ผลสำรวจเผย “คนไทยแก่ก่อนรวย” วัยเกษียณไร้เงินเก็บ-วัยรุ่นรายได้น้อย ใช้ชีวิตติดหรู

Advertisement ปัญหารายได้ของคนไทยยังเป็นเรื่องเปราะบาง โดยเฉพาะเมื่อถึงวัยเกษียณ บางกลุ่มอาจมีเงินเก็บไว้ดูแลตัวเองยามชรา แต่บางกลุ่มที่รายได้ไมีเพียงพอก็ต้องพึ่งพารายได้นอกครัวเรือน เรื่องนี้สะท้อนปัญหา “คนไทยแก่ก่อนรวย” Advertisement วันนี้ (18 ก.ค.67) ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า สังคมไทยกำลังเผชิญความไม่พร้อมหลังวัยเกษียณ สะท้อนจากข้อมูลครัวเรือนไทยส่วนใหญ่คนที่มีรายได้มากที่สุดในครัวเรือนมีอายุเกิน 50 ปี และรายได้ต่ำ (ราว 42% ของครัวเรือนไทย) จึงต้องพึ่งพารายได้นอกครัวเรือน เช่น เงินช่วยเหลือภาครัฐ และรายได้ไม่เป็นตัวเงิน (หรือสิ่งของต่างๆ ที่ได้รับมา) ส่งผลให้กันชนทางการเงินต่ำ หากมีเหตุฉุกเฉินหรือมีรายได้ลดลง นับเป็นความเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ทั้งในด้านความเปราะบางของครัวเรือนและภาระการคลัง ผลสำรวจ SCB EIC Consumer survey 2023 ชี้ว่า ในระยะสั้นปัญหา “แก่ก่อนรวย” ของสังคมไทยยังน่าห่วง โดยพบว่ากลุ่มวัยทำงานใกล้เกษียณ (51-60 ปี) ส่วนใหญ่ยังมีสินทรัพย์น้อย โดยเฉพาะคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 50,000 บาทต่อเดือน มีความเสี่ยงสูงที่จะประสบปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายหลังเกษียณ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสะสมสินทรัพย์ของกลุ่มนี้ คือ ปัญหาภาระหนี้ […]

เปิด 10 จังหวัด มีคนจนมากสุด ตกใจจังหวัดท่องเที่ยวยอดฮิต ติดอันดับ 1

เปิด 10 จังหวัด มีคนจนมากสุดในไทย โดยระบบบริหารการจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP เป็นระบบบริหารคนจนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform) รายงานว่าประชากรสำรวจ 36,130,610 คน ประเทศไทยมีคนจน 655,365 คน (ตัวเลขจากจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ) ซึ่งความยากจนสามารถวัดได้จากดัชนีความยากจนหลายมิติ หรือ ดัชนี MPI (Multidimensional Poverty Index) ที่พิจารณาจาก 5 มิติ เป็นการบูรณาการข้อมูลระหว่าง ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) 2565 และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการรัฐ โดยที่คนจน 1 คน มีปัญหาได้มากกว่า 1 ด้าน เปิด 10 อันดับจังหวัดที่มีจำนวนคนจนน้อยที่สุด 1.สมุทรสาคร 2.ตราด […]

นักวิชาการ เผยความเหลื่อมล้ำ’ขรก.-คนรวย’ ใช้สวัสดิการรัฐมากกว่า’คนจน’ ในขณะที่คนจนเข้าถึงรัฐยาก-ต้องพึ่งตนเอง!

  วันที่ 19 ต.ค. ดร.เดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เปิดเผยข้อมูลรายจ่ายของภาครัฐการศึกษาและการรักษาพยาบาล และแสดงกราฟวิเคราะห์ความยากจนและเหลื่อมล้ำในสังคมไทย พร้อมระบุว่า ผมรู้สึกปวดใจทุกครั้ง เวลาฟัง “คนที่มีอันจะกิน” โดยเฉพาะ “ข้าราชการ” บอก (หรือหวัง) ให้คนจนพึ่งตนเอง โดยไม่สนใจข้อเท็จจริงว่า “ตนเองนั้นพึ่งรัฐบาล” อยู่เท่าไร ข้อมูลจากสภาพัฒน์ ปี 2559 ชี้ให้เห็นว่า คนในกลุ่มครัวเรือน 40% ที่มีรายได้ดีที่สุดของประเทศ (พูดแบบภาษาสถิติว่า quintile ที่ 4 และ 5) ได้รับประโยชน์จากรัฐบาลในการศึกษามากกว่าคนอีก 60% ที่จนกว่าตนมาก โดยเฉพาะในระดับมัธยมปลายและอุดมศึกษา (รูปแรก โดยดูตามอายุในแกนนอน)     ซึ่งเป็นระดับการศึกษา ที่คนกลุ่มที่มีรายได้น้อยเข้าถึงได้น้อยมาก ส่วนกลุ่มคนจนได้รับประโยชน์จากรัฐบาลมากกว่าในระดับประถมศึกษาและมัธยมต้น เพราะคนรวยส่วนหนึ่งพาลูกหลานเข้าโรงเรียนเอกชนหรือนานาชาติ ยิ่งถ้าเป็นค่ารักษาพยาบาล เราจะเห็นได้เลยว่า คนในกลุ่ม 20% ที่รวยที่สุด หรือ quintile ที่ 5 ได้รับประโยชน์จากค่ารักษาพยาบาลจากรัฐบาลมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับสวัสดิการข้าราชการ และสามารถเข้ารับการรักษาในโรคที่มีความซับซ้อนในการรักษาได้ (โดยเฉพาะในช่วงปลายของชีวิต รูปที่ […]

error: