนี้ เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่งผลให้ฝ่ายรัฐบาลอยู่ระหว่างหาแนวทางเพื่อปรับลดค่าไฟฟ้าเพื่อคงให้อยู่ในระดับ 3.99 บาทต่อหน่วย เทียบเท่างวดที่เรียกเก็บปัจจุบัน (ก.ย.-ธ.ค. 2566) หรือไม่ควรเกิน 4.20 บาทต่อหน่วย อย่างไรก็ตาม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้ค่าไฟฟ้าอยู่ที่ระดับ 4.20 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ นายกฯ ต้องการที่จะให้ลดค่าไฟฟ้าให้เหลือในระดับ […]

ทอท.แต่งตั้ง-โยกย้ายผู้บริหาร68ตำแหน่ง เด้ง ผอ.ดอนเมือง ปมบันไดเลื่อนดูดขาผู้โดยสาร

(26 ก.ค.) มีคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายพนักงาน ทอท.ระดับ 10-11 และระดับ 9 รวมจำนวน 68 ตำแหน่ง โดยทยอยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.นี้ และ 1 ต.ค.2566 เป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้ เพื่อให้การบริหารงานของ ทอท. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สำหรับรายละเอียดของการแต่งตั้งโยกย้าย พบว่ามีผู้บริหารในตำแหน่งสำคัญ โดยเฉพาะตำแหน่ง นายการันต์ ธนกุลจีรพัฒน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง ที่ถูกโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา 11 ทอท.ภายหลังมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางเลื่อนดูดขาผู้โดยสาร โดยจะมีการแต่งตั้ง นายวิจิตต์ แก้วไทรเทียม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ระดับ 11) มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมืองแทน ด้านนายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่ผู้โดยสารประสบอุบัติเหตุเท้าติดทางเลื่อน บริเวณทางเดิน South Corridor ระหว่าง Pier […]

“ชัชชาติ”โชว์ผลงาน 1 ปีหลังรับตำแหน่ง เคลียร์หนี้ BTS ก้อนแรก 2 หมื่นล้าน

ภายหลังการเข้ารับหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ครบ 1 ปี ได้มีการหารือเพื่อติดตามการแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือ รถไฟฟ้า BTS และเป็นผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ก่อนที่นายชัชชาติ ระเข้ารับตำแหน่งมีการเสียงถึงแนวทางการแก้ปัญหาหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งส่วนที่ต้องจ่ายให้ BTS และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวมถึงราคาค่าโดยสารที่ 59 บาท และการเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต เพื่อเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครที่จะใช้ชำระหนี้ ล่าสุดนายชัชชาติ ได้หารือกับผู้บริหาร BTS ถึงแนวทางการแก้ปัญหาการชำระหนี้ให้กับ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นปัญหาที่นำมาสู่การฟ้องร้องศาลปกครอง นายชัชชาติ เปิดเผยภายหลังการหารือว่า การหารือครั้งนี้เพื่อหาทางออกร่วมกันว่าจะมีแนวทางปฎิบัติมีความเป็นไปได้เกี่ยวกับการใช้หนี้ให้กับภาคเอกชนอย่างไรบ้าง เนื่องจากปัญหาสะสมมานาน และได้เห็นแล้วว่าภาคเอกชนต้องแบกรับต้นทุนจากการลงทุนให้บริการ ซึ่งโครงข่ายรถไฟฟ้าได้เปิดให้บริการและแก้ไขปัญหาการเดินทางของประชาชนจริง กทม.ได้แบ่งปัญหาเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวไว้ 2 เรื่อง คือ 1. หนี้ที่เกิดจากค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง O&M (Operation […]

error: