จี้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ492บาท ย้อนนโยบาย พปชร.หาเสียง ค่าแรง425บาท ทุกวันนี้ยังไม่เกิด

Advertisement เมื่อวันที่ 25 เมษายน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) พร้อมด้วย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้ออกจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้เร่งรัดการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้กับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ ในอัตราเดียวกัน 492 บาท โดยส่วนหนึ่งระบุว่า Advertisement โดยครั้งสุดท้ายของการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำได้ถูกแบ่งออกเป็น 10 ราคา ตามเขตพื้นที่ คือ 313, 315, 320, 323, 324, 325, 330, 331, 335 และ 336บาท แต่หลังจากนั้น จนถึงปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเรื่องที่ไม่มีใครพูดถึงอาจเป็นเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รัฐบาลและผู้ประกอบการบางแห่งอ้างว่า ระบบการผลิต การจ้างงาน รวมทั้งระบบเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะตกต่ำ ธุรกิจ สถานประกอบการ ร้านค้า ต้องลดการผลิต บางแห่งต้องปิดกิจการไปเลย ทำให้เกิดการเลิกจ้างแต่ความเป็นจริงอีกด้านหนึ่ง สถานประกอบการจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ที่อาศัยสถานการณ์โรคโควิด […]

บอร์ดค่าจ้างเตรียมชงประกันสังคม ลดอัตราจ่ายเงินสมทบ’นายจ้าง-ลูกจ้าง’ลง1% เป็นเวลา1ปี

  จากกรณีคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เตรียมประชุมเครือข่ายแรงงานถึงกรณีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอัตรา 5-22 บาท ทั่วประเทศ โดยขอให้มีการทบทวนใหม่ ขณะที่ปลัดกระทรวงแรงงานยืนยันว่าไม่มีการทบทวนนั้น นายอรรถยุทธ ลียะวณิช ประธานสมาคมนายจ้างผู้ประกอบการค้าขนมไทย ในฐานะกรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า มติการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 เป็นมติร่วมกัน ตนขอไม่พูดถึงเรื่องนี้ว่าใครจะพอใจหรือไม่พอใจ ก็ให้เป็นเรื่องของแต่ละฝ่าย อีกอย่างตนก็เป็นกรรมการค่าจ้างคงไม่ออกมาพูดว่าจะพอใจหรือไม่อย่างไร เพราะเป็นข้อสรุปของคณะกรรมการค่าจ้างแล้ว เมื่อถามถึงมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง นายอรรถยุทธ์ กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องดีที่รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือ ทั้งเรื่องของการลดหย่อนภาษี 1.5 เท่า นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีข้อเสนอให้มีการลดการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมทั้งส่วนของนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 1% เป็นเวลา 1 ปีด้วย ซึ่งตรงนี้คงต้องรอเสนอไปยังคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เพื่อพิจารณา ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีความรวดเร็ว เพราะอยู่ภายใต้กระทรวงแรงงงานเหมือนกัน ตรงนี้นับว่าเป็นผลดีทั้งกับฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อเสนอให้มีการประกาศโครงสร้างค่าจ้างและค่าจ้างลอยตัว นายอรรถยุทธ์ กล่าวว่า นายจ้างก็พร้อมที่จะทำอยู่แล้ว เพราะว่าเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์กับทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเอง อย่างการประกาศโครงสร้างค่าจ้างก็จะทำให้ทั้งสองฝ่ายรับรู้ เช่น นายจ้างรู้ว่าจะต้องมีรายจ่ายเท่าไร และลูกจ้างรู้ว่าจะมีรายรับเข้ามาอย่างไรในแต่ละปี ทำให้วางแผนค่าใช้จ่ายกันได้ และการมีโครงสร้างค่าจ้างเช่นนี้ว่าแต่ละปีลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นเท่าไรอย่างไร ซึ่งหากทำจน ข่าวจาก : […]

รัฐช่วยด้วย!! คสรท.ร้องรัฐบาลช่วยเจรจาข้อพิพาท บ.มิตซูบิชิฯกับสหภาพแรงงาน พร้อมขอเลิกปิดงาน

  เมื่อวันที่ 17 มกราคม คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่อง ขอให้ทุกฝ่ายเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานระหว่าง บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด กับสหภาพแรงงาน ระบุว่า ตามที่สหภาพแรงงานมิตซูบิชิ อีเล็คทริค ประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริคฯ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560 ซึ่งประเด็นการยื่นข้อเรียกร้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตอบแทนจากการทำงานในระหว่างปี และเรื่องปรับปรุงสวัสดิการที่จำเป็น และได้มีการเจรจากันหลายครั้ง แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2560 บริษัทตอบโต้กลับด้วยการยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานในประเด็นที่เกี่ยวกับการปรับเงินค่าจ้างประจำปี และโครงสร้างในระดับตำแหน่งงานต่างๆ การจัดเวลาเข้าทำงานใหม่ (กะ) และขอยกเลิกหักเงินค่าบำรุงของสมาชิกให้แก่สหภาพแรงงาน ซึ่งข้อเรียกร้องของนายจ้างสหภาพแรงงานและสมาชิกเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนที่ไม่เป็นคุณ ไม่สามารถยอมรับได้ การเจรจายืดเยื้อหาข้อยุติไม่ได้จนเกิดข้อพิพาทแรงงานระหว่างกัน ซึ่งต่อมาได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนับตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2560 ก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ และในวันเดียวกันบริษัทได้ประกาศปิดงาน โดยไม่จ่ายค่าจ้างและสวัสดิการใดๆให้แก่สมาชิกของสหภาพแรงงานและผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ […]

error: