ครูธุรการ-ภารโรงเฮ! ทำงานครบ3ปี อาจมีสิทธิ์สมัครสอบกรณีพิเศษ!
Advertisement Advertisement
Advertisement Advertisement
"ธีระเกียรติ" สั่ง สพฐ. คิดเส้นทางการเติบโตครูธุรการทั่วประเทศ ย้ำภาระงานต้องแบ่งให้ชัดเจนคนได้เงินเดือน 9 พันบาท และคนได้เงิน 1.5 หมื่นบาท อยากให้ครูธุรการช่วยเป็นมือปราบโกง ศธ. วันนี้ (7 ธ.ค.) ที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานจัดการอบรบเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้ปฎิบัติงานธุรการโรงเรียน “จนท.ธุรการ ลดภาระงานครู เพิ่มคุณภาพผู้เรียน” ให้กับครูธุรการทั่วประเทศ ว่า ในการจัดทำนโยบายลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนของครู โดยกำหนดให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีผู้ปฏิบัติงานธุรการโรงเรียนครบทุกโรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน จนได้ครูธุรการมาเกือบ 30,000 คน ซึ่งแรกเริ่มมีคนปรามาสว่าไม่สามารถทำได้ แต่ท้ายสุดเรื่องนี้ได้รับการตอบรับจาก สพฐ.ที่ทำงานหนักจนประสบความสำเร็จ เมื่อมีครูธุรการเกิดขึ้นจะเกิดผลดีกับระบบการศึกษาคือ ครูผู้สอนได้ลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้อง สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากงานธุรการไม่ใช่งานถนัดของครู จึงต้องมีผู้ถนัดงานด้านนี้มาทำโดยเฉพาะ ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นผลพลอยได้คือ ครูธุรการเหล่านี้จะเป็นมือเป็นไม้ในการปราบโกงให้กับ ศธ. ครูเหล่านี้จะเข้ามาร้องเรียนเมื่อพบการกระทำผิดของผู้บริหาร เมื่อมีการจัดอบรมปฏิบัติการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานธุรการโรงเรียนขึ้น ตนจึงเข้าร่วมเพื่อมอบนโยบายในการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานธุรการโรงเรียนพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งในการอบรมครั้งนี้มีผู้ปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน อัตราละ 15,000 บาทต่อเดือน […]
วันที่ 20 ส.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ รร.อนุบาลชุมพร อ.เมือง จ.ชุมพร นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วยคณะ เดินทางติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ในการประชุม ครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 6/2561 ที่ จ.ชุมพร ในระหว่างวันที่ 20 – 21 ส.ค. 61 โดย นางสาว พนอ ทิพย์พิมลรัตน์ ผอ.สพป.ชุมพร เขต 1 กล่าวรายงานถึงผลสำเร็จของผลการดำเนินงานด้านคูปอง บูธแคมป์ การประเมินประกัน อินเทอร์เน็ตโรงเรียน การลดภาระครู อาหารกลางวันเด็ก ซึ่งทุกโครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากนั้นได้เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารสถานศึกษาในภาคใต้ ในการร่วมกันหาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับจิตอาสาด้านคุณธรรม และการลดการใช้พลาสติก นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ. กล่าวกับสื่อมวลชน ถึงการที่ให้ครูทำหน้าที่สอนเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องทำหน้าที่ทางด้านธุรการ หรือภารโรง โดยกระทรวงศึกษาธิการจะจัดระบบการจัดจ้างแยกออกมาต่างหาก และได้เสนองบจำนวน 3,000 […]
คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีการจัดทำข้อเสนออย่างต่อเนื่องจากแกนนำของโรงเรียนและแกนนำครูธุรการอย่างน้อยสองเรื่อง ที่จนป่านนี้ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงประสงค์ตามข้อเสนอแต่อย่างใด เรื่องแรก การขอให้มีครูสายสนับสนุนการสอนประจำโรงเรียนแบบถาวร เช่น ครูการเงิน ครูพัสดุ ครูธุรการ ครูทะเบียนและวัดผล เป็นต้น เพื่อที่จะให้ผู้ที่มีทักษะเฉพาะในเรื่องดังกล่าวมาทำหน้าที่ และครูผู้สอนจะได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเต็มเวลา เต็มหลักสูตรและเต็มความสามารถ เรื่องที่สอง มาตรการบริหารและพัฒนาคนภาครัฐ พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๑ ของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ซึ่งสาระของมาตรการนี้เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ก็คือ เมื่อข้าราชการครูเกษียณอายุลงก็จะไม่มีการคืนอัตราเกษียณดังกล่าวให้กับโรงเรียน ยกเว้น ๑) โรงเรียนมีนักเรียนไม่น้อยกว่า ๒๕๐ คน ๒)โรงเรียนอยู่ในพื้นที่พิเศษ เสี่ยงภัยทุรกันดาร ชนกลุ่มน้อย เกาะ ภูเขาและพื้นที่ในเขตชายแดน ๓) โรงเรียนศึกษาพิเศษ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนพระราชดำริ นอกจากนั้นยังกำหนดให้มีการยุบเลิกอัตราลูกจ้างประจำเมื่อเกษียณอายุอีกด้วย ทั้งสองเรื่องนี้ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนโดยตรง เรื่องแรก ครูต้องเจียดเวลามาทำการเงิน พัสดุ แนะแนว ทะเบียน ถึงแม้ว่าจะมีครูธุรการมาช่วยก็มีไม่ครบทุกโรงเรียนและเป็นอัตราจ้างรายปี ไม่ค่อยมีขวัญกำลังใจมากนัก เนื่องจากไม่รู้ว่าจะถูกเลิกจ้างเมื่อไร เรื่องที่สองเป็นเจตนารมณ์ที่ดีที่ต้องการให้การบริหารงานบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดหวังว่าใช้มาตรการนี้แล้ว สพฐ.จะมีการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อให้แต่ละโรงเรียนมีนักเรียนไม่น้อยกว่า ๒๕๐ คน แต่ตั้งแต่ประกาศใช้มาตรการนี้จนปีนี้เป็นปีสุดท้ายของมาตรการนี้แล้วก็ตาม […]