ภาคธุรกิจหวั่นค่าแรง600 ไม่ส่งผลดีต่อเพื่อไทย แนะค่อยๆ ปรับ หวั่นนักลงทุนเผ่นหนี

Advertisement 7 ธันวาคม นายวรวุฒิ กาญจนกูล นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เปิดเผยถึงกรณีที่ พรรคเพื่อไทย มีนโยบายขึ้นค่าแรง 600 บาทต่อวันว่า นโยบายดังกล่าวจะมีผลกระทบอย่างมากต่อภาคธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เนื่องจากหากค่าแรงที่ประกาศออกมาเป็นจริงเท่ากับปรับขึ้นเป็นเท่าตัว ทำให้คนที่รับงานไว้แล้วไปไม่ไหว หรือคนที่รับงานใหม่หากค่าแรงสูงขึ้นเกินไป จะทำการตลาดยากขึ้น จะทำให้เป็นปัญหาต่อระบบธุรกิจในอนาคต Advertisement “ปัจจุบันผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนสูงอยู่แล้ว จากผลกระทบสงคราม ราคาพลังงาน เงินเฟ้อ ดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับขึ้นโดยเฉลี่ย 10% เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ด้วย ซึ่งนักธุรกิจส่วนใหญ่ที่ทำธุรกิจอยู่ในขณะนี้ไม่ได้มีกำไรอะไรมาก ต่างพยายามประคองตัวกันไปอยู่ เพราะไม่รู้อีกกี่ปีเศรษฐกิจถึงจะดีขึ้นอย่างเต็มที่” นายวรวุฒิกล่าว มองไม่ส่งผลดีเพื่อไทย-นักธุรกิจไม่เลือก นายวรวุฒิกล่าวว่า มองว่านโยบายค่าแรง 600 บาทต่อวัน จะไม่เป็นผลดีต่อพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้ง โดยเกรงว่านักธุรกิจจะต้องคิดหนักและอาจจะไม่เลือกเพื่อไทย เพราะค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันที่ปรับขึ้นเกือบ 10% สูงสุด 353 บาทต่อวัน มีผลต่องานก่อสร้างและราคาบ้านประมาณ 2% ถ้าค่าแรงขึ้นเป็น 600 บาทต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 250 บาท […]

ผู้ผลิตรองเท้าแกมโบล-มาม่า โอดต้นทุนสูงหลายทาง วอนรัฐขึ้นค่าแรงเป็นขั้นบันได

9 สิงหาคม นายนิติ กิจกำจาย กรรมการบริหาร บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรองเท้าแบรนด์ “แกมโบล” (GAMBOL) เปิดเผยว่า บริษัทเห็นด้วยที่รัฐบาลจะพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้นในขณะนี้ แต่อยากขอให้ไม่ปรับขึ้นแบบก้าวกระโดด ขอให้ปรับขึ้นแบบเป็นขั้นบันได เพื่อประคับประคองต้นทุน โดยระยะแรกบริษัทเห็นด้วยว่าควรปรับขึ้นไม่เกิน 5% คิดเป็นเงินกว่า 10 บาท รวมถึงต้องกำหนดเวลาให้ชัดเจนว่าจะบังคับใช้กี่ปี และมีการประกาศล่วงหน้าให้ผู้ประกอบการมีเวลาตั้งหลักในการบริหารจัดการเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้น “ตอนนี้บริษัทเองมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น 20-30% หากขึ้นค่าแรงจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอีก ปัจจุบันที่โรงงานซึ่งตั้งอยู่ที่พระราม 2 มีคนงานร่วม 2,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว และไม่ว่าแรงงานไทยและต่างด้าว เราจ่ายค่าแรงขั้นต่ำให้ 331 บาทต่อคนต่อวัน ยังไม่รวมค่าโอที ค่าอื่นๆ อีก คิดเป็นค่าใช้จ่ายโดยรวมต่อเดือนหลาย 10 ล้านบาท “หากสุดท้ายรัฐเคาะขึ้นค่าแรง และเราไม่ไหวจริงๆ อาจพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งบริษัทไม่อยากผลักภาระให้ผู้บริโภคเพิ่ม เพราะเพิ่งปรับราคาขึ้น 10% เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขนาดมาม่ายังอั้นไม่ไหว ขอขึ้นราคา แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการเดือดร้อนจากต้นทุนที่สูงขึ้นจริงๆ ก็เห็นด้วยขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ แต่ต้องมองผลกระทบในระยะยาวด้วย” […]

“สุชาติ” อ้างเพราะโควิดทำขึ้นค่าแรง400-425ไม่ได้ ลั่นปีนี้ขึ้นแน่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อ้างโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ เหตุจะทำประเทศเสียหาย กระทบลงทุนในไทย พร้อมลั่นว่าปีนี้ขึ้นค่าแรงแน่นอน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงข้อเรียกร้องให้มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ตามที่พรรคพลังประชารัฐเคยประกาศไว้ ว่า ค่าแรง 400-450 บาท ตามนโยบายพรรคพลังประชารัฐทำได้แน่นอน หากไม่เกิดสถานการณ์โควิด-19 เพราะมันขึ้นแค่ปีละ 6-7% แต่เมื่อมันเกิดสถานการณ์โควิด มีการใช้มาตรา 75 ชะลอการจ้างงานถึง 2 ล้านกว่าคน ถ้าขึ้นค่าแรงมา คน 2 ล้านกว่าคนจะอยู่รอดหรือไม่ และเมื่อเขาอยู่ไม่รอด เราก็ต้องนำงบประมาณของทุกกระทรวงมาอุ้มคนที่กำลังตกงาน นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ถ้าตนเป็นนักการเมืองที่ไม่เห็นแก่อนาคตของประเทศในอีก 3-4 ปีข้างหน้า จะประกาศขึ้นค้าแรงไม่ยากเลย แต่มันขึ้นแล้วทำลายประเทศ ใครจะมาลงทุนในประเทศเรา วันก่อนสภาอุตสาหกรรมก็ประกาศว่าต้องการแรงงาน 500,000 อัตรา และวันนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็อภิปรายว่ามีการเลิกกิจการมากมาย และถ้าขึ้นค่าแรง ตามที่พลังประชารัฐหาเสียงไว้ในปี 2563-2564 อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย แต่ปีนี้ค่าแรงขึ้นแน่นอน ขอยืนยันต่อหน้าสภา แต่จะขึ้นเท่าไหร่ ตนต้องหาคำตอบให้กับสภานายจ้างก่อน เพราะวันนี้หาเขาอยู่ไม่ได้เราก็อยู่ไม่ได้ ก่อนจะย้ำว่าตนและพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา […]

รมว.แรงงานยัน ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ15บาท แค่ข่าวลือ ให้รอบอร์ดเคาะ10ม.ค.!!

  เมื่อวันที่ 8 มกราคม พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการปรับขึ้นค่าจ้างรายวันขั้นต่ำ ปี 2561ว่า เรื่องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 15 บาท นั้นเป็นเพียงข่าวลือ จะมีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ภายในวันที่ 15 มกราคมนี้ สำหรับวาระที่จะพูดคุยในที่ประชุม เบื้องต้นจะเป็นการพิจารณาการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยมีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานบอร์ดค่าจ้าง ส่วนอัตราในการปรับขึ้นค่าจ้างจะต้องพิจารณาให้เหมาะสม แรงงานจะต้องอยู่ได้ ขณะเดียวกัน นายจ้างต้องมีความสามารถประกอบการได้และมีผลกำไรต่อไป โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจะต้องนำอัตราเงินเฟ้อ อัตราค่าจ้างนอกประเทศ และการวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับค่าจ้างอย่างรอบด้าน มาวิเคราะห์ร่วมด้วย ตลอดจนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล คือ การดูแลแรงงานให้อยู่ได้ ส่วนกำหนดอัตราอยู่ที่ 315 บาท นั้น ขณะนี้ยังไม่มีผลสรุป ขณะที่นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานบอร์ดค่าจ้าง กล่าวว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าจ้างต้องเป็นไปด้วยความเหมาะสม และพิจารณาจากปัจจัยรอบด้าน การเสนออัตรา 360 บาท เป็นข้อเสนอจากกลุ่มสหภาพแรงงาน ความจริงแล้วต้องพิจารณาในกลุ่มไตรภาคี ส่วนกระแสข่าวที่จะปรับขึ้น 315 บาท เป็นเพียงการพูดคุยกัน ซึ่งในประชุมยังไม่ได้สรุปตัวเลข […]

1 2
error: