อสส. ไม่รับดำเนินการคดี “ทักษิณ-เพื่อไทย” ชี้ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ล้มล้างการปกครอง

Advertisement 19 พฤศจิกายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรณีเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ อัยการสูงสุด ได้ลงนามตอบถ้อยคำต่อศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นที่ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ Advertisement โดยศาลรัฐธรรมนูญได้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่าได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วอย่างไร โดยก่อนหน้านี้ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า ที่อัยการสูงสุดส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญมีข้อมูลในการสอบถ้อยคำ ทั้งทางฝั่งผู้ร้องและผู้ถูกร้องไปแล้ว โดยไม่ได้มีการสอบถ้อยคำ นายทักษิณ Advertisement ทั้งนี้ มีรายงานเพิ่มเติมว่าในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 อัยการสูงสุดยังมีความเห็นแจ้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่าเรื่องนี้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของคณะทำงานที่เสนอมายังอัยการสูงสุดก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม แม้อัยการสูงสุดจะมีมติไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ แต่ศาลรัฐธรรมนูญจะยังมีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้.   ข่าวจาก : ไทยรัฐออนไลน์

ราชทัณฑ์ เผยขออภัยโทษอาจต้องใช้เวลา1-2เดือน เพราะต้องทำตามขั้นตอนทางเอกสาร

นายสิทธิ สุธีวงศ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกระบวนการขอพระราชทานอภัยโทษของดร.ทักษิณ ว่าเป็นไปตามแนวทางที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูแลหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรม เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ดร.ทักษิณ สามารถยื่นขอพระราชทานอภัยโทษได้ตั้งแต่วันแรกที่ถูกคุมขัง แต่ทั้งนี้กระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเอกสาร ซึ่งโดยปกติตัว ดร.ทักษิณเองหรือญาติจะเป็นผู้ยื่นเอกสารให้ทางเรือนจำ หลังได้รับเอกสารทางคณะกรรมการของเรือนจำจะพิจารณาการยื่นขอ ก่อนส่งเรื่องให้ทางกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม เพื่อเสนอไปยังนายกรัฐมนตรี ลงนามในขั้นต่อไป รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวต่อว่า กรณีนายทักษิณ เป็นการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะตัวบุคคล ซึ่งเป็นคนละประเภทกับการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ส่วนระยะเวลาของกระบวนการนี้ โดยทั่วไปจะใช้เวลาไม่เกิน 1-2 เดือน จนเรื่องถึงสำนักองคมนตรี อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาจะเป็นเท่าใด ขึ้นอยู่กับแต่ละขั้นตอน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะช้าในขั้นการรวบรวมเอกสาร เมื่อยื่นมาแล้วเอกสารไม่ครบ เพราะต้องมีเอกสารประกอบเป็นจำนวนมาก “1-2 เดือนหมายถึงเรื่องออกจากนายกรัฐมนตรี ไปถึงสำนักองคมนตรีเรียบร้อย ส่วนขั้นตอนกระบวนการวินิจฉัยข้างบนก็เป็นเรื่องที่แล้วแต่พระราชอำนาจ ไม่มีเงื่อนกำหนดเวลา ตอนนี้ทางกรมราชทัณฑ์ก็รอเอกสารอยู่และเราพร้อมที่จะรับเอกสารตลอดเวลา ถ้าทางผู้เกี่ยวข้องมายื่นเอกสาร” นายสิทธิ กล่าว   ข่าวจาก : thaitv5hd

error: