ก.แรงงานเล็งปรับค่าแรงขั้นต่ำ492บาท มีปรับขึ้นแน่ แต่รอตัวเลขชัวร์

Advertisement กระทรวงแรงงานว่าค่าจ้างขั้นต่ำมีการปรับแน่ แต่ตัวเลขจะเป็น 492 บาทตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเสนอหรือไม่นั้น หรือเป็นเท่าไหร่ยังตอบไม่ได้ แต่จะเร่งให้เร็วที่สุด วันที่ 26 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้มีการยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลประกาศปรับค่าจ้าง พร้อมกับการควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพงเกินไป และการสร้างหลักประกันการทำงาน รวมทั้งกรณีอื่น ๆ เช่น เปลี่ยนมาตรการประกันสังคมที่เป็นธรรมแก่คนทำงาน ให้ใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ให้รัฐบาลวางนโยบายในการจ้างงาน พร้อมกับให้ความช่วยเหลือเกษตรกร และผู้ประกอบการรายย่อย เป็นต้น Advertisement แบกภาระค่าครองชีพพุ่ง คสรท. และ สรส. ระบุว่าได้ยืนข้อเสนอดังกล่าวให้รัฐบาลไปเมื่อนที่ 21 ธันวาคม 2564 เพราะค่าจ้างแรงงานของไทยมีราคาต่ำ การทำงานระยะสั้น ไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ไร้หลักประกัน ทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ จึงไม่สามารถจุนเจือเลี้ยงดูครอบครัวได้เพียงพอ อีกทั้งปัจจุบันราคาสินค้าอุปโภค บริโภค สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ได้ปรับราคาสูงขึ้นอย่างมาก เช่น หมู ไก่ ไข่ เนื้อ […]

ก.แรงงาน ชี้นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งลูกจ้างทุกคนตรวจโควิดหรือฉีดวัคซีน

กระทรวงแรงงาน เผยนายจ้างสามารถออกคำสั่งให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจ หรือเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ ก็ต่อเมื่อลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะติดโควิด แต่ไม่สามารถบังคับให้ลูกจ้างทุกคน นางโสภา เกียรตินิรชา รองอธิบดีและโฆษกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณี นายจ้างมีประกาศหรือคำสั่งให้ลูกจ้างทุกคนเข้ารับการตรวจจากแพทย์หรือเข้ารับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (การฉีดวัคซีน) เพื่อป้องกันโรคในกรณีที่ลูกจ้างมีความเสี่ยงหรือต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อไวรัสโควิด–19 แม้มีเจตนาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายให้อำนาจนายจ้างดำเนินการดังกล่าวได้ อีกทั้ง พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่จะสั่งให้ลูกจ้างที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เช่น เป็นผู้สัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด–19 เป็นต้น เข้ารับการตรวจจากแพทย์ หรือเข้ารับการสร้างภูมิคุ้มกันโรค ตามวัน เวลา และสถานที่ที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนดไว้ ดังนั้น นายจ้างจึงไม่สามารถกระทำได้ หากนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างที่ไม่ผ่านการตรวจหรือไม่ได้เข้ารับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคเข้าทำงาน นายจ้างยังต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างและหากนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้หรือมีพฤติการณ์ใดๆ ที่แสดงว่าเป็นการเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้างด้วย อย่างไรก็ตาม หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด–19 นายจ้างอาจมีคำสั่งให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจจากแพทย์ หรือคำสั่งให้ลูกจ้างเข้ารับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อป้องกันโรคเป็นการเฉพาะรายได้ ถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่มีลักษณะกำหนดขึ้นเพื่อคัดกรองป้องกัน เฝ้าระวัง รักษา ควบคุมมิให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 อีกทั้งยังเป็นการป้องกันสุขภาพของบุคคลอื่น จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีเหตุอันสมควรถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายตามนัยมาตรา 119 (4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ […]

error: